ไทยลุย!! จัดงาน Wellness Global Summit 2025, the Global Economic Forum 2025, and the Global Sustainable Energy Forum 2025

7 กุมภาพันธ์ 2567 ประเทศไทยจัดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดประชุมใหญ่ระดับนานาชาติ ถึง 3 งาน ด้วยกัน โดยงานจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 11-14 มิถุนายน 2568 ซึ่งเป็นการประชุมสุดยอดด้านสุขภาพระดับโลก ,เศรษฐกิจโลกและการประชุมพลังงานอย่างยั่งยืนโลกประจำปี 2568 เป็นงานที่ผู้นำ ผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ ได้มารวมตัวกันเพื่อกำหนดทิศทางสำหรับอนาคตของเศรษฐกิจเพื่อการนำเสนอแนวคิดที่กว้างไกลและสร้างสรรค์ในการสร้างนาคตที่ดีขึ้นและยั่งยืนสำหรับโลกของเรา โดยมี ดร.ศิริลักษณ์ พฤกษ์ปิติกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA เข้าร่วมงานในครั้งนี้พร้อมเป็น Top Keynote Speakers ภายในงาน ซึ่ง GISTDA จะมาแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับ Climate Change ,PM 2.5 และ Carbon Credit เพื่อความยั่งยืน ณ ห้องพินนาเคิล ชั้น 4 โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ

ดร.ศิริลักษณ์ พฤกษ์ปิติกุล รองผู้อำนวยการ GISTDA ได้ขึ้นกล่าวภายในงานแถลงข่าวว่า “จากการเข้าร่วมงานในครั้งนี้ GISTDA เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทยภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการใช้เทคโนโลยีอวกาศและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาที่สำคัญที่สุดที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ไม่เพียงแต่ในประเทศ แต่เป็นปัญหาในระดับโลก โดยเป้าหมายคือการเสริมพลังให้ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และประชาชนด้วยข้อมูลเชิงลึกที่นำไปใช้ได้จริงซึ่งสร้างจากข้อมูลดาวเทียม การสำรวจระยะไกล และการวิเคราะห์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ขั้นสูง ตั้งแต่การจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการลดมลพิษทางอากาศ ไปจนถึงการสนับสนุนการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน ข้อมูลเหล่านี้ช่วยในการตัดสินใจด้วยความรู้ ซึ่งเป็นการเปิดเส้นทางสู่อนาคตที่ดีขึ้นและยั่งยืนยิ่งขึ้นสำหรับทุกคน

เทคโนโลยีอวกาศไม่ได้เป็นเพียงแค่การสำรวจจักรวาล แต่เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาที่ใกล้เคียงกับความเป็นอยู่ของเราและยกระดับคุณภาพชีวิตของเรา หนึ่งในปัญหาเร่งด่วนที่สุดทั่วโลกที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันคือภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นของมลพิษ PM2.5 ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพและทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ หัวใจและหลอดเลือด รวมถึงความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว มลพิษ PM2.5 เป็นปัญหาสำคัญในหลายพื้นที่ เช่น จีน อินเดีย และประเทศในยุโรปหลายประเทศ ซึ่งช่วงเวลาที่มลพิษสูงทำให้คุณภาพอากาศอยู่ในระดับอันตรายและได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤต PM 2.5 ที่เกิดขึ้นซ้ำบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคเหนือรวมถึงเมืองต่างๆ เช่น กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ จะมีระดับมลพิษเกินเกณฑ์เป็นประจำในช่วงฤดูแล้ง GISTDA ได้พัฒนาแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า “เช็คฝุ่น” ขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อปัญหานี้และให้ประชาชนสามารถตรวจสอบรู้เท่าทัน PM 2.5 ได้ทันทีจากโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้แอปพลิเคชันสามารถช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบระดับ PM 2.5 ในบริเวณใกล้เคียงและตัดสินใจในการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อปกป้องสุขภาพของตนเอง

แอปพลิเคชัน “เช็คฝุ่น” เป็นการใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูง เทคนิคการสำรวจระยะไกลขั้นสูง และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย AI แบบติดตามรายชั่วโมงและการคาดการณ์ PM 2.5 ล่วงหน้า ซึ่งรัฐบาล ภาคธุรกิจ และประชาชนเองสามารถใช้ความรู้นี้เพื่อดำเนินการเชิงรุกในการปรับปรุงหรือออกมาตรการเพื่อควบคุมและป้องกันในด้านสุขภาพของประชาชน คุณภาพอากาศ และการพัฒนาที่ยั่งยืน และเชิญชวนท่านผู้สนใจ เข้าร่วมงานในระหว่างวันที่ 11 – 14 มิถุนายน 2568 ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ โดย GISTDA ได้ร่วมแบ่งปัน ประสบการณ์และการใช้เทคโนโลยีอวกาศ ในธีม “Global Wellbeing, Climate Change & Global PM 2.5.” และ Carbon Capture, Utilization, and Storage in Asia’s Climate Strategy อีกด้วย รองผู้อำนวยการ GISTDA กล่าว.