สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 12 ต.ค. 67 เวลา 7.00 น.

1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคใต้ : จ.ยะลา (209) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (62) ภาคกลาง : สมุทรปราการ (27) ภาคเหนือ : จ.เชียงราย (68) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.นครราชสีมา (49) และภาคตะวันออก : จ.ระยอง (33)

สภาพอากาศวันนี้ : ลมฝ่ายตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง

คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 13-17 ต.ค. 67 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก มีฝนตกหนักบางแห่ง โดยบริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนยังคงปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นในตอนเช้า

2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 79% ของความจุเก็บกัก (63,384 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 68% (39,193 ล้าน ลบ.ม.)

3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ :
3.1. สทนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำล้นตลิ่ง ช่วงวันที่ 9–12 ต.ค. 67 เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ทำให้มีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ต้องเฝ้าระวัง อ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 80% และเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำล้นตลิ่ง บริเวณ จ.ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
3.2. สทนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง ช่วงวันที่ 13–24 ต.ค. 67 ด้วยอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง ประกอบกับมวลน้ำหลากจากตอนบนของลุ่มน้ำไหลลงมาสมทบทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง จ.สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม และสมุทรสงคราม

4. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : วานนี้ 11 ต.ค. 67 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี
เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2567 เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและดินโคลนถล่มในพื้นที่ภาคเหนือ รวมถึงพื้นที่ที่ประสบปัญหาอุทกภัย โดยเน้นการติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนหรือส่งผลกระทบน้อยที่สุด ในการประชุมครั้งนี้มีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำ รวมถึงเห็นชอบ (ร่าง) มาตรการรองรับฤดูแล้งปี 2567/2568 จำนวน 8 มาตรการ ดังนี้
1. คาดการณ์และป้องกันพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ
2. สร้างความมั่นคงน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรพร้อมปฏิบัติการเติมน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
3. กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง บริหารจัดการน้ำ
ให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด
4. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ประหยัดน้ำและลดการสูญเสียน้ำในทุกภาคส่วน
5. เฝ้าระวังและแก้ไขคุณภาพน้ำ
6. เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชน/องค์กรผู้ใช้น้ำ
7. สร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์
8. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

5. สถานการณ์อุทกภัย: วันที่ 12 ต.ค. 67 ในพื้นที่ 13 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.เมืองฯ แม่สาย แม่ลาว เวียงป่าเป้า เวียงชัย และเชียงแสน) จ.เชียงใหม่ (อ.เมืองฯ หางดง สารภี และสันป่าตอง) จ.ลำพูน (อ.เมืองฯ) จ.ลำปาง (อ.แม่พริก) จ.พิษณุโลก (อ.เมืองฯ วัดโบสถ์ วังทอง พรหมพิราม บางระกำ บางกระทุ่ม และนครไทย) จ.สุโขทัย (อ.เมืองฯ ศรีสำโรง ศรีสัชนาลัย กงไกรลาศ คีรีมาศ ทุ่งเสลี่ยม และสวรรคโลก) จ.นครสวรรค์ (อ.เมืองฯ) จ.ชัยนาท (อ.เมืองฯ มโนรมย์ วัดสิงห์ และสรรพยา) จ.สิงห์บุรี (อ.เมืองฯ พรหมบุรี และอินทร์บุรี) จ.สุพรรณบุรี (อ.เมืองฯ เดิมบางนางบวช สามชุก ศรีประจันต์ บางปลาม้า สองพี่น้อง อู่ทอง และดอนเจดีย์) จ.อ่างทอง (อ.เมืองฯ ป่าโมก วิเศษชัยชาญ และไชโย) จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.พระนครศรีอยุธยา บางบาล บางปะอิน บางปะหัน ผักไห่ เสนา และบางไทร) และ จ.นครปฐม (อ.นครชัยศรี กำแพงแสน และสามพราน)
สถานการณ์น้ำหลาก ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จ.สุราษฎร์ธานี (อ.พระแสง) จ.นครศรีธรรมราช (อ.พรหมคีรี และทุ่งสง) และ จ.ยะลา (อ.เบตง และธารโต)