นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้มอบหมายให้ นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แถลงข่าวการจดทะเบียนธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประจำเดือนสิงหาคม 2562 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ผลการจดทะเบียนธุรกิจ
ธุรกิจจัดตั้งใหม่เดือน
- จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศ ในเดือนสิงหาคม 2562 จำนวน 5,973 ราย เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2562 จำนวน 6,459 ราย ลดลง จำนวน 486 ราย คิดเป็นร้อยละ 8 และเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2561 จำนวน 6,446 ราย ลดลงจำนวน 473 ราย คิดเป็นร้อยละ 7
- ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 547 ราย คิดเป็นร้อยละ 9 รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 344 ราย คิดเป็นร้อยละ 6 และอันดับ 3 คือ ธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหาร จำนวน 172 ราย คิดเป็นร้อยละ 3
- มูลค่าทุนธุรกิจจัดตั้งใหม่ ในเดือนสิงหาคม 2562 มีจำนวนทั้งสิ้น 17,172 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2562 จำนวน 22,866 ล้านบาท ลดลงจำนวน 5,694 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 25 และเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2561 จำนวน 23,233 ล้านบาท ลดลงจำนวน 6,061 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 26
- ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุน ไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 4,259 ราย คิดเป็นร้อยละ 71.30 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท มีจำนวน 1,577 ราย คิดเป็นร้อยละ 26.40 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 126 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.11 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.19
- ธุรกิจจัดตั้งใหม่สะสม จำนวนธุรกิจตั้งใหม่สะสมตั้งแต่เดือน ม.ค. – ส.ค. 62 มีจำนวน 50,654 ราย เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ม.ค. – ส.ค. 61) จำนวน 49,958 ราย โดยเพิ่มขึ้น จำนวน 696 ราย คิดเป็นร้อยละ 1 สำหรับมูลค่าทุนจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่สะสมตั้งแต่เดือน ม.ค. – ส.ค. 62 มีจำนวน 157,794 ล้านบาท ลดลง 34,665 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกับของปีที่ผ่านมา (ม.ค. – ส.ค. 61) จำนวน 192,459 ล้านบาท
ธุรกิจเลิกประกอบกิจการ
- จำนวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ มีจำนวน 1,755 ราย เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2562 จำนวน 1,594 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 161 ราย คิดเป็นร้อยละ 10 และเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2561 จำนวน 1,740 ราย ลดลงจำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 1
- ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 155 ราย คิดเป็นร้อยละ 9 รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 97 ราย คิดเป็นร้อยละ 6 และธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหาร จำนวน 58 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 ตามลำดับ
- มูลค่าทุนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ในเดือนสิงหาคม 2562 มีจำนวนทั้งสิ้น 28,933 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2562 จำนวน 8,279 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 20,654 ล้านบาท คิดเป็น 2.5 เท่า และเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2561 จำนวน 10,156 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 18,777 ล้านบาท คิดเป็น 1.8 เท่า
- ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 1,202 ราย คิดเป็นร้อยละ 68.49 รองลงมาคือช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จำนวน 450 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.64 ลำดับถัดไปคือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 88 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.01 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.86
