1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.สุโขทัย (85 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.เลย (43 มม.) ภาคกลาง : กรุงเทพมหานคร (46 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ตราด (76 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (15 มม.) ภาคใต้ : จ.นครศรีธรรมราช (85 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบนและภาคตะวันออกประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 19 – 22 ต.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก
2. สถานการณ์น้ำ : ปัจจุบันประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนลดลง ส่วนภาคใต้มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น โดยมีสถานการณ์น้ำที่สำคัญ ดังนี้
1. เขื่อนภูมิพล ปัจจุบันมีปริมาณน้ำเก็บกัก 10,014 ล้าน ลบ.ม. (74%) (ระดับเก็บกักน้ำสูงสุด 13,462 ล้าน ลบ.ม.) สามารถรับน้ำได้อีก 3,448 ล้าน ลบ.ม.
2. เขื่อนเจ้าพระยา วันที่ 17 ต.ค. 67 เวลา 06.00 น. ปริมาณน้ำไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาสถานี C.2 จ.นครสวรรค์ที่ 1,732 ลบ.ม./วินาที และเขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำในอัตรา 1,451 ลบ.ม./วินาที
3.เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำเก็บกัก 818 ล้าน ลบ.ม. (85%) (ระดับเก็บกักน้ำสูงสุด 960 ล้าน ลบ.ม.) สามารถรับน้ำได้อีก 142 ล้าน ลบ.ม.
4. เขื่อนบางลาง ปัจจุบันมีปริมาณน้ำเก็บกัก 798 ล้าน ลบ.ม. (55%) (ระดับเก็บกักน้ำสูงสุด 1,454 ล้าน ลบ.ม.) สามารถรับน้ำได้อีก 656 ล้าน ลบ.ม.ทั้งนี้ สทนช. ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการน้ำและควบคุมระดับน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์โดยคำนึงถึงสถานการณ์ฤดูแล้งที่ใกล้จะมาถึงด้วย
3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ: 1.สทนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำล้นตลิ่ง ช่วงวันที่ 13–17 ต.ค. 67 เนื่องจากลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก และร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ทำให้มีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ต้องเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง และบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขัง เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ จังหวัดกาญจนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
2. สทนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง ช่วงวันที่ 13–24 ต.ค. 67 ด้วยอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง ประกอบกับมวลน้ำหลากจากตอนบนของลุ่มน้ำไหลลงมาสมทบทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง จ.สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม และสมุทรสงคราม
4. สถานการณ์อุทกภัย: วันที่ 17 ต.ค. 67 ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จ.ลำพูน (อ.เมืองฯ) จ.พิษณุโลก (อ.เมืองฯ พรหมพิราม และบางระกำ) จ.สุพรรณบุรี (อ.บางปลาม้า และสองพี่น้อง) จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา พระนครศรีอยุธยา บางบาล บางปะอิน บางปะหัน ผักไห่ และบางไทร) และ จ.นครปฐม (อ.นครชัยศรี และบางเลน)