ส่งออกเดือน ส.ค. ขยายตัว 7.0%YoY จับตาความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกแผ่วและเงินบาทแข็งค่า

Key Highlights

  • มูลค่าส่งออกเดือน ส.ค. เติบโต 0%YoY จากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม รวมถึงสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ที่ขยายตัวต่อเนื่อง ด้านการนำเข้าขยายตัวที่ 8.9%YoY ขณะที่ดุลการค้าเกินดุล 264.9 ล้านดอลลาร์ฯ
  • แม้การส่งออกจะขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 แต่ถูกขับเคลื่อนจากวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งอยู่ช่วงขาขึ้น ขณะที่การเติบโตในภาพรวมยังไม่กระจายตัวอย่างทั่วถึง การส่งออกหลายรายการหดตัว เช่น รถปิ๊กอัพ ส่วนประกอบของรถยนต์ เม็ดพลาสติก เป็นต้น นอกจากนี้ การส่งออกระยะข้างหน้ายังจะได้รับแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศหลักที่มีสัญญาณอ่อนแรงลง รวมทั้งปัจจัยลบเพิ่มเติมจากเงินบาทที่แข็งค่ามากกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ ซึ่งจะลดทอนความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย

ฉมาดนัย มากนวล

Krungthai COMPASS

มูลค่าส่งออกเดือนสิงหาคม 2567 ขยายตัว 7.0%YoY

มูลค่าส่งออกเดือน ส.ค. อยู่ที่ 26,182.3 ล้านดอลลาร์ฯ เติบโตที่ 7.0%YoY ชะลอลงจาก 15.2%YoY ในเดือนก่อน ทั้งนี้การส่งออกสินค้าทั้งกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ต่างขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับการส่งออกทองคำขยายตัวในอัตราสูงถึง 99.0%YoY ทำให้เมื่อหักทองคำแล้วมูลค่าส่งออกเดือนนี้จะอยู่ที่ 6.2% สำหรับการส่งออก 8 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัว 4.2%YoY

ด้านการส่งออกรายสินค้าสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัว

  • การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว 5.2%YoY ชะลอตัวลงเมื่อเปรียบเทียบจากเดือนก่อนที่เติบโตได้ 15.6%YoY โดยสินค้าสำคัญที่ยังขยายตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+7%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (+23.1%) เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+19.8%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (+15.2%) ผลิตภัณฑ์ยาง (+14.9%) และ เคมีภัณฑ์ (+ 12.5%) เป็นต้น ส่วนสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด (-34.3%) แผงวงจรไฟฟ้า (-33.2%) และ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ (-11.2%) เป็นต้น
  • การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเร่งตัวขึ้น 4%YoY เทียบจากเดือนก่อนที่ขยายตัวได้ 8.7%YoY จากสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรซึ่งขยายตัวต่อเนื่องที่ 17.1%YoY และสินค้าเกษตรซึ่งเติบโตเร่งขึ้นถึง 17.5%YoY โดยสินค้าส่งออกสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ (+233.6%) ยางพารา (+64.8%) ข้าว (+46.6%) อาหารสัตว์เลี้ยง (+25.0%) และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (+20.5%) เป็นต้น ส่วนสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ น้ำตาลทราย (-14.2%) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (-11.5%) ผักกระป๋อง และผักแปรรูป (-10.8%) รวมถึง ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง (-0.7%) เป็นต้น

ด้านการส่งออกรายตลาดสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัว

  • สหรัฐฯ : ขยายตัว 3.0%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น สำหรับสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น (ส่งออก 8 เดือนแรกขยายตัว 17%)
  • จีน : ขยายตัว 7%YoY เติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น ส่วนสินค้าสำคัญที่หดตัว ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และเม็ดพลาสติก เป็นต้น (ส่งออก 8 เดือนแรกขยายตัว 1.1%)
  • ญี่ปุ่น : หดตัวที่ 3%YoY ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ไก่แปรรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ส่วนสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น เป็นต้น (ส่งออก 8 เดือนแรกหดตัว 7.5%)
  • EU27 : ขยายตัว 17.1%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ส่วนสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น (ส่งออก 8 เดือนแรกขยายตัว 6.1%)
  • ASEAN-5 : ขยายตัว 5%YoY เติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น ส่วนสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น (ส่งออก 8 เดือนแรกขยายตัว 0.6%)

มูลค่าการนำเข้าเดือน ส.ค. อยู่ที่ 25,917.4 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 8.9%YoY ชะลอลงจากเดือนก่อนที่เติบโต 13.1%YoY โดยการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (+16.2%YoY) สินค้าเชื้อเพลิง (+13.4%YoY) และสินค้าทุน (+7.2%YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่สินค้าอุปโภคบริโภคกลับมาหดตัว (-0.8%YoY) ด้านการนำเข้าสินค้ายานพาหนะฯ (-23.8%YoY) ยังติดลบต่อเนื่อง ส่วนดุลการค้าเดือน ส.ค. เกินดุลที่ 264.9 ล้านดอลลาร์ฯ ทั้งนี้ ดุลการค้า 8 เดือนแรกของปีขาดดุล 6,351.0 ล้านดอลลาร์ฯ

Implication:

  • การส่งออกในระยะข้างหน้ามีแนวโน้มเผชิญกับความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอลงชัดเจนขึ้น ประกอบกับการแข็งค่าของเงินบาทยังลดทอนความสามารถในการแข่งขัน แม้การส่งออกล่าสุดจะขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 แต่แรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากการเติบโตของสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ Hard Disk Drive (HDD) ที่อยู่ในวัฏจักรขาขึ้น อานิสงส์จากความต้องการใช้งานปัญญาประดิษฐ์และการลงทุน Data Center ของโลก ซึ่งสอดคล้องกับหลายประเทศในเอเชีย อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของการส่งออกยังไม่กระจายตัวอย่างทั่วถึง สินค้าสำคัญหลายรายการยังหดตัว เช่น รถปิ๊กอัพและรถบรรทุก อุปกรณ์และส่วนประกอบของรถยนต์ แผงวงจรไฟฟ้า เม็ดพลาสติก เครื่องครัวและของใช้ภายในบ้าน มันสำปะหลัง และน้ำตาลทราย ซึ่งสินค้าเหล่านี้มีสัดส่วนรวมกันถึงประมาณ 7% ของมูลค่าการส่งออก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัญหาเชิงโครงสร้างด้านความสามารถในการแข่งขัน ประกอบกับการค้าโลกขยายตัวได้จำกัด โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัวเปราะบาง มองไปข้างหน้า การส่งออกของไทยอาจได้รับแรงกดดันจากการอ่อนแรงลงของภาวะเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศสำคัญ สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Flash Manufacturing PMI) เดือน ก.ย. ของสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งหดตัวลงแรงขึ้นจากเดือนก่อน นอกจากนี้ การแข็งค่าขึ้นมากของเงินบาทภายหลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่แรงกว่าคาดของเฟดในเดือน ก.ย. ถึง 50 bps ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าแตะระดับสูงสุดสุดในรอบ 19 เดือน หากพิจารณาเฉพาะช่วงเดือน ก.ย. ค่าเงินบาทแข็งค่ามากกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ โดยแข็งค่าถึง 3.5%MTD เทียบจากช่วงต้นเดือน (ข้อมูล ณ วันที่ 23 ก.ย.) ปัจจัยดังกล่าวนี้จะเป็นอุปสรรคเพิ่มเติมต่อโอกาสในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย