1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.เชียงใหม่ (39 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.สุรินทร์ (73 มม.) ภาคกลาง : จ.สุพรรณบุรี (54 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ตราด (160 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (27 มม.) ภาคใต้ : จ.พังงา (124 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมถึงภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนแล้ว ในขณะที่พายุโซนร้อน “จ่ามี” เคลื่อนที่ไปปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ทำให้ฝนตกหนักบางแห่งบริเวณทางด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 29 ต.ค.–1 พ.ย. 67 ลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ประกอบกับพายุโซนร้อนกำลังแรง “จ่ามี” บริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางจะเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางทะเลจีนใต้ โดยมีแนวโน้มอ่อนกำลังลงทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 81% ของความจุเก็บกัก (65,503 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 71% (41,398 ล้าน ลบ.ม.)
3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : สำนักงานทรัพยากรน้ำแแห่งชาติ ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำล้นตลิ่ง ช่วงวันที่ 23 – 28 ตุลาคม 2567 เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนยังคงปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ในขณะที่ร่องมรสุมเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งต้องเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง และบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังเป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ จังหวัดอุทัยธานี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จึงขอให้เฝ้าระวังฝนตกหนัก และฝนที่ตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ รวมทั้งแจ้งเตือนล่วงหน้าให้แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง
4. สถานการณ์น้ำ : ปัจจุบันประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันมีสถานการณ์น้ำ (28 ต.ค. 67 เวลา 06.00 น.) ดังนี้
1. ลุ่มน้ำปิง เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำเก็บกัก 10,575 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 79 ของความจุเก็บกัก (ระดับเก็บกักน้ำสูงสุด 13,462 ล้าน ลบ.ม.) สามารถรับน้ำได้อีก 2,887 ล้าน ลบ.ม.
2. ลุ่มน้ำป่าสัก เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำเก็บกัก 950 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 99 ของความจุเก็บกัก (ระดับเก็บกักน้ำสูงสุด 960 ล้าน ลบ.ม.) สามารถรับน้ำได้อีก 10 ล้าน ลบ.ม.
3. ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ระบายน้ำในอัตรา 1,699 ลบ.ม./วินาที
4. ลุ่มน้ำมูล แม่น้ำมูล สถานี M.7 อ.เมืองฯ จ.อุบลราชธานี มีระดับน้ำ 4.10 ม. (ระดับตลิ่ง 7.00 ม.)
5. ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง เขื่อนบางลาง มีปริมาณน้ำเก็บกัก 768 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 53 ของความจุเก็บกัก (ระดับเก็บกักน้ำสูงสุด 1,454 ล้าน ลบ.ม.) สามารถรับน้ำได้อีก 686 ล้าน ลบ.ม.
ทั้งนี้ สทนช. ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการน้ำและควบคุมระดับน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ฝน รวมทั้งคำนึงถึงฤดูแล้งที่ใกล้จะมาถึงด้วย
5. สถานการณ์น้ำท่วม วันที่ 28 ต.ค. 67 ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา พระนครศรีอยุธยา บางบาล บางปะอิน ผักไห่ บางซ้าย และบางไทร) จ.สุพรรณบุรี (อ.เมืองฯ ดอนเจดีย์ อู่ทอง บางปลาม้า และสองพี่น้อง) และ จ.นครปฐม (อ.เมืองฯ นครชัยศรี บางเลน สามพราน และกำแพงแสน)