วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จัดงานประกาศรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ปี 2567 (Human Rights Awards 2024) โดยได้รับเกียรติจาก พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิด “งานประกาศรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2567” พร้อมมอบรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2567 (Human Rights Awards 2024) ให้กับองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจ และภาคประชาสังคม ที่ยึดหลักสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติงาน
โดยมี นางสาวเอมอร เสียงใหญ่ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กล่าวรายงาน และมี ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ผู้บริหารของหน่วยงานที่ได้รับรางวัล แขกผู้มีเกียรติ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และสื่อมวลชน เข้าร่วม นอกจากนี้ ช่วงเช้ายังมีการนำเสนอต้นแบบที่ดี (Best Practice) จากผู้ที่ได้รับรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2567” ประเภทภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคธุรกิจ และการจัดนิทรรศการของหน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วม อีกด้วย
สำหรับการมอบรางวัลองค์กรต้นแบบในครั้งนี้ มีหน่วยงานที่ได้รับการคัดเลือกเป็นองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2567 จำนวน 97 องค์กร ได้แก่ องค์กรภาครัฐ จำนวน 45 องค์กร องค์กรรัฐวิสาหกิจ จำนวน 10 องค์กร องค์กร ภาคธุรกิจ จำนวน 40 องค์กร และองค์กรภาคประชาสังคม จำนวน 2 องค์กร ดังนี้
– ประเภทองค์กร ภาครัฐ ประเภทราชการส่วนกลาง ระดับดีเด่น 2 องค์กร ได้แก่ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน , สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ระดับดี 4 องค์กร ได้แก่ กรมการปกครอง, กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน), องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน)
– ประเภทองค์กรภาครัฐ ประเภทราชการส่วนภูมิภาค ระดับดีเด่น 12 องค์กร ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่, ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา, ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนสิรินธร, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดปทุมธานี , สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดปราจีนบุรี, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดพัทลุง, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดพิษณุโลก, สำนักงานคลังจังหวัดเชียงใหม่, สำนักงานบังคับคดีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, สำนักงานบังคับคดีจังหวัดพิจิตร, สำนักงานบังคับคดีจังหวัดลพบุรี, สำนักงานบังคับคดีจังหวัดลพบุรี ระดับดี 20 องค์กร ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น, ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่, ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน จังหวัดยะลา, ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านมุทิตา, ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเชียงใหม่, ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนราชบุรี, ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี, ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนอุบลราชธานี, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดขอนแก่น, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงราย, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดตราด, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนนทบุรี, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดปัตตานี, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดภูเก็ต, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดยะลา, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสมุทรปราการ, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสุโขทัย, สำนักงานยุติธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ระดับชมเชย 7 องค์กร ได้แก่ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนนครราชสีมา, ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนลพบุรี, ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน สุราษฎร์ธานี, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์, สถานพินิจ
และคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดเลย, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษ, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและ เยาวชนจังหวัดอ่างทอง
– ประเภทองค์กรรัฐวิสาหกิจ ระดับ Gold 1 องค์กร ได้แก่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ระดับดีเด่น 6 องค์กร ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, ธนาคาร เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน), บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ระดับดี 3 องค์กร ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย, บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด
– ประเภทองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ระดับ Gold จำนวน 1 องค์กร ได้แก่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ระดับดีเด่น 25 องค์กร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท กรุงเทพ ดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน), บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน), บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน), บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน), บริษัท ซีพีแรม จำกัด, บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน), บริษัท โตชิบา เซมิคอนดัคเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ทีบีเคเค (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด, บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน), บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีที ดิจิตอล โซลูชั่น จำกัด, บริษัท แพ็คฟู้ด จำกัด (มหาชน), บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน), บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน), บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บริษัท โอคินอสฟู๊ด จำกัด ระดับดี 7 องค์กร ได้แก่ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยยูเนี่ยน ซีฟู้ด จำกัด, บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด (มหาชน), บริษัท พิษณุเวช จำกัด (โรงพยาบาลพิษณุเวช), บริษัท ยางไทยปักษ์ใต้ จำกัด, บริษัท ศูนย์บริการเหล็กสยาม จำกัด (มหาชน), บริษัท สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด (มหาชน) ระดับชมเชย 1 องค์กร ได้แก่ บริษัท คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)
– ประเภทองค์กรธุรกิจขนาดกลาง ระดับดี 3 องค์กร ได้แก่ บริษัท จี.เค.แอสเซ็มบลี้ จำกัด, บริษัท ไร้ท์ โซลูชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท อันดารา รีสอร์ท แอนด์ วิลล่า จำกัด
– ประเภทองค์กรธุรกิจขนาดย่อม ระดับดี 2 องค์กร ได้แก่ บริษัท ต้อม คาซาวา จำกัด, บริษัท เพ็ทสไมล์ บาย ด๊อกเตอร์ เพ็ท จำกัด ระดับชมเชย 1 องค์กร ได้แก่ บริษัท ไร้ท์ รีแอคติเวชั่น จำกัด (มหาชน)
– ประเภทองค์กรภาคประชาสังคม ระดับดี 1 องค์กร ได้แก่ มูลนิธิเครือข่ายสถานะบุคคล ระดับชมเชย 1 องค์กร ได้แก่ มูลนิธิศิลปะเพื่อมวลมนุษย์
ทั้งนี้ องค์กรที่ได้รับรางวัลจะเป็นต้นแบบให้กับองค์กรอื่น ๆ รวมถึงร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อยกระดับการดำเนินงานขององค์กรต่าง ๆ อย่างยั่งยืน ตลอดจนพัฒนาสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยในภาพรวมต่อไป