กรมบังคับคดีแถลงแนวทางการขับเคลื่อนงานที่สำคัญในปี 2568 มุ่งอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนทุกมิติ

วันที่ 23 มกราคม 2568 เวลา 10.30 นาฬิกา ณ ห้องประชุมคชสาร 2 ชั้น 3 อาคารกรมบังคับคดี นายเสกสรร สุขแสง อธิบดีกรมบังคับคดี เป็นประธานในพิธีแถลงแนวทางการขับเคลื่อนงานภารกิจกรมบังคับคดี โครงการสำคัญและกิจกรรมที่ดำเนินการในปีงบประมาณ 2568

นายเสกสรร สุขแสง อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวว่า กรมบังคับคดีเป็นหน่วยงานสังกัดยุติธรรม บทบาทหน้าที่และอำนวยความยุติธรรรม ให้แก่เจ้าหนี้ลูกหนี้ผู้มีส่วนได้เสีย ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างสังคมที่เป็นสุขเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศจากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องเกิดการเลิกจ้างส่งผลต่อปัญหาหนี้สิน ถูกฟ้องร้องเพิ่มมากขึ้นโดย ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 มีปริมาณคดีแพ่งและคดีล้มละลายในชั้นบังคับคดี จำนวน 4,171,644 เรื่อง ทุนทรัพย์กว่า 19.109 ล้านล้านบาท จำนวนทุนทรัพย์เมื่อเทียบ GDP จำนวน 18.37 ล้านล้านบาทหนี้ในชั้นบังคับคดีมากกว่าคิดเป็นร้อยละ 4.02 สำหรับผลการดำเนินงานที่สำคัญตั้งแต่ตุลาคม – ธันวาคม 2567 1. เร่งรัดผลักดันทรัพย์สินออกจากกระบบการบังคับคดี โดยในปี 2568 มีเป้าหมายจำนวน 241,000 ล้านบาท สามารถผลักดันทรัพย์ได้เป็นจำนวน 53,339,959,356.27 บาท 2. การเร่งรัดสำนวนคดีแพ่งและคดีล้มละลายที่ดำเนินการให้แล้วเสร็จมีเป้าหมายเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2567 ร้อยละ 1 (จำนวน 425,682 คดี) ปัจจุบันสามารถดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 103,594 เรื่อง
สำหรับการขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาล 1.ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชน ซึ่งผลการดำเนินงานตั้งแต่ตุลาคม – ธันวาคม 2567มีเรื่องเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย จำนวน 7,072 เรื่อง ทุนทรัพย์ 3,623,521,203.05 บาท ไกล่เกลี่ยสำเร็จจำนวน 6,879 เรื่อง ทุนทรัพย์ 3,173,807,724.06 บาทคิดเป็นร้อยละ 97.27 ของเรื่องที่เข้าสู่กระบวนการ สามารถลดค่าใช้จ่ายประชาชนได้ จำนวน 112,411,731.72 บาท สำหรับแผนการจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยช่วยลูกหนี้ภายใต้กิจกรรม “มีอยู่ มีกิน มีใช้”ในพื้นที่ทั่วประเทศ จำนวน 52 ครั้ง ระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน 2568 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดน่าน อุบลราชธานี อุดรธานี พระนครศรีอยุธยา ปัตตานี สุราษฎร์ธานี กาญจนบุรี พะเยา สงขลา ยโสธร สุโขทัย ตรัง ประจวบคีรีขันธ์ นครสวรรค์ นนทบุรี สุพรรณบุรี พัทลุง ตาก สตูล เชียงใหม่ กำแพงเพชร ศรีสะเกษ ยะลา เชียงราย ขอนแก่น บุรีรัมย์ พิษณุโลกเพชรบูรณ์ ชุมพร ปราจีนบุรี อุตรดิตถ์ กระบี่ นครพนม ลพบุรี จันทบุรี แพร่ ลำปาง ร้อยเอ็ด สกลนคร นราธิวาส เพชรบุรี นครปฐม สุรินทร์ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครราชสีมา ภูเก็ต เลย ชลบุรี และจังหวัดนครศรีธรรมราช 2.การดำเนินการเกี่ยวกับคดีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยมีการดำเนินการหารือแนวทางการบังคับคดีหนี้กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มลูกหนี้ คือ กลุ่มลูกนี้ที่ชำระหนี้ครบถ้วน และลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการจัดทำบัญชีรับ-จ่าย 3.ทบทวนปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานะการณ์ เช่น ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่..) พ.ศ. ….(กระบวนการพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้) โดยกฎหมายฉบับนี้จะทำให้ลูกหนี้ที่มีลักษณะเป็นกิจการขนาดย่อมสามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้เช่นเดียวกันกับการฟื้นฟูกิจการขนาดใหญ่ โดยควาดว่าจะมีผลบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ช่วงเดือนเมษายน 2568 4.การให้ความรู้ด้านการเงินและด้านกฎหมายเพื่อให้ประชาชนรับรู้สิทธิที่ถูกต้องสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตปประจำวัน และ5.การยกระดับประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนด้วยนวัตกรรมและดิจิทัล เช่น ปัจจุบันจะใช้ระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตน หรือแอบพลิเคชัน ThaiD ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ LED e-Service ต่าง ๆ ได้ง่าย ปลอดภัย นอกจากนี้ ระบบงานที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม 2568 มี 2 ระบบ ได้แก่ ระบบบัญชีรับจ่ายอัตโนมัติและระบบ e-offering Auction เป็นระบบประมูลขายทอดตลาดทรัพย์ผ่านอิเล็กทรอนิกส์ และภายในเดือนกันยายน 2568 คาดว่าจะมีระบบงานที่แล้วเสร็จ จำนวน 2 ระบบได้แก่ ระบบการอายัดอัตโนมัติ และระบบวางทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์กรมบังคับคดีให้ดียิ่งขึ้น และหวังว่าการให้บริการด้านการบังคับคดีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบังคับคดี จะเป็นประโยชน์และสร้างความสะดวก รวดเร็ว และลดค่าใช้จ่ายแก่ผู้ใช้บริการทุกท่านเป็นอย่างดี