วันเสาร์ที่ 14 กันยายน 2562 เวลา 9.30 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในการประชุมชี้แจงนโยบายและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับโครงการประกันรายได้เกษตรกรของรัฐบาล ณ โรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์ อําเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด (วันชัย คงเกษม) ปลัดกระทรวงพาณิชย์ (บุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร) และคณะผู้บริหาร กระทรวงพาณิชย์ และมีนายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย (ร.ต.ท. เจริญ เหล่าธรรมทัศน์) เข้าร่วมด้วย
โดยนายจุรินทร์ เดินทางมาในนามของรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ โดยมาพบกับพี่น้องประชาชนชาวร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ยโสธร สุรินทร์ และศรีสะเกษ โดยโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 (รอบที่1)เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอเป็นวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบโครงการประกัน รายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวฯ ภายในวงเงินงบประมาณดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 ซึ่งคณะอนุกรรมการกํากับดูแลและกําหนดหลักเกณฑ์กลางอ้างอิง โครงการ ประกันรายได้ฯ มีมติเห็นชอบขั้นตอนและวิธีดําเนินโครงการฯแล้ว ในฤดูการผลิตนี้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวจะสามารถติดต่อขอขึ้นทะเบียนเพื่อใช้สิทธิ์ในรอบที่ 1 นี้ได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้
นายจุรินทร์ กล่าวว่า การกําหนดชนิดและราคา ประกันรายได้ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกข้าว ทั่วประเทศ โดยกําหนดราคาและปริมาณประกันรายได้ ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15% โดยชดเชยเป็นจํานวนตัน ในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้ ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 บาท/ตัน (ครัวเรือนละ14ตัน) ,ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 บาท/ตัน (ครัวเรือนละ16ตัน) ,ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 บาท/ตัน (ครัวเรือนละ 30 ตัน),ข้าวเปลือกหอมปทมุธานี 11,000 บาท/ตัน (ครัวเรือนละ25ตัน) ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 บาท/ตัน (ครัวเรือนละ16ตัน)
รายงานข่าว กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า กรณีที่เกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิดจะได้สิทธิ์ไม่เกินจํานวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด และเมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กําหนดไว้สูงสุด ทั้งนี้ยกเว้นพันธุ์ข้าวที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการฯ จํานวน18พันธุ์ เนื่องจากเป็นข้าวอายุสั้น ระยะเวลาดําเนินการ การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2562/63 รอบที่ 1 ต้องปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 – 28 กุมภาพันธ์ 2563 ระยะเวลาได้รับสิทธิชดเชยให้เป็นไปตามวันเก็บเกี่ยวที่เกษตรกรระบุในทะเบียน เกษตรกร
โดยคณะอนุกรรมการกํากับดูแล ฯ จะกําหนดและประกาศราคา เกณฑ์กลางอ้างอิงครั้งแรกในวันที่ 16 ตุลาคม 2562 (สําหรับเกษตรกรได้รับสิทธิ ตั้งแต่เก็บเกี่ยวถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2562) และครั้งต่อไปทุก ๆ 15 วัน จนถึงวัน สิ้นสุดการใช้สิทธิตามโครงการ คือ 31 ตุลาคมปี 2563 ขั้นตอนและวิธีการ เป็นระบบ ชัดเจน ตรวจสอบได้ แปลว่ารอบแรกนี้เงินส่วนต่างเกษตรกรผู้ปลูกข้าวจะได้รับครั้งแรกวันที่ 15 ตุลาคม 2562
โดยกลุ่มเกษตรกรต้องมีการขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรโดยต้องแจ้งวันที่ คาดว่าจะเก็บเกี่ยวในการขึ้นทะเบียนเกษตรกร เพื่อใช้เป็นข้อมูลช่วงระยะเวลาที่เกษตรกรจะได้รับสิทธิชดเชย ใช้ข้อมูลผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่รายประเทศของข้าวแต่ละชนิดของสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการคํานวณปริมาณผลผลิตของเกษตรกรที่จะได้รับสิทธิในการชดเชย คํานวณปริมาณผลผลิตที่เกษตรกรจะได้รับสิทธิเพื่อเป็นข้อมูลในการจ่ายเงินชดเชย โดยใช้ข้อมูลและหลักการทางสถิติอันเป็นที่ยอมรับโดยใช้พื้นที่ทั้งหมดที่ ขึ้นทะเบียนปลูกข้าวแต่ละชนิดมาคูณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เป็นปริมาณผลผลิตที่ต้อง ชดเชย แต่ต้องไม่เกินปริมาณผลผลิตที่มติคณะรัฐมนตรีกําหนด โครงการนี้ได้บูรณาการหน่วยงานกํากับดูแลใกล้ชิดโปร่งใส เป็นธรรม ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการติดตามกํากับดูแลการบริหารจัดการข้าวระดับจังหวัดเพื่อคอยติดตาม กํากับดูแลการดําเนินโครงการประกันรายได้ฯ ให้เป็นไปด้วย ความเรียบร้อยและป้องปรามเพื่อให้การค้าขายปกติ เกิดความเป็นธรรม ไม่มีการ เอารัดเอาเปรียบเกษตรกร
บูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องอันได้แก่
1) กรมการค้าภายใน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการกํากับดูแลและกําหนด เกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ทําหน้าที่พิจารณา กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ การกําหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงของการประกันรายได้
2) ธ.ก.ส. เป็นหน่วยงานหลักในการจ่ายเงินชดเชย และช่วยประชาสัมพันธ์ โครงการให้เกษตรกรได้รับทราบ
3) กรมส่งเสริมการเกษตร ดําเนินการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดย คํานึงถึงความสะดวกและประโยชน์ที่เกษตรกรพึงได้รับการช่วยเหลือโดยเร็ว รวมทั้งร่วมกับกรมการค้าภายใน ธ.ก.ส. และจังหวัดแหล่งผลิต ในการชี้แจง เกี่ยวกับโครงการประกันรายได้ฯ ในระดับพื้นที่
การจ่ายเงินแก่เกษตรกร
ธ.ก.ส. จะโอนเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงตามช่วงระยะเวลาที่กําหนดภายใน 3 วัน นับตั้งแต่วันที่ประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงในแต่ละรอบ โดยเกษตรกรไม่ต้องทํา สัญญากับ ธ.ก.ส.