กรมโยธาธิการและผังเมือง จับมือกรุงเทพมหานคร เร่งดำเนินการตรวจสอบอาคาร เพื่อสร้างความมั่นใจในกับประชาชนในการเข้าใช้อาคาร

Featured Video Play Icon

วันที่ 29 มีนาคม 2568 เวลา 08.00 น. นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ร่วมแถลงข่าวกับนายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ถึงความคืบหน้าในการตรวจสอบอาคารและสิ่งปลูกสร้างว่า กรมโยธาธิการและผังเมือง รับหน้าที่ดำเนินการตรวจอาคารในสถานที่ราชการ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 กรมฯ ได้เริ่มดำเนินการตรวจสอบอาคารที่ได้รับการร้องขอแล้วจำนวน 3 หน่วยงาน 9 อาคาร ได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี 3 อาคาร โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า 2 อาคาร และโรงพยาบาลเลิดสิน 4 อาคาร ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าพบว่า มีอาคาร 1 แห่งโรงพยาบาลราชวิถีได้รับความเสียหายมาก ต้องระงับการใช้งาน

นอกจากนี้ กรมโยธาธิการและผังเมืองยังขอให้เจ้าของอาคารสูง โรงแรม คอนโดมิเนียม และห้างสรรพสินค้า ที่เป็นของภาคเอกชน ติดต่อผู้ตรวจสอบอาคารประจำอาคาร หรือผู้ตรวจสอบอาคารที่ขึ้นทะเบียนกับกรมฯ ซึ่งมีอยู่กว่า 2,600 ราย เพื่อประเมินความปลอดภัยของอาคารตามคู่มือของกรมและดำเนินการแก้ไขหากพบความเสียหาย ขณะเดียวกัน ได้มอบหมายให้สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด จัดตั้งศูนย์รับแจ้งเพื่อตรวจสอบความเสียของอาคารที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ในจังหวัด และรวบรวมวิศวกรท้องถิ่น เพื่อตรวจสอบอาคารในพื้นที่เสี่ยงให้ครอบคลุมมากที่สุด ผลกระทบ โดยจะแบ่งระดับการตรวจสอบออกเป็น ระดับสีเขียว สีเหลือง และสีแดง โดยระดับสีเขียว แสดงว่าอาคารมีความปลอดภัย ส่วนระดับสีเหลืองคือ พบความเสียหายบางส่วนแต่ยังสามารถใช้งานได้ ส่วนระดับสีแดง คือ มีความเสียหาย

ในส่วนของสำหรับบ้านเรือนประชาชน ที่แจ้งผ่าน Traffy fondue มีจำนวนมากกว่า 2,000 คน ทางกรุงเทพมหานครจะจัดทีมวิศวกรสถาน และทีมงานเข้าไปให้คำแนะนำตรวจสอบอาคารให้กับประชาชน โดยจัดเต็มเรียงตามลำดับความเร่งด่วน

และในวันนี้จะมีการประชุมหารือวางแผนกำหนดแนวทางการตรวจสอบอาคารร่วมกัน โดยจะเข้าดำเนินการตรวจสอบอาคารเพิ่มเติมอีกจำนวน 5 หน่วยงาน ได้แก่ 1. อาคารกระทรวงพาณิชย์ 2. อาคารกระทรวงมหาดไทย 3. อาคารสำนักงบประมาณ 4. อาคารทำเนียบรัฐบาล (2 อาคาร) และ 5. อาคารคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์ และจะดำเนินการตรวจสอบอาคารที่ได้รับแจ้งเพิ่มเติมต่อไป