โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต แบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567”

กระทรวงมหาดไทย มอบหมายให้กรมโยธาธิการและผังเมือง ขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ ขับเคลื่อนตามภารกิจ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ของกระทรวงมหาดไทย เพื่อสร้างพื้นที่ต้นแบบที่ช่วยให้ประเทศมั่นคง ประชาชนมีความสุข ด้วยการแก้ไขในสิ่งผิด สืบสานพระราชปณิธาน “สืบสาน รักษา และต่อยอด” ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่ประยุกต์ และอารยเกษตรของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นและความปรารถนาของชาวมหาดไทยในการพัฒนาทำให้ทุกจังหวัดได้มีการพัฒนาพื้นที่เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ มาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ พร้อมด้วยการส่งเสริมการเรียนรู้สู่การประยุกต์ใช้จนเป็นวิถีชีวิตในรูปแบบอารยเกษตร ซึ่งในส่วนของการขับเคลื่อนได้มอบหมายให้กรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ขับเคลื่อนโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยโครงการดำเนินการใน 6 พื้นที่เป้าหมาย (1 พื้นที่เป้าหมาย ต่อ 1 ภาค) คือ นครนายก พะเยา จันทบุรี อุบลราชธานี สตูล และกาญจนบุรี เพื่อเป็นโครงการต้นแบบ และขยายผลไปยังทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยอาศัยทีมจังหวัด บูรณาการความร่วมมือขับเคลื่อนในการพัฒนาพื้นที่ เพื่อประโยชน์ให้กับพี่น้องประชาชนอย่างทั่วถึงและยั่งยืน และยังพัฒนาพื้นที่เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามแนวพระราชดำริ “อารยเกษตร” และสอดคล้องกับงานที่ทางกระทรวงมหาดไทยกำลังดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมวันดินโลก ภายใต้แนวคิด “ดินดี น้ำดี ชีวีมีสุขอย่างยั่งยืน” อีกด้วย

นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ กระทรวงมหาดไทย ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาโดยมอบหมายให้กรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการและออกแบบการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ โดยอาศัยกลไกความร่วมมือของ 7 ภาคีเครือข่าย ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามมิติการพัฒนาทั้ง 5 มิติ ทั้งมิติด้านสุขภาพ มิติด้านความเป็นอยู่ มิติด้านการศึกษา มิติด้านรายได้ และมิติด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ สำหรับโครงการการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบฯ นอกจากจะช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง สร้างแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่แล้ว ยังใช้เป็นพื้นที่ต้นแบบสำหรับการศึกษาเรียนรู้การพัฒนาพื้นที่แบบอารยเกษตร เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งที่ดี Change for Good ในพื้นที่ทุกมิติ สร้างความตระหนักรู้ในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำ ภายใต้แนวคิด “ดินดี น้ำดี ชีวีมีสุข อย่างยั่งยืน : Sustainable Soil and Water for better life” ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย มีนโยบายให้จังหวัดที่เหลือดำเนินการโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ อย่างน้อยจังหวัดละ 1 พื้นที่ เพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ เกิดผลสัมฤทธิ์ในทุกจังหวัด

นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า จังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นแบบของภาคตะวันออก ได้มอบหมายให้นายสุวรรณ เจริญพร โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดจันทบุรี ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารายเกษตรตามแนวพระราชดำริ พื้นที่เป้าหมาย บริเวณพื้นที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์จันทบุรี ตำบลท่าหลวง อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เพื่อน้อมนำแนวทางพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาเรื่องดิน น้ำท่วมและน้ำแล้งในที่ดินสาธารณประโยชน์ทั้งหมดของโครงการฯ รวมเนื้อที่ประมาณ 315 ไร่ โดยความร่วมมือและบูรณาการงบประมาณ เครื่องจักรกล วัสดุอุปกรณ์ ต้นกล้า เมล็ดพันธุ์ รถขุด รถเกลี่ยดิน และรถบรรทุก จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี โครงการชลประทานจังหวัดจันทบุรี แขวงทางหลวงชนบทจังหวัดจันทบุรี องค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน พร้อมด้วยจิตอาสาและภาคีเครือข่าย เมื่อมีการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบฯ ตามที่ออกแบบวางผังไว้ จะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องดินสำหรับเพาะปลูกพืช น้ำท่วม น้ำแล้ง และสร้างแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรมเพิ่มขึ้นประมาณ 260,000 ลูกบาศก์เมตร และจะช่วยให้รองรับมีปริมาณน้ำได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำได้ในระยะยาว ได้แก่ ตำบลท่าหลวง และตำบลวังแซ้ม ราษฎรได้รับประโยชน์ ทั้งสิ้น ประมาณ 1,721 ครัวเรือน ได้แก่ เกษตรกรจำนวน 1,014 ราย และประชาชน และพื้นที่ข้างเคียง โดยมีพื้นที่ทำการเกษตร พื้นที่สาธารณประโยชน์ พื้นที่ชุมชน พื้นที่ป่าชุมชน ได้รับประโยชน์ รวมกว่า 46,258 ไร่