- ธุรกิจเลิกสะสม จำนวนธุรกิจเลิกสะสมตั้งแต่เดือน ม.ค. – ส.ค. 62 มีจำนวน 10,016 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 299 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ม.ค. – ส.ค. 61) จำนวน 9,717 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียนธุรกิจเลิกสะสมตั้งแต่เดือน ม.ค. – ส.ค. 62 มีจำนวน 59,548 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,782 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกับของปีที่ผ่านมา (ม.ค. – ส.ค. 61) จำนวน 55,766 ล้านบาท
ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ ณ
- ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 31 ส.ค. 62) ธุรกิจที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 743,955 ราย มูลค่าทุน 17.89 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด / ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 184,937 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.86 บริษัทจำกัด จำนวน 557,767 ราย คิดเป็นร้อยละ 74.97 และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,251 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.17
- ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่แบ่งตามช่วงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 441,451 ราย คิดเป็นร้อยละ 59.34 รวมมูลค่าทุน 0.39 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.18 รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาทจำนวน 216,738 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.13 รวมมูลค่าทุน 0.71 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.97 รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 70,466 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.47 รวมมูลค่าทุน 1.91 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.68 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 15,300 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.06 รวมมูลค่าทุน 14.88 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 83.17 ตามลำดับ
แนวโน้มการจัดตั้ง
เมื่อประเมินจากแนวโน้มการจดทะเบียนและสภาพเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงแนวโน้มการจดทะเบียนจัดตั้งตามฤดูกาล (seasonal trend) พบว่าโดยปกติ เดือนสิงหาคมมักจะมีการจดทะเบียนจัดตั้งที่สูงกว่าเดือนกรกฎาคม อย่างไรก็ตามสำหรับปี 2562 นี้ เนื่องจากยอดการจดทะเบียนเดือนกรกฎาคมในปี 2562 มีจำนวน การจดทะเบียนที่สูงกว่าปกติ อย่างไรก็ตามคาดการณ์ว่าการจดทะเบียนจัดตั้งในเดือนกันยายนจะเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม ซึ่งจะส่งผลให้ในภาพรวมการจดทะเบียนของไตรมาสที่ 3/2562 ใกล้เคียงกับไตรมาสเดียวกับของปีที่ผ่านมา โดยแนวโน้มการจดทะเบียนในไตรมาสสุดท้ายของปีจะลดลงตามแนวโน้มฤดูกาล
การลงทุนประกอบธุรกิจในไทย
เดือน
- เดือนสิงหาคม 2562 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติประกอบธุรกิจทั้งสิ้น 49 ราย แบ่งเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจ 13 ราย และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจ 36 ราย โดยมีเม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 18,870 ล้านบาท
- นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น จำนวน 16 ราย เงินลงทุนกว่า 10,539 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ เยอรมนี จำนวน 6 ราย เงินลงทุน 54 ล้านบาท และสิงคโปร์ 5 ราย เงินลงทุน 185 ล้านบาท
- การเปรียบเทียบการลงทุนรายเดือน เมื่อเปรียบเทียบการเข้ามาลงทุนของชาวต่างชาติในเดือนสิงหาคม กับเดือนกรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา ปรากฏว่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 8,048 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 74 ในขณะที่ จำนวนธุรกิจที่คนต่างชาติเข้ามาลงทุนลดลง 15 ราย หรือประมาณร้อยละ 23
การให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเดือนสิงหาคม 2562
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลดิจิทัล และ พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวก เพื่อลดต้นทุน ลดเวลา และลดการใช้กระดาษ โดยพัฒนาการบริการทุกระบวนการของกรม ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้ใช้บริการยื่นขอรับบริการได้ทุกที่ ทุกเวลา
e-Registration การจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์
การจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2560 – 31 สิงหาคม 2562 มีการยืนยันการใช้งาน (Activate) จำนวน 45,188 ราย รับจดทะเบียน 17,404 ราย ซึ่งกรมได้มีการเตรียมการพัฒนาระบบให้อำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น ทั้งด้านการยืนยันตัวตนนิติบุคคลและการใช้ระบบงาน รวมถึงการเชื่อมโยงเพื่อสร้างความพร้อมในการดำเนินธุรกิจให้แก่ SME ทั้งด้านการเงินและซอฟแวร์
ซึ่งในเดือนกันยายน 2562 ระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) ได้รับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี พ.ศ. 2562 ประเภทรางวัลบริการภาครัฐ ระดับดี ประเภทพัฒนาการบริการ ซึ่งนายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ รองอธิบดี และนายโกมล นมรักษ์ ผู้อำนวยการกองทะเบียนธุรกิจ ได้เข้ารับรางวัลดังกล่าว เมื่อวันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2562 ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อิมแพค เมืองทองธานีจังหวัดนนทบุรี ทั้งนี้ รางวัลเลิศรัฐเป็นรางวัลสำหรับหน่วยงานที่มีผลการดำเนินการที่เป็นเลิศ ทั้งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการภาครัฐ การพัฒนาคุณภาพการบริการจัดการภายในองค์กร และเปิดระบบราชการให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม
DBD e – Filing การนำส่งงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการยื่นงบการเงินประจำปี 2561 สำหรับนิติบุคคลที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2561 จะต้องนำส่งงบการเงินภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2562 ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2562 นิติบุคคลนำส่งงบการเงินแล้วจำนวน 548,786 ราย โดยนำส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ DBD e-Filing) จำนวน 510,754 ราย คิดเป็นร้อยละ 93 และนำส่งในรูปแบบกระดาษ จำนวน 38,032 ราย คิดเป็นร้อยละ 7 จะเห็นว่าการนำส่งงบการเงินผ่านระบบ DBD e-Filing อยู่ในสัดส่วน 93% ของนิติบุคคลที่ได้นำส่งงบการเงินแล้ว ซึ่งมียอดการนำส่งงบการเงินสูงกว่าปีก่อนเมื่อเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกัน ถือว่าการรณรงค์เชิญชวนให้นิติบุคคลนำส่งงบการเงินผ่านระบบ DBD e-Filing ประสบความสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ ซึ่งกรมฯ มั่นใจว่าการนำส่งงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถอำนวยความสะดวกลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายให้แก่ภาคธุรกิจ เนื่องจากสามารถนำส่งงบการเงินได้ทุกที่ ทุกเวลา และสามารถตรวจสอบข้อมูลผ่าน DBD Data Warehouse และ DBD e – Service Application ได้อย่างรวดเร็ว โดยถือเป็น ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการผลักดันให้กรมฯ ก้าวสู่การเป็นหน่วยงานภาครัฐดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ และตอบสนองการพัฒนาระบบให้บริการภาคธุรกิจที่เป็นเลิศมุ่งสู่ยุค Thailand 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาล
สำหรับนิติบุคคลที่ยังไม่นำส่งงบการเงิน กรมฯ จะดำเนินการติดตามให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างใกล้ชิดต่อไปซึ่งการนำส่งงบการเงินผ่านระบบ DBD e-Filing จะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลงบการเงินเพื่อทำธุรกรรมได้อย่างรวดเร็ว เป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ภาคธุรกิจ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้ารวมทั้ง สถาบันการเงินในการติดต่อทำธุรกรรมอีกด้วย
e- Secured จดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้เปิดให้บริการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร ผ่าน Web Application และ Web Service แบบ Host to Host และชำระค่าธรรมเนียมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) และออกใบเสร็จรับเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) โดยเจ้าพนักงานทะเบียนลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) รวมถึงสามารถตรวจค้นข้อมูลหลักประกันทางธุรกิจเบื้องต้นผ่านเว็บไซต์ www.dbd.go.th หรือ ผ่านระบบ mobile application (ios และandroid) บนสมาร์ทโฟน
โดยตั้งแต่ 4 กรกฎาคม 2559 จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2562 มีการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จำนวน 436,389 คำขอ มูลค่าทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกัน จำนวน 6,967,136 ล้านบาท โดยมีการนำทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจและใช้ประกอบธุรกิจมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สิน
