1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.นครสวรรค์ (127 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ตราด (96 มม.) ภาคกลาง : กรุงเทพมหานคร (92 มม.) ภาคตะวันตก : จ.เพชรบุรี (84 มม.) ภาคใต้ : จ.นครศรีธรรมราช (49) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.หนองบัวลำภู (38 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ทำให้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออก และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 27 – 28 ต.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับพายุโซนร้อน “จ่ามี” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตกพายุโซนร้อน “จ่ามี” (TRAMI) ปกคลุมบริเวณด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ คาดว่าจะเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบนในช่วง วันที่ 24 – 25 ต.ค. 67
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 81% ของความจุเก็บกัก (65,082 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 71% (40,885 ล้าน ลบ.ม.)
3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : สำนักงานทรัพยากรน้ำแแห่งชาติ ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำล้นตลิ่ง ช่วงวันที่ 23 – 28 ตุลาคม 2567เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนยังคงปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ในขณะที่ร่องมรสุมเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งต้องเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง และบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังเป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ จังหวัดอุทัยธานี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสจึงขอให้เฝ้าระวังฝนตกหนัก และฝนที่ตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ รวมทั้งแจ้งเตือนล่วงหน้าให้แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง
4. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : วานนี้ (22 ต.ค. 67) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมเปิดศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ และประชุมคณะอนุกรรมการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำ ครั้งที่ 2/2567 พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ณ ห้องประชุมปัญจเพชร ชั้น 3 อาคารศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) อ.เมืองยะลา จ.ยะลา และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการประชุมครั้งนี้เป็นการดำเนินงานเชิงรุกตามข้อห่วงใยของนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับทราบคาดการณ์สภาพอากาศและสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคใต้ในการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งล่าสุด เพื่อเป็นการรับมือกับฝนที่จะตกแบบกระจายในหลายพื้นที่ การบริหารจัดการน้ำในภาคใต้ของปีนี้จะใช้กลไกการเชื่อมโยงการดำเนินงานระหว่างศูนย์ฯ ส่วนหน้าไปยังคณะกรรมการลุ่มน้ำในทุกลุ่มน้ำของภาคใต้ เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ครอบคลุมทุกพื้นที่สำหรับสถานการณ์เขื่อนบางลาง จ.ยะลา ที่จะช่วยรองรับปริมาณน้ำจำนวนมากในช่วงฝนตกหนัก รวมถึงกักเก็บน้ำต้นทุนไว้ใช้ในฤดูแล้งปี 2567/68 ขณะนี้ได้ปรับลดการระบายน้ำของเขื่อนบางลางลงให้อยู่ในอัตรา 14 ล้าน ลบ.ม./วัน เพื่อป้องกันความเสี่ยงน้ำเอ่อล้นในพื้นที่บริเวณบ้านบริดอ อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี
5. สถานการณ์น้ำท่วม วันที่ 22 ต.ค. 67 ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา พระนครศรีอยุธยา บางบาล บางปะอิน ผักไห่ และบางไทร) จ.สุพรรณบุรี (อ.บางปลาม้า อู่ทอง และสองพี่น้อง) และ จ.นครปฐม (อ.นครชัยศรี บางเลน สามพราน เมืองฯ และกำแพงแสน)