สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 4 ต.ค.67 เวลา 7.00 น.

1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.เชียงราย (194 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.นครราชสีมา (121 มม.) ภาคกลาง : จ.สมุทรปราการ (101มม.) ภาคตะวันออก : จ.จันทบุรี (56 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (110 มม.) ภาคใต้ : จ.สุราษฎร์ธานี (87 มม.)

สภาพอากาศวันนี้ : ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมด้านตะวันออกของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้แล้ว ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีลักษณะอากาศแปรปรวนเกิดขึ้น โดยมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ส่วนบริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง

คาดการณ์ :. ช่วงวันที่ 6 – 9 ต.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนลดลง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้

2. สถานการณ์น้ำ : เนื่องจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำปิงมีน้ำหลากลงสู่ลำน้ำและอ่างเก็บน้ำมากขึ้น กรมชลประทานจึงได้บริหารจัดการน้ำให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ โดยปรับเพิ่มการระบายน้ำ ดังนี้ เขื่อนเจ้าพระยา วันที่ 4 ต.ค. 67 เวลา 06.00 น. ปริมาณน้ำไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณสถานี C.2 จ.นครสวรรค์ที่ 2,265 ลบ.ม./วิ และระบายผ่านเขื่อนเจ้าพระยาที่อัตรา 1,947 ลบ.ม./วิ ส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น อ.เมือง จ.เชียงใหม่ บริเวณ สะพานนวรัฐ วันที่ 4 ต.ค. 67 เวลา 06.00 น. ปริมาณน้ำไหลผ่านแม่น้ำปิง บริเวณสถานี P.1 ที่ ลบ.ม./วิ 574 ปริมาณน้ำสูงกว่าระดับตลิ่ง 1.1 ม. ปริมาณน้ำมีแนวโน้มน้ำลดลง

3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ: ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในพื้นที่แม่น้ำปิง และแม่น้ำสาย

1. เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขังแม่น้ำปิง ช่วงวันที่ 3 – 6 ต.ค. 67 เนื่องจากเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำปิงและแม่น้ำสาขาเพิ่มสูงขึ้นมีแนวโน้มล้นตลิ่ง ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ บริเวณ อ.เมืองฯ บริเวณ ต.ช้างคลาน ป่าแดด หายยา ช้างม่อย วัดเกต ช้างเผือก หนองหอย ท่าศาลา ฟ้าฮ่าม ป่าตัน สันผีเสื้อ และหนองป่าครั่ง อ.สารภี บริเวณ ต.หนองผึ้ง และท่าวังตาล โดยเฉพาะ บริเวณสะพานนวรัฐ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ระดับน้ำมีแนวโน้มล้นตลิ่ง โดยจะมีระดับน้ำสูงสุดในวันที่ 4 ต.ค. 67 ประมาณ 0.75 – 1.00 ม.

2. เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขังแม่น้ำสาย ช่วงวันที่ 3 – 4 ต.ค. 67 เนื่องจากเกิดฝนตกหนักใบพื้นที่ตอนบนแม่น้ำสาย ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำสายเพิ่มสูงขึ้นกับแนวพื้นที่เฝ้าระวังกั้นน้ำมีรอยรั่ว ทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่ง เข้าพื้นที่ตลาดสายลมจอย อ.แม่สาย จ.เชียงราย ระดับน้ำมีแนวโน้ม ล้นตลิ่ง ประมาณ 1.00 – 1.50 ม.

4. สถานการณ์อุทกภัย: วันที่ 4 ต.ค. 67 ในพื้นที่ 15 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.เมืองฯ แม่สาย และแม่ลาว) จ.เชียงใหม่ (อ.สารภี หางดง และแม่ริม) จ.พะเยา (อ.เมืองฯ) จ.แม่ฮ่องสอน (เมืองฯ) จ.ลำพูน (อ.เมืองฯ) จ.ตาก (อ.สามเงา และบ้านตาก) จ.พิษณุโลก (อ.เมืองฯ วัดโบสถ์พรหมพิราม บางระกำ บางกระทุ่ม วังทอง และนครไทย) จ.สุโขทัย (อ.เมืองฯ ศรีสำโรง และสวรรคโลก) จ.เลย (อ.วังสะพุง และภูเรือ) จ.อุดรธานี (อ.เมืองฯ วังสามหมอ กุดจับ พิบูลย์รักษ์ บ้านดุง และสร้างคอม) จ.ชัยภูมิ (อ.คอนสวรรค์ และจัตุรัส) จ.มหาสารคาม (อ.เมืองฯ กันทรวิชัย โกสุมพิสัย และเชียงยืน) จ.อุบลราชธานี (อ.เมืองฯ และสว่างวีระวงศ์) จ.อ่างทอง (อ.วิเศษชัยชาญ และไชโย) และ จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.บางบาล บางปะอิน พระนครศรีอยุธยา ผักไห่ เสนา และบางไทร)