1.สภาพอากาศวันนี้ : ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกตอนบนมีอุณหภูมิลดลงกับมีลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางปกคลุมอ่าวไทยตอนล่างและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนบางแห่ง
คาดการณ์ : วันที่ 6 – 7 ก.พ. 68 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวภาคใต้จะมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 72% ของความจุเก็บกัก (58,077 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 59% (33,863ล้าน ลบ.ม.)
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ระดับน้ำต่ำกว่าระดับควบคุมต่ำสุดหรือมีน้ำใช้การน้อยกว่า 30% 4 แห่ง ดังนี้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จุฬาภรณ์ สิรินธร และลำตะคอง ภาคตะวันออก : คลองสียัด
3. คุณภาพน้ำ : แม่น้ำสายหลัก 4 สาย (เจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง และบางปะกง) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. สถานการณ์น้ำแม่น้ำโขง : สทนช. ได้ติดตามระดับน้ำ จากสถานีตรวจวัดตามแม่น้ำโขงในสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศไทย สรุปได้ ดังนี้
สถานีที่อยู่ช่วงเหนือเขื่อนไซยะบุรี (สปป.ลาว)
– สถานีจิ่งหง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
– สถานีเชียงแสน จ.เชียงราย ระดับน้ำต่ำกว่าระดับตลิ่ง 10.70 ม. อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤติ แนวโน้มทรงตัวสถานีที่อยู่ช่วงท้ายเขื่อนไซยะบุรี (สปป.ลาว)
– สถานีเชียงคาน จ.เลย ระดับน้ำต่ำกว่าระดับตลิ่ง 15.19 ม. อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังน้ำน้อย แนวโน้มเพิ่มขึ้น
– สถานีหนองคาย จ.หนองคาย ระดับน้ำต่ำกว่าระดับตลิ่ง 10.97 ม. อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มเพิ่มขึ้น
– สถานีนครพนม จ.นครพนม ระดับน้ำต่ำกว่าระดับตลิ่ง 10.44 ม. อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤติ แนวโน้มทรงตัว
– สถานีมุกดาหาร จ.มุกดาหาร ระดับน้ำต่ำกว่าระดับตลิ่ง 10.59 ม. อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤติ แนวโน้มทรงตัว
– สถานีโขงเจียม จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำต่ำกว่าระดับตลิ่ง 12.24 ม. อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤติ แนวโน้มทรงตัว
ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเป็นภาพรวมของสถานการณ์แม่น้ำโขง ระดับน้ำส่วนใหญ่ยังมีแนวโน้มทรงตัวถึงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และยังไม่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการใช้น้ำของประชาชน ทั้งนี้ สทนช. ในฐานะเลขาธิการสำนักงานเลขาธิการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย จะประสานงานกับประเทศสมาชิก MRC ในการบริหารจัดการน้ำของเขื่อน และติดตามสถานการณ์ ตลอดจนการแจ้งเตือน เพื่อบรรเทาสถานการณ์ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อประชาชนต่อไป
5. การเตรียมการรับมือภาวะน้ำแล้ง :
5.1 สทนช. ประเมินสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคอง จ.นครราชสีมา พบว่าปัจจุบันมีปริมาณน้ำในอ่างฯ ประมาณ 56 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 25 ของความจุเก็บกัก เนื่องจากในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมามีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯน้อยที่สุด ตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนลำตะคอง จากแผนการใช้น้ำในช่วงฤดูแล้ง (1 พ.ย. 67 – 30 เม.ย. 68) จำนวน73 ล้าน ลบ.ม. เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำในการอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ การเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อย และอุตสาหกรรม คงเหลือปริมาณน้ำที่ต้องจัดสรรอีกกว่า 34.ล้าน ลบ.ม. ซึ่งพอเพียงกับการใช้น้ำในทุกกิจกรรม คาดการณ์ว่าเมื่อสิ้นฤดูแล้ง ปี 2567/68 ณ วันที่ 1 พ.ค. 68 จะมีปริมาณน้ำในอ่างฯ ประมาณ 49 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 16 ของความจุเก็บกัก คิดเป็นปริมาณน้ำใช้การ 27 ล้าน ลบ.ม.
5.2 กรมทรัพยากรน้ำ ตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบตรวจวัดปริมาณน้ำเก็บกักในแหล่งน้ำขนาดเล็ก ในภาคตะวันตก จำนวน 14 แหล่งน้ำ ในเขตพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี พร้อมทั้งทำความเข้าใจกับอาสาสมัครประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับแอปพลิเคชันการอ่านค่าระดับน้ำ เพื่อรายงานข้อมูลดังกล่าวต่อไป