สำหรับเดือนสิงหาคม 2562 มีการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จำนวน 10,414 คำขอ มูลค่าทรัพย์สิน ที่นำมาเป็นหลักประกัน จำนวน 104,946 ล้านบาท ทั้งนี้ทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ มากที่สุด ได้แก่ สิทธิเรียกร้อง เช่น บัญชีเงินฝาก ลูกหนี้การค้าสิทธิการเช่า คิดเป็นร้อยละ 72.64 (มูลค่า 76,231 ล้านบาท) รองลงมาคือ สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น สินค้าคงคลัง เครื่องจักรคิดเป็นร้อยละ 27.34 (มูลค่า 28,688 ล้านบาท) กิจการ มีการจดทะเบียนคิดเป็นร้อยละ 0.03 (มูลค่า 27 ล้านบาท) และ ไม้ยืนต้น เป็นประเภทไม้ยางพารา คิดเป็นร้อยละ 0.0001 (มูลค่า 130,000 บาท) และมีผู้รับหลักประกัน รวมจำนวนทั้งสิ้น 205 ราย
ในวันที่ 5 กันยายน 2562 กรมจัดสัมมนาเรื่อง “ทรัพย์อิงสิทธิเข้าถึงแหล่งทุน สนับสนุนธุรกิจไทย” ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำหรับผู้ประกอบการ สถาบันการเงิน และผู้สนใจทั่วไป
การบริการหนังสือรับรองข้อมูลนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์และผลักดันการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ยกระดับการเป็นหน่วยงานรัฐบาลดิจิทัล โดยการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) มาให้บริการ ซึ่งการบริการ e-Service เป็นการบริการขอหนังสือรับรองผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยขอรับข้อมูลได้ผ่านช่องทาง Walk in EMS Delivery และการออกหนังสือรับรองรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Certificate File) ซึ่งการบริการในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์มีจำนวนการใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนสิงหาคม 2562 มีจำนวน 12,982 ราย เพิ่มขึ้น 4% จากเดือนที่ผ่านมา (ก.ค.62 จำนวน12,447 ราย) และได้ขยายการให้บริการสู่การบริการหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติและสมาคมการค้า หนังสือรับรองภาษาอังกฤษ
ทั้งนี้ การขอรับบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากผ่านทาง www.dbd.go.th แล้ว สามารถขอรับบริการผ่านทาง Application DBD e- Service ได้ทั้งระบบ Android และ IOS
DBD e-Accounting โปรแกรมบัญชีเพื่อช่วยเหลือ SMEs
กรมได้ดำเนินการแจก“โปรแกรม e-Accounting for SMEs” ช่วยเหลือ SMEs สามารถบริหารจัดการร้านค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการบันทึกข้อมูลซ้ำซ้อน ลดระยะเวลา ประหยัดค่าใช้จ่ายทางธุรกิจ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น โดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ทาง Play store ซึ่งมีการพัฒนาซอฟแวร์บัญชีเชื่อมต่อกับการนำส่งงบการเงินทางระบบ DBD e-Filing ผ่านทาง DBD Connect ซึ่งเป็นการร่วมกับผู้พัฒนาซอฟแวร์บัญชี เพื่อเชื่อมโยงระบบงานบัญชีเข้าสู่งบการเงินทางออนไลน์ได้โดยทันที จำนวน 15 ราย
Total Solution for SMEs
การขับเคลื่อน SMEs ไทย ด้วยนวัตกรรมออนไลน์ โดยส่งเสริมให้ธุรกิจเข้าถึงเทคโนโลยีทางการบัญชี และบริหารจัดการร้านค้าได้โดยง่าย ให้ได้รับข้อมูลในการบริหารจัดการธุรกิจแบบถูกต้อง ครบวงจร เปลี่ยน Traditional SMEs เป็น Smart SMEs ซึ่งกรมได้รวบรวมโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทั้ง 3 ภาคส่วน ไว้ด้วยกันคือ โปรแกรมสำนักงาน (Office) โปรแกรมหน้าร้าน (POS) โปรแกรมบัญชี online (Cloud Accounting) โดยผู้ประกอบการสามารถจัดทำบัญชีเบื้องต้นได้เอง ก่อนส่งข้อมูลให้ผู้ทำบัญชีตรวจสอบ
DBD Business Data Warehouse
กรมได้พัฒนาระบบสารสนเทศให้มีความสมบูรณ์หลากหลาย และสามารถจัดทำผลวิเคราะห์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลธุรกิจ ประกอบด้วยข้อมูลนิติบุคคล ข้อมูลและวิเคราะห์งบการเงิน ข้อมูลซัพพลายเออร์ลูกค้า คู่ค้าทางธุรกิจ ข้อมูลโอกาสทางธุรกิจ ข้อมูลการลงทุนจากต่างชาติในนิติบุคคลไทย รวมทั้งข้อมูลสถิติการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล พร้อมทั้งนำข้อมูลธุรกิจไปสนับสนุนการตัดสินใจในการประกอบธุรกิจ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว โดยในปี 2562 (ม.ค.-ส.ค.) มีจำนวนผู้ใช้บริการทั้งสิ้นจำนวน 5,894,739 ครั้ง
****************************
ที่มา : กองข้อมูลธุรกิจ