สถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 22 ม.ค. 68 เวลา 7.00 น.

1.สภาพอากาศวันนี้ : ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง

คาดการณ์ : วันที่ 26-27 ม.ค. 68.มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้นและฝนตกหนักบางแห่ง

2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 75% ของความจุเก็บกัก (60,126 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 62% (35,909 ล้าน ลบ.ม.)
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ระดับน้ำต่ำกว่าระดับควบคุมต่ำสุดหรือมีน้ำใช้การน้อยกว่า 30% 3 แห่ง ดังนี้
– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จุฬาภรณ์ สิรินธร และลำตะคอง

3. คุณภาพน้ำ : แม่น้ำสายหลัก 4 สาย (เจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง และบางปะกง) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

4.แผนและผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้ง : สทนช. ติดตามสถานการณ์น้ำทั้งประเทศ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การ 30,485ล้าน ลบ.ม. (64%) ผลการจัดสรรน้ำทั้งฤดู (ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.67 ถึงปัจจุบัน) สะสม 8,087 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 37% (แผนฯ ทั้งฤดู 21,626 ล้าน ลบ.ม.) และระบายน้ำเพื่อควบคุมระดับน้ำในอ่างฯ สะสม 392 ล้าน ลบ.ม.เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (อ่างฯ ภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยบำรุงแดน และป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำใช้การ 12,304 ล้าน ลบ.ม. (68%) ผลการจัดสรรน้ำทั้งฤดู สะสม 3,866 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 45% (แผนฯ ทั้งฤดู 8,500 ล้าน ลบ.ม.) และระบายน้ำเพื่อควบคุมระดับน้ำในอ่างฯ สะสม 76 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ EEC (อ่างฯ บางพระ หนองปลาไหล และประแสร์) มีปริมาณน้ำใช้การ 411 ล้าน ลบ.ม. (78%) ผลการจัดสรรน้ำทั้งฤดู สะสม 128 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 28% (แผนฯ ทั้งฤดู 456 ล้าน ลบ.ม.) ทั้งนี้ สทนช. ได้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามแผนและลำดับความสำคัญของการใช้น้ำเพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ให้เพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้งนี้

5. ข่าวประชาสัมพันธ์ : วานนี้ (21 ม.ค. 68) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานเปิดเวทีให้ข้อมูลโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสานะคาม สปป.ลาว ครั้งที่ 3 ณ โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี การจัดเวทีให้ข้อมูลโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสานะคามมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นเวทีที่ประชาชนสามารถซักถามและแสดงความเห็นเกี่ยวกับโครงการได้ในทุกมิติ ทั้งนี้ ความวิตกกังวลต่อผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงเป็นที่รับรู้กันทั่วไป ตั้งแต่ระดับนานาชาติจนถึงระดับชุมชนในพื้นที่ สิ่งที่ สทนช. ดำเนินการมาโดยตลอดในเรื่องโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสานะคาม คือ การทำให้มีข้อมูลเพียงพอต่อการพิจารณาได้ว่า โครงการดังกล่าว มีแนวโน้มว่าจะเกิดผลกระทบอย่างไรบ้างต่อประเทศไทย เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ และภาคประชาชน ได้ช่วยกันพิจารณาให้ความเห็นต่อโครงการ และ สทนช. จะนำไปจัดทำความเห็นของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย และแจ้งประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2538 จำนวน 4 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เวียดนาม และไทย โดยแจ้งเป็นเอกสารตอบกลับ ตามขั้นตอนที่ได้ตกลงร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกต่อไป