นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า รัฐบาลโดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) บูรณาการความร่วมมือกับกระทรวงต่างๆ หน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายวัฒนธรรมจัดงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ระหว่างวันที่ 11 – 15 กรกฎาคม 2567 ณ ท้องสนามหลวง กรุงเทพฯ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรชาวไทย ภายในงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติฯ มีการจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ ตั้งแต่วันที่ 11-15 กรกฎาคม 2567 ณ ท้องสนามหลวง กรุงเทพฯ ได้แก่ 1) นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ“ทศมินทรราชา 72 พรรษา มหาวชิราลงกรณ” เผยแพร่พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ แบ่งออกเป็น 3 โซน ได้แก่
โซนที่ 1 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วย พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกร
โซนที่ 2 พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ประกอบด้วย 1.บรมราชาภิเษก อเนกนิกรแซ่ซ้องสดุดี ซึ่งภาพประวัติศาสตร์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 และผลงานศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง 2. หัตถศิลป์งามรุจี พระบารมีแผ่ไพศาล โดยจัดแสดงผลงานศิลปกรรม 19 ชิ้น ซึ่งเคยนำไปจัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อปีพุทธศักราช 2566 ได้แก่ 1.ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 2.ตราพระวชิระ 3.คนโทบรรจุน้ำศักสิทธิ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 4.พระกรัณฑ์และพานรองทองคำ (ภาพถ่าย) 5.หีบพระสุพรรณบัฏทองคำลงยาสีและพานรองทองคำ (ภาพถ่าย) 6.เครื่องไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 7.พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นมณฑปพระกระยาสนานประทับเหนือตั่งอุทุมพรราชอาสน์แปรพระพักตร์สู่ทิศบูรพา 8.พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับการถวายน้ำพระพุทธมนต์จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก 9.พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ภายใต้พระบวรเศวตฉัตร ทรงน้ำอภิเษก 10.พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร 11.พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงหลั่งทักษิโณทก (ทรงตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน) มีพระปฐมบรมราชโองการตอบพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย 12.ภาพตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 (ด้านหน้า) ภาพอักษรข้อความพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 (ด้านหลัง) 13.พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีและสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธยและสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 14.พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประเคนพัดรอง ที่ระลึกการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกและสมเด็จพระราชาคณะในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 15.พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ สีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท เมื่อวันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พุทธศักราช 2562 16.พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออกท้องพระโรงกลาง ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทรงยืนที่พระสุจหนี่หน้าพระที่นั่งพุดตานถม ภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร คณะทูตานุทูตและกงสุลต่างประเทศ เฝ้าฯถวายพระพรชัยมงคล เมื่อวันจันทรที่ 6 พฤษภาคม 2562 17.พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 18.ภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบุษบกเทียบท่าราชวรดิฐในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 และ19.งานแกะสลักไม้ ลงรักปิดทอง“วชิระ” และ 3. ปรากฎเกียรติยศหลักฐาน ราษฎร์สุขสำราญเปรมปรีดิ์ จัดแสดงหนังสือ สูจิบัตร วีดิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ส่วนโซนที่ 3 72 พรรษา มหาวชิราลงกรณ โดยมีการจัดนิทรรศการ ประกอบด้วย 1.ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 2. งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ซึ่งเป็นการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดย “ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค” เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร นอกจากนี้ ยังมีจัดนิทรรศการของกระทรวงวัฒนธรรม เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ซึ่งเกี่ยวกับ โครงการ/กิจกรรม เฉลิมพระเกียรติฯ โดยกระทรวงวัฒนธรรม และหนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสงานเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า 2) จัดแสดงสวนแสงเฉลิมพระเกียรติ “มหาทศมินทรราชา” โดยจัดแสดงตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา ประดับคำว่า“ทรงพระเจริญ”และ“LONG LIVE THE KING”ตกแต่งด้วยดอกรวงผึ้ง ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำรัชกาลที่ 10 และนำเอาสื่อสัญลักษณ์ของสถานที่สำคัญอันเป็นสถานที่มงคล ทั้ง ๔ ภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนำมาจำลองอย่างสร้างสรรค์ ได้แก่ ภาคเหนือ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีมะโรง เป็นปีพระบรมราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ ยังตกแต่งด้วยสื่อสัญลักษณ์ “ดอกกุหลาบ” เพื่อสื่อถึงความอ่อนโยนและความอ่อนหวานของดินแดนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จังหวัดนครพนม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชสักการะ สรงน้ำองค์พระธาตุพนมถวายเป็นพุทธบูชา อีกทั้งยังตกแต่งด้วยด้วยสื่อสัญลักษณ์ “ดอกบัว”สื่อถึงคติสัญลักษณ์แห่งสายใยผูกพันของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ ทรงสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ณ พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) นอกจากนี้ ยังตกแต่งด้วย “ต้นข้าว” เพื่อสื่อถึงอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ และภาคใต้ ศาลหลักเมืองประจำจังหวัดนราธิวาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดศาลหลักเมืองประจำจังหวัดนราธิวาส
นอกจากนี้ ยังตกแต่งด้วย“ดอกบานบุรี ” ซึ่งนิยมปลูกกันในแถบภาคใต้เพื่อสื่อถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาวปักษ์ใต้ และมีจุดถ่ายภาพด้วยระบบ AI สามารถเลือกแต่งกายด้วยชุดอัตลักษณ์แต่ละภาคและฉากหลังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้โดยให้บริการประชาชนฟรีและช่วงเย็นวันที่ 12 กรกฎาคม 2567 ขอเชิญชวนประชาชนชมความงดงาม ตระการของรถริ้วขบวนเฉลิมพระเกียรติฯของกระทรวงวัฒนธรรม หน่วยงานรัฐและเอกชนที่อยู่ในริ้วขบวนเฉลิมพระเกียรติฯในงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ซึ่งเข้ามาจอดรวมกันภายในถนนกลางท้องสนามหลวง
นางสาวสุดาวรรณ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมและการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ แบ่งเป็น 2 เวที คือ เวทีกลาง จัดแสดงวันที่ 11-15 กรกฎาคม 2567 เวลา 18.30-22.00 น. ซึ่งวันที่ 13 กรกฎาคม 2567 การแสดงดนตรี “เทิดไท้องค์ราชัน พระมิ่งขวัญ ปวงชนชาวไทย” การแสดงละครนอก ตอน ถวายลูกแก้วหน้าม้า การแสดง “มหานาฏกรรมรามายณะนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ” โดยไทยร่วมกับ 7 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ วันที่ 14 กรกฎาคม 2567 การแสดงดนตรี “มหาดุริยางค์ 4 เหล่า” เป็นการแสดงร่วมกันของกองทัพบก กองทัพอากาศ กองทัพเรือและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ การแสดงดนตรี “สดับคีตศิลป์ทศชาติชาดก” (10 พระชาติชาดก เฉลิมพระเกียรติ) และการแสดงละครเพลง “เทิดไท้ทศมินทรราชา”
ทั้งนี้ ชาวไทยและชาวต่างชาติ เข้าร่วมชมงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติฯ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆและองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดรถโดยสารเฉพาะกิจให้บริการรับ-ส่งประชาชนเดินทางมาร่วมงานฟรี ระหว่างวันที่ 11-15 กรกฎาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 12.00-22.00 น. จำนวน 5 เส้นทาง ได้แก่ 1.อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ฝั่งเกาะพญาไท)-สนามหลวง 2. สายใต้ใหม่-สนามหลวง 3. หมอชิต-สนามหลวง 2 4.วงเวียนใหญ่-สนามหลวง 5.สนามหลวง – ท่าช้าง – ท่าเตียน (เดินรถวงกลม) โดยมีจุดจอดรับ – ส่ง บริเวณหน้าศาลฎีกา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนวัฒนธรรม 1765