กรมส่งเสริมการเรียนรู้ เปิดโครงการสัมมนาเพื่อพัฒนาวิชาการ สกร. ในเขตภาคเหนือ ประจำปี 2567

วันที่ 1 สิงหาคม 2567 นายธนากร ดอนเหนือ อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาเพื่อพัฒนาวิชาการ สกร. ในเขตภาคเหนือ ประจำปี 2567 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 1 – 2 สิงหาคม 2567 โดยมี ผู้บริหารสถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือ สำนักงานส่งเสริมการ เรียนรู้ประจำจังหวัด และสถานศึกษาในเขตภาคเหนือ เข้าร่วม ณ อาคารหอประชุมนเรศวร โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

นายธนากร ดอนเหนือ อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กล่าวว่า การเปิดโครงการสัมมนาเพื่อพัฒนาวิชาการ สกร. ในเขตภาคเหนือ ประจำปี 2567 ครั้งนี้ สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือ สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัด และสถานศึกษาในเขตภาคเหนือ โดยเฉพาะกลุ่มห้าขุนศึก เป็น เจ้าภาพหลักร่วมกับสถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือ จัดขึ้น ซึ่งมีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องทุกปี จะเว้นบ้างก็เพียงช่วงที่สถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาดรุนแรง นับเป็นโอกาสที่ดีที่หน่วยงานการศึกษา/สถานศึกษา จะได้นำผลงานดีเด่นของแต่ละแห่ง ซึ่งเป็นผลงานตาม บทบาทหน้าที่ภารกิจของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

อีกทั้งยังเป็นเป็นเวทีของการเรียนรู้ร่วมกัน ทำงานร่วมกัน สิ่งนี้จะช่วยให้มีการเผยแพร่วิธีปฏิบัติที่ดีด้านการส่งเสริมการการเรียนรู้ของหน่วยงานการศึกษา/สถานศึกษาแห่งหนึ่ง ๆ ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมในหน่วยงานการศึกษา/สถานศึกษาแห่งอื่น และโดยเฉพาะครั้งนี้มีผู้บริหารสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัด เป็นประธานกลุ่มศูนย์ จากภูมิภาคอื่นทั่วประเทศอีก 14 กลุ่ม ประธานกลุ่มศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาและประธานกลุ่มศูนย์ฝึกอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนมาร่วมสังเกตการณ์ด้วย ยิ่งทำให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันมีความหมายมากขึ้น จะช่วยขยายการนำผลการ ปฏิบัติที่ดีไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของหน่วยงานการศึกษา/สถานศึกษาแต่ละ แห่งได้มากขึ้น

นายธนากร กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ยังมีการแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกจากกรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบของ 17 จังหวัดภาคเหนือ มาจัด แสดงเพื่อการเผยแพร่วิธีปฏิบัติที่ดีจนเกิดผลผลิตที่เป็นต้นแบบ มาเรียนรู้ระหว่างกัน ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านจากสำนักงาน กศน. เป็น กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งในโอกาสนี้จึงได้ฝากประเด็นให้ผู้บริหารและบุคลากรของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ได้นำกลับไปคิด ไปทบทวนอยู่ 3 ประเด็น ดังนี้

1) เราต้องปรับบทบาทภารกิจจากสำนักงาน กศน. รูปแบบเดิมไปสู่การ เรียนรู้ที่มุ่งส่งเสริมบุคคลทุกช่วงวัยที่ให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งจำเป็นต้องมีการออกแบบโครงสร้างองค์กร การยกระดับสมรรถนะ และปรับทัศนคติของบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้ในกรอบความคิดใหม่ เพื่อขับเคลื่อนภารกิจตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งก็ขอเรียนว่าในห้วงเวลานี้กรมเองได้ดำเนินการเกี่ยวกับโครงสร้างได้คืบหน้าไปเกือบจะสมบูรณ์แล้ว และอยู่ในห้วงของการจัดบุคลากร ลงปฏิบัติงานตามโครงสร้างใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเรียบร้อยในเร็ว ๆ นี้

2) เราจำเป็นต้องสร้างรูปแบบการทำงานแบบข้ามสายงาน โดยนำกลุ่ม คนที่มีศักยภาพ ทักษะ ความเชี่ยวชาญมาร่วมขับเคลื่อนการทำงาน โดยมีเป้าหมาย ร่วมกัน โดยประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และราชการส่วนภูมิภาคอื่น ๆ เพื่อร่วมพัฒนาหลักสูตรและ นวัตกรรมการเรียนรู้ให้ทันสมัย น่าสนใจ สามารถจูงใจให้บุคคลทุกช่วงวัยมีทัศนคติในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เราต้องลดบทบาทจากการเป็นผู้ปฏิบัติ และเพิ่มบทบาทการ เป็นผู้ประสานความร่วมมือ ตลอดจนเราต้องปรับบทบาทจากการเป็น Content Provider สู่การเป็นผู้ส่งเสริมทัศนคติและทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Attitude and Skill Provider) ซึ่งก็ตรงกับแนวคิดการจัดงานในครั้งนี้

3) ภารกิจที่สำคัญของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ในอนาคต คือการกระตุ้น ให้บุคคลใฝ่เรียนรู้เพื่อพัฒนา ตนเองอย่างต่อเนื่องตลอด ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบการจ้าง งานปัจจุบันที่ให้คุณค่าต่อทักษะความเชี่ยวชาญและความความสามารถที่แท้จริงของ บุคคล มากกว่าการให้คุณค่าต่อปริญญาหรือวุฒิการศึกษาการศึกษาในรูปแบบเดิม ซึ่งทั้ง 3 ประเด็นนี้ ขอฝากให้ผู้บริหารและผู้เข้าร่วมสัมมนา นำกลับไปพิจารณา ทบทวน เพื่อการยกระดับสมรรถนะการปฏิบัติงานเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจใหม่ ของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ในครั้งนี้ด้วย