แพทย์หญิงปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการสรพ. ได้รับมอบหมายจาก นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมการประชุม ประชุม 7th Global Ministerial Summit on Patient Safety ที่จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 3-4 เมษายน 2568 ณ Mandaluyong, ประเทศฟิลิปปินส์ โดยการประชุมในวันแรกเป็นการนำเสนอประเด็นสำคัญของทิศทางการขับเคลื่อนเรื่อง Patient Safety โดย ผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ หรือ Internation experts ส่วนวันที่สองจะเป็นการสรุปประเด็นการขับเคลื่อนสำคัญให้กับรัฐมนตรีและผู้นำจากประเทศต่างๆ รวมถึงทุกประเทศจะต้องกล่าวถ้อยแถลง country statement ในนามของประเทศเพื่อสะท้อนการขับเคลื่อนและสนับสนุนเรื่องดังกล่าวของประเทศด้วย
แพทย์หญิงปิยวรรณ กล่าวว่า ได้กล่าว country statement Thailand statement ในฐานะ Head of delegate หรือผู้แทนจากประเทศไทย โดยมีสาระสำคัญดังนี้ ประเทศไทยยังคงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการขับเคลื่อนเรื่อง ความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient Safety) โดยตระหนักถึงความสำคัญว่า Patient Safety เป็นรากฐานสำคัญของ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage) และ ความยั่งยืนของระบบสุขภาพ (Sustainable Healthcare Systems) มีการขับเคลื่อน Global Patient Safety Action Plan 2021-2030 มาอย่างต่อเนื่องผ่านนโยบายความปลอดภัยของผู้ป่วย บุคคลากร และประชาชน (Patient, Personnel and People Safety Policy) หรือ 3P Safety Policy โดยการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบเพื่อลดอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์และเพิ่มคุณภาพในระบบบริการสุขภาพ โดยใช้กลไก Hospital Accreditation ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อนำมาซึ่ง Heaith outcomes ที่ดี และบรรลุ 3P Safety Goals ประเทศไทยได้ขยายระบบการรายงานและการเรียนรู้ระดับชาติ National Reporting and Learning System) ให้สามารถรายงานประสบการณ์และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากประชาชนผ่านแอปพลิเคชัน “บอกคุณ..ภาพ” บนมือถือเพื่อสร้างแนวทางที่เน้น People centred-care โดยให้ผู้ป่วยและประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบเพื่อ Patient Safety ระบบนี้ช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมการรายงานและการเรียนรู้จากข้อผิดพลาด โดยเน้นที่การปรับปรุงพัฒนาระบบมากกว่าการกล่าวโทษหรือลงโทษกัน
ประเทศไทยส่งเสริมบทบาทผู้นำด้านคุณภาพและความปลอดภัยในผู้ประกอบวิชาชีพด้านการดูแลสุขภาพ และเรากำลังรวมสิ่งนี้ไว้ในการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง หรือ Continuing Professional Development ซึ่งในงาน HA National Forum ที่ผ่านมา สรพ.ได้ร่วมกับ แพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาเภสัช และสภาเทคนิคการแพทย์ ลงนามความร่วมมือ เพื่อ ขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพในกระบวนการทำงานของสหวิชาชีพ เป็นหนึ่งในคะแนน CPD เพื่อต่ออายุใบประกอบวิชาชีพ โดยสภาการพยาบาลและสภากายภาพเข้าร่วมในการสนับสนุน ในอีกด้านประเทศไทยส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ป่วยและประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง (self-healthcare) เพื่อความปลอดภัย และมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพ
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติและเหตุฉุกเฉินที่รวมอยู่ในเป้าหมายความปลอดภัย 3P Safety Goals และ Hospital Accreditation standards ประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะสานต่อการขับเคลื่อนจากการประชุมสุดยอดระดับรัฐมนตรีระดับโลกด้วยการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันเพื่อสร้างความมั่นใจในระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้นสำหรับผู้ป่วย บุคลากร และประชาชนทุกคน ในทุกที่ทุกเวลา นอกจากนี้การประชุมยังได้มีการประกาศ Mandaluyong Declaration on Patient Safety เพื่อชวนประเทศสมาชิกขับเคลื่อนเรื่อง Patient Safety ซึ่งสอดคล้องกับ Global Patient Safety Action Plan ขององค์การอนามัยโลก โดยสาระสำคัญของการขับเคลื่อนในทิศทางโลก ที่สำคัญ 10 เรื่องด้วย ได้แก่ 1. Implementation of the Global Patient Safety Action Plan 2021-2030 ยังสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกขับเคลื่อนในทิศทาง Global Patient Safety Action Plan ซึ่งประเทศไทยเราอยู่ในกลุ่มที่ขับเคลื่อนสอดคล้องโดยการประชุมครั้งนี้มีการเปิดตัว ISQua White Paper on Patient Safety for Heathcare Orgainzations ชื่อ “Safe Care is the Right Care”
2. Advancing Patient Safety Reporting and Learning Systems for a Sustainable Culture of Safety Across All Levels of Care ซึ่งให้ความสำคัญกับการรายงานและเรียนรู้จากอุบัติการณ์ในทุก level โดยมีความครอบคลุม Who, Action, Impact
3. The Role of Patient Engagement in BridgingPatient Safety Gaps and Issues ที่เป็นในเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญที่ต้องร่วมกันขับเคลื่อนโดยให้ผู้ป่วยร่วมเป็น Co-development ทั้งนโยบาย ระบบและแนวทางปฏิบัติ ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ผู้ป่วย รวมถึงให้ผู้ป่วยได้ร่วมรายงานอุบัติการณ์ในเชิงระบบ ส่งเสริมให้เกิด Patient Champion และเพิ่มเรื่อง information and education ให้ผู้ป่วยและครอบครัว
4. Strengthening Patient Safety in Primary, Ambulatory, and Community Setting:The Case of Diagnostic Safety ซึ่ง cotributing factor ที่สำคัญเกิดจากระบบบริการปฐมภูมิ มีข้อจำกัดในเรื่องการวินิจฉัย ทั้งงานคนเงินของ ซึ่งต้องใช้การแก้ไขเชิงระบบ แต่สิ่งสำคัญ ของการดูแลคนไข้ ก่อนให้การรักษาต้องสามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นอะไรจึงจะ Safety ซึ่งการใช้ดิจิตัลเทคโนโลยีจึงมีความหมาย แต่ต้องใช้อย่างเข้าใจและระวัง เป็นเรื่องที่จะกลับมาเขียนรายละเอียดอีกเรื่องคร้าเรื่องนี้รอติดตาม
5. Innovative Strategies for Building Resilient Healthcare Systemsto Ensure Patient Safety Amid Climate and Disaster-Related Disruptions เรื่องนี้สัมพันธ์กับประเทศไทยที่แผ่นดินพึ่วไหวพอดี และมีการกล่าวถึงเรื่อง Accreditation ว่า Accreditation bodies must ensurethat healthcare institutions meet standards that incoporate risk mitigation , climate resillince, and sustainability ซึ่งมาตรฐาน HA ของเรา รวมถึง 3P Safety โดยเฉพาะ People Safety Goals ก็ชวนรพ.สร้างการเรียนรู้และพัฒนาประเด็นดังกล่าว 6. Synergistic Partnerships in Mitigating the Effects of Climate Change on Patient Safety โดยให้ความสำคัญกับ การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานองค์กรอื่นที่มีความเชี่ยวชาญ ในการออกแบบและพัฒนาระบบ รวมถึงวิเคราะห์ความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้น รวมไปถึงบูรณาการเรื่อง Climate change ในมาตรฐานของสถานพยาบาล ซึ่งมาตรฐาน ฉบับที่ 6 จะลงีายละเอียดเรื่องดังกล่าวเพิ่มขึ้น แต่หาอ่านได้ล่วงหน้าใน People safety นะคะ
7.Investing in Patient Safety for Sustainable Healthcare ความยั่งยืนของระบบสุขภาพเริ่มจากการดูแลผู้ป่วยให้ปลอดภัยตั้งแต่ปฐมภูมิ ไปจนถึงตติยภูมิ ลดการรักษาที่ไม่จำเป็น ลดจำนวนผู้ป่วย เพิ่มคุณค่าจากการดูแลรักษา นำมาซึ่งความยั่งยืน หากเราพัฒนากระบวนการปฐมภูมิได้ดีจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของความยั่งยืนในระบบจริงๆ
8. Creating Psychologically Safe and Healthy Workplaces การสื่อสารซึ่งกันและกันเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สร้าง Psychologycal safe ในการทำงานในรพ.เลยนะขอบอก
9. Leveraging AI and Technology for Patient Safety: Challenges, Applications and Policy Considerationsเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยทำให้ Patient Safety และ Patient ไม่ Safety หากไม่ระมัดระวัง
10. The Economics of Diagnostic Safety” เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในการนำข้อมูลการวินิจฉัยที่นำมาซึ่งความไม่ปลอดภัยมาคำนวณค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น โดย OECD โดยมีการเก็บ Health statisyics แล้วมาทำ economic analysis