วันที่ 19 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมอู่ทอง ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ในฐานะประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ เป็นประธานในพิธี ร่วมด้วย คุณสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และสภานายกพิเศษแพทยสภา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงสมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นางสมทรง พันธ์เจริญวรกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายวิทวัส ชัยภาคภูมิ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า พลอากาศโท นายแพทย์อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ คณะกรรมการการจัดงานแพทย์อาสาฯ คณะกรรมการมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ คณะนักศึกษาหลักสูตร ปธพ.Executive:ปธพ.X (หลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นพิเศษ 1), ปธพ.1-10, ปนพ.1(หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้นำทางการแพทย์)และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการฯ
สำหรับรายชื่อคลินิกที่ให้บริการทั้ง 30 คลินิก ประกอบด้วย คลินิกคัดกรองโรคปอด X-ray คลินิกคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ (F IT Test) คลินิกส่องกล้องลำไส้ใหญ่ คลินิกคัดกรองมะเร็งตับ โดยอัลตราชาวด์ คลินิกคัดกรองและประเมินไวรัสตับอักเสบบีและซี และภาวะไขมันในตับ คลินิกคัดกรองมะเร็งปากมดลูก HPV คลินิกคัดกรองมะเร็งเต้านม คลินิกผ่าตัดต้อกระจก คลินิกผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า คลินิกตรวจหัวใจด้วย Echocardiogram คลินิกตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) คลินิกตรวจการทำงานปอด (PFT) และภูมิแพ้ คลินิกจักษุ คลินิกหู คอ จมูก และตรวจการได้ยิน คลินิตรวจโรคผิวหนัง คลินิกแขนขาเทียม คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู คลินิกกระดูกและข้อ คลินิกทันตกรรม คลินิกตรวจสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ คลินิกฝังเข็ม คลินิกวัคซีนไข้หวัดใหญ่ คลินิกรถเข็นพระราชทาน คลินิกอบรมการฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน(CPR/AED) คลินิกให้ความรู้การเงิน คลินิกกฎหมาย คลินิกส่งเสริมให้ความรู้สุขภาพ ผู้สูงวัย คลินิกส่งเสริมให้ความรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้า และคลินิกสมาธิ
เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากโครงการนี้จะช่วยแก้ปัญหาสุขภาพให้ประชาชนแล้ว ยังเป็นการแสดงพลังจิตอาสาและความจงรักภักดี ของแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ทั้งประเทศและประชาชน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกทั้งยังจะช่วยลดปัญหาการเข้าถึงการรักษาในระดับทุติยภูมิและตติยภูมิในพื้นที่ใกล้เคียงจุดออกหน่วย และเพื่อสร้างระบบโรงพยาบาลสนาม จากหลายภาคส่วนรัฐ ร่วมกับเอกชน เพื่อรองรับหากเกิดภัยพิบัติในอนาคตได้อีกด้วย