พอช. จัดเวทีพี่ช่วยน้อง ร่วมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ผนึกกำลังรัฐ-เอกชนหนุนขบวนองค์กรชุมชนเมืองภูเก็ตเข้มแข็ง

ภูเก็ต : วันที่ 18 ธันวาคม 2566 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ร่วมกับเครือข่ายองค์กรชุมชนเมืองภูเก็ต เปิดเวทีผนึกกำลังความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน พี่ช่วยน้อง ร่วมสร้างชุมชนเข้มแข็ง บริษัทได้ ชุมชนได้” เพื่อประชุมเสริมสร้างความเข้าใจในมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม และกิจกรรมการจับคู่ภาคธุรกิจกับชุมชน (CSR Matching) ได้รับเกียรติจากผู้ว่าราชการจังหวัดให้การต้อนรับ และมีหน่วยงานในจังหวัดภูเก็ต นำเสนอโครงการ ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมของ BOI เพื่อรับการสนับสนุนจากภาคเอกชน  ณ ห้องประชุมบริษัทภูเก็ต พัฒนาเมือง จำกัด มีผู้เข้าร่วมกว่า 60 คน

นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ให้การต้อนรับ และเปิดการประชุม ระบุว่า วันนี้รู้สึกยินดี และดีใจที่เห็นกิจกรรมการจับคู่ภาคธุรกิจกับชุมชน (CSR Matching) และดีใจที่ให้จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดนำร่อง และอยากให้หน่วยงานทุกส่วนทั้ง พม.  พอช.  โดยมี BOI เป็นหน่วยงานสนับสนุนทุน และเป็นหน่วยเชื่อมโยงให้  หน่วยงานภาคเอกชนในจังหวัดภูเก็ตได้ร่วมกันขับเคลื่อนในทุกมิติตั้งแต่การพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะชุมชนชาวเลที่ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ การพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้กลับถิ่น การส่งเสริมหน้าที่พลเมืองให้มึความรู้คู่คุณธรรม รวมทั้งการรองรับสังคมสูงวัย โดยมีการจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เป็นต้น

“พอช.เป็นเหมือนต้นน้ำ มาดูแลเรื่องครอบครัว ผสาน พม. และหน่วยงานท้องถิ่น คิดว่าหน่วยงานที่มาร่วมกัน เป็นสิ่งที่พวกเราต้องช่วยกัน อยากให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ จังหวัดภูเก็ตภาคเอกชนแข็งแรงมาก หากเป็นไปได้อยากให้ชวนภาคเอกชนมาร่วมให้ได้มากขึ้น”

นายกฤษดา  สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดย พอช. มีภารกิจสำคัญในการส่งเสริมองค์กรชุมชนให้มีความเข้มแข็งในการพัฒนาชุมชน ผ่านประเด็นสำคัญหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยทั้งในเมืองและชนบท การส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนจากฐานราก มีกลไกและเปิดพื้นที่กลางสะท้อนปัญหาของประชาชนและเติมเต็มความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ภายใต้สภาองค์กรชุมชนตำบล มีการส่งเสริมการจัดสวัสดิการชุมชนสร้างระบบการดูแลซึ่งกันและกัน การพัฒนาอาชีพ การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเด็กเล็ก เป็นต้น

“จังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งมีความเข้มแข็งของขบวนองค์กรชุมชนในการหนุนเสริมการเข้มแข็งผ่านมิติต่างๆ นโยบายและการส่งเสริมงบประมาณจากรัฐบาลอุดหนุนผ่าน พอช. มาส่งเสริมความเข้มแข็งในพื้นที่นั้นมีจำนวนหนึ่ง หากเทียบกับความต้องการในการพัฒนา ตลอดจนการแก้ปัญหา กับสถานการณ์ในพื้นที่นั้น ไม่สามารถดำเนินการได้ทัน จึงเล็งเห็นศักยภาพของภาคธุรกิจที่จะมาหนุนเสริมขบวนองค์กรชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตดีขึ้นในทุกด้าน จ.ภูเก็ต จึงเป็นพื้นที่ที่ได้มีการหารือ เล็งเห็นว่าควรเป็นพื้นที่นำร่องในการขับเคลื่อนแมทชิ่งกันกับหลายภาคส่วน และขยายผลไปที่ จ.เชียงใหม่ จ.ตราด และจ.ชัยนาท ต่อไป เพราะเราเชื่อว่าการพัฒนาที่ชุมชนเป็นฐาน สร้างพลังในการยึดโยงหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น ท้องที่ ให้เกิดฐานรากเข้มแข็งประเทศและสังคมนั้นไปรอด”

ด้าน นางสาวพัชรดา  นวกถวงษ์การ ผู้อำนวยการกองพัฒนาผู้ประกอบการไทย สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้บรรยาย แนวคิดการดําเนินธุรกิจแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน (Inclusive Business) และมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมว่า BIO มีบทบาทในการกำหนดนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุน พัฒนาปัจจัยสนับสนุนการลงทุน บริการและอำนวยความสะดวก งานการตลาด และ ส่งกสรเมการลงทุน สิทธิประโยชน์ต่างๆ ซึ่งบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมการลงทุน จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลุงทุน พ.ศ. 2520 (แก้ไข พ.ศ.2560) ในเรื่องของการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ยกเวันอากรเข้าสำหรับเครื่องจักร วัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก การยกเว้นอากรขาเข้าของที่นำเข้ามาเพื่อการวิจัยและพัฒนา ตลดจนสิทธิและประโยชน์ในเขตส่งเสริมการลงทุน เช่น ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 อีกไม่เกิด 5 ปี หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าน้ำประปา 2 เท่า หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 รวมถึงสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษี เป็นต้น

“สำหรับมาตรการสนับสนุนให้บริษัทเอกชนดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดการมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม โดยร่วมมือกับสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม อปท. หรือหน่วยงานรัฐในท้องถิ่น เพื่อช่วยพัฒนาชุมชนและสังคมให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยสามารถสนับสนุนท้องถิ่นโดยตรง หรือสนับสนุนผ่านสถาบันการศึกษา หรือ สถาบันวิจัยของรัฐ เพื่อดำเนินการด้านต่างๆ เช่น พัฒนาภาคเกษตรและระบบน้ำ พัฒนาต่อยอดรูปแบบผลิตภัณฑ์หันถกรรมท้องถิ่น สนับสนุนโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตรหรือผลผลิตทางการเกษตรของชุมชน พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน พัฒนาด้านการศึกษา สาธารณสุข การยกระดับด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชน ซึ่งในการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมนั้นเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษา ฯลฯ ชุมชนและสังคมได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด บริษัทได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร เพื่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ ทำให้สังคมน่าอยู่ขึ้น”

นางวารุณี สกุลรัตนธารา ผู้แทนขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดภูเก็ต นำเสนอแนวทางการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตเกาะสวรรค ว่า จังหวัดภูเก็ต เริ่มรวมตัวกันเป็นเครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดภูเก็ต  ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 มีวิสัยทัศน์ ปี 2571 ภูเก็ตเมืองคนสุขภาพดี มีการศึกษา