สรพ. จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนนักปฏิบัติการ Community of practice หมวด Mental health ครั้งที่ 2

แพทย์หญิงปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ร่วมเป็นวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ในการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนนักปฏิบัติการ Community of practice หมวด Mental health ครั้งที่ 2 โดยมี ดร.บรรจง จำปา รองผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ให้เกียรติเปิดการสัมมนาในครั้งนี้ ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เวลา 13:30 – 15:30 น. ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Zoom Online

สำหรับการสัมมนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในหมวด Mental health เพื่อลดอุบัติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร ในหมวด Mental health เรื่องเจ้าหน้าที่ถูกคุกคามทางจิตใจ และเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรในการเรียนรู้การจัดการแก้ไขปัญหาอุบัติการณ์เกิดแนวทางปฏิบัติสำหรับโรงพยาบาลและอาจทำให้เกิดเป็น Tacit Knowledge ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีในการแก้ไขปัญหาได้จริง ซึ่งการสัมมนานี้ได้รับเกียรติจาก นพ.ยงยุทธ์ วงศ์ภิรมย์ศานติ์, ดร.ชลพินทุ์ เชิดผล และ อ.กัลฐิพร ชัยประทานพงษ์ ร่วมให้ข้อเสนอ แนวคิดเรื่องปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อยในโรงพยาบาล เช่น จิตวิทยาสติ แนวคิดการป้องกันและจัดการปัญหาที่ทำให้เจ้าหน้าที่ที่ถูกคุกคามทางจิตใจ (violence) ที่อาจส่งผลการนำไปสู่การเกิดภาวะ Burnout หรือโรคซึมเศร้าจากการทำงานลดลง นอกจากนี้ยังได้แลกเปลี่ยนกรณีศึกษาจากบทเรียน จาก 2 โรงพยาบาลสมาชิกในโครงการ 3P Safety Hospital ที่เกี่ยวข้องเจ้าหน้าที่ถูกคุกคามทางจิตใจ (violence) ที่เกิดขึ้นกับบุคลากรทางการแพทย์เพื่อนำไปใช้ในการจัดการแก้ไขปัญหาด้วย

ซึ่งแพทย์หญิงปิยวรรณ ได้กล่าวถึงทิศทางของการขับเคลื่อนงานคุณภาพว่าจะต้องคำนึงถึงผู้ป่วยหรือผู้รับบริการและบุคลากรสาธารณสุขต้องเห็นว่า “เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ และมีความสอดคล้องกับมาตรฐาน HA หมวด I-5 บุคลากร (Personal) การพัฒนาขีดความสามารถและความเพียงพอเพื่อให้งานของบุคลากรบรรลุผลสำเร็จ โดยการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เอื้อต่อสวัสดิภาพ สุขภาพ ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิต รวมไปถึงการสร้างความสัมพันธ์ในการทำงานระหว่างคนทำงานในทีม ในองค์กร ลดความเสี่ยงอย่างไรที่จะตอบสนองการทำงานของบุคลากรและผู้รับบริการด้วย”

สำหรับการสัมมนาในครั้งนี้มีโรงพยาบาล สมาชิกในโครงการ 3P safety Hospital ปี 2567 ที่รายงานอุบัติการณ์ระดับความรุนแรงส่งผลกระทบถึงผู้ป่วย E ขึ้นไป ในหมวด Mental health ได้แก่ ผู้จัดการบริหารความเสี่ยง, ผู้จัดการฝ่ายบุคคล, หัวหน้าฝ่ายการแพทย์และพยาบาล จำนวน 30 รพ. รวมประมาณ 100 คน