วันที่ 5 เมษายน 2567 เวลา 14.00 น. นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ลงพื้นที่ติดตามการปฏิบัติการฝนหลวงพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ณ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.สงขลา ภายในสนามบินกองบิน 56 อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา พร้อมเปิดเผยว่า จากข้อมูลการขอรับบริการฝนหลวงของพี่น้องเกษตรกรและพี่น้องประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง มีพื้นที่ที่ขอฝนหลวง จำนวน 8 จังหวัด 33 อำเภอ ประกอบด้วย จ.นครศรีธรรมราช (เมืองนครศรีธรรมราช พรหมคีรี ลานสกา ฉวาง พิปูน เชียรใหญ่ ชะอวด ท่าศาลา ทุ่งสง นาบอน ทุ่งใหญ่ ปากพนัง ร่อนพิบูลย์ สิชล ขนอม หัวไทร บางขัน ถ้ำพรรณรา จุฬาภรณ์ พระพรหม นบพิตำ ช้างกลาง เฉลิมพระเกียรติ หัวไทร) จ.พัทลุง (ตะโหมด เขาชัยสน) จ.กระบี่ (เมืองกระบี่ เขาพนม อ่าวลึก ลำทับ) จ.พังงา (เมือง กะปง ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า ท้ายเหมือง คุระบุรี ทับปุด เกาะยาว) จ.ตรัง (ย่านตาขาว วังวิเศษ ห้วยยอด ปะเหลียน สิเกา นาโยง กันตัง เมือง) จ.ภูเก็ต (ถลาง) จ.สงขลา (คลองหอยโข่ง จะนะ นาทวี นาหม่อม รัตภูมิ หาดใหญ่ สะเดา สิงหนคร สทิงพระ) และ จ.สตูล (ควนกาหลง ท่าแพ) เนื่องจากพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างฝนไม่ตกเป็นเวลาประมาณ 1-2 เดือน พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ปลูกปาล์มน้ำมัน ยางพารา ข้าว มะพร้าว รวมถึงไม้ผล ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ได้รับความเสียหาย ขาดแคลนน้ำสำหรับการเพาะปลูก จึงได้สั่งให้จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.สงขลา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา เพื่อปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่ดังกล่าวให้มีปริมาณน้ำเพียงพอ
นายสุพิศ กล่าวเพิ่มเติมว่า การปฏิบัติการฝนหลวงของหน่วยฯ จ.สงขลา ใช้เครื่องบินขนาดเล็ก CARAVAN จำนวน 2 ลำ และเครื่องบิน BT-67 จากกองทัพอากาศ จำนวน 1 ลำ โดยได้มีการปฏิบัติการฝนหลวงไปแล้วรวม 15 วัน (วันที่ 12 มีนาคม – 4 เมษายน 2567) จำนวน 55 เที่ยวบิน มีฝนตก 12 วัน ในพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 6 จังหวัด ประกอบด้วย จ.นครศรีธรรมราช (ชะอวด เฉลิมพระเกียรติ ช้างกลาง ฉวาง เชียรใหญ่ จุฬาภรณ์ หัวไทร ลานสกา เมืองนครศรีธรรมราช นาบอน นบพิตำ พิปูน พรหมคีรี ร่อนพิบูลย์ ถ้ำพรรณรา ทุ่งสง ทุ่งใหญ่) จ.พัทลุง (บางแก้ว เขาชัยสน ควนขนุน กงหรา เมืองพัทลุง ป่าบอน ป่าพะยอม ปากพะยูน ศรีบรรพต ศรีนครินทร์ ตะโหมด) จ.กระบี่ (เขาพนม คลองท่อม ลำทับ เหนือคลอง) จ.ตรัง (หาดสำราญ ห้วยยอด กันตัง เมืองตรัง นาโยง ปะเหลียน รัษฎา สิเกา วังวิเศษ ย่านตาขาว) จ.สงขลา (บางกล่ำ จะนะ หาดใหญ่ คลองหอยโข่ง ควนเนียง กระแสสินธุ์ เมืองสงขลา นาหม่อม นาทวี ระโนด รัตภูมิ สะบ้าย้อย สะเดา สทิงพระ สิงหนคร เทพา) และ จ.สตูล (ควนโดน ควนกาหลง เมืองสตูล ท่าแพ)
นอกจากนี้ อธิบดีกรมฝนหลวงฯ และนักวิชาการ ได้ลงพื้นที่การเกษตรใน จ.สงขลา โดยได้มีการติดตามผลปฏิบัติการฝนหลวงและความต้องการน้ำ ซึ่งพี่น้องเกษตรกรยังขอรับบริการฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง จึงได้กำชับให้หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.สงขลา ติดตามสภาพอากาศและวางแผนปฏิบัติการฝนหลวงทุกวันเพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับทำการเกษตรในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ทั้งนี้ พี่น้องเกษตรกรและพี่น้องประชาชนสามารถขอรับบริการฝนหลวงได้ทุกวัน ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยติดต่อไปที่เบอร์โทรศัพท์ 02-109-5100 ต่อ 410, ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง 7 ภูมิภาค, อาสาสมัครฝนหลวงในพื้นที่, เว็บไซต์ขอรับบริการฝนหลวง https://it.royalrain.go.th/rainmaking/ หรือช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ : @drraa_pr