1.สภาพอากาศวันนี้ : บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบนแล้ว ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และ มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งในด้านตะวันตกของภาคเหนือ และภาคกลาง และภาคตะวันออกตามแนวชายฝั่งทะเล สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบน ทำให้ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก) มีฝนตกหนักบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 82% ของความจุเก็บกัก (65,948 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 72% (41,752 ล้าน ลบ.ม.) เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ระดับน้ำต่ำกว่าระดับควบคุมต่ำสุดหรือมีน้ำใช้การน้อยกว่า 30% 3 แห่ง ดังนี้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : น้ำพุง จุฬาภรณ์ และลำตะคอง
3. คุณภาพน้ำ : แม่น้ำสายหลัก 4 สาย (เจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง และบางปะกง) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ.ฉบับที่ 18/2567 ลงวันที่ 1 พ.ย. 67 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้ ช่วงวันที่ 2-6 พ.ย. 67 สทนช. ประกาศเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม น้ำท่วมขังในเขตชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง พัทลุงนครศรีธรรมราช และสงขลา ทั้งนี้ควรเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80..บริเวณ จ.ระนอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต กระบี่ และอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกัก รวมทั้งเฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณด้านท้ายน้ำบริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ คลองบางสะพาน คลองชุมพร แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตาปี คลองชะอวด คลองลำ คลองท่าแนะ และแม่น้ำตรัง
5. สถานการณ์น้ำ : ปัจจุบันประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
โดยปัจจุบันมีสถานการณ์น้ำ (3 พ.ย. 67 เวลา 06.00 น.) ดังนี้
1. เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำเก็บกัก 10,709 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 79 ของความจุเก็บกัก (ระดับเก็บกักน้ำสูงสุด 13,462 ล้าน ลบ.ม.)
2. เขื่อนสิริกิติ์ จ. อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำเก็บกัก 9,213 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 97 ของความจุเก็บกัก (ระดับเก็บกักน้ำสูงสุด 9,510 ล้าน ลบ.ม.)
3. เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำเก็บกัก 823 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 88 ของความจุเก็บกัก (ระดับเก็บกักน้ำสูงสุด 939 ล้าน ลบ.ม.)
4. เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำเก็บกัก 963 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 100 ของความจุเก็บกัก (ระดับเก็บกักน้ำสูงสุด 960 ล้าน ลบ.ม.)
5. เขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ระบายน้ำในอัตรา 1,102 ลบ.ม./วินาที
6. แม่น้ำมูล สถานี M.7 อ.เมืองฯ จ.อุบลราชธานี มีน้ำไหลผ่านในอัตรา 799 ลบ.ม./วินาที มีระดับน้ำ 3.90 ม. (ระดับตลิ่ง 7.00 ม.)
7. เขื่อนบางลาง จ.ยะลา มีปริมาณน้ำเก็บกัก 737 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 51 ของความจุเก็บกัก (ระดับเก็บกักน้ำสูงสุด 1,454 ล้าน ลบ.ม.) สามารถรับน้ำได้อีก 717 ล้าน ลบ.ม.
ทั้งนี้ สทนช. ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการน้ำและควบคุมระดับน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ฝน รวมทั้งคำนึงถึงฤดูแล้งนี้ด้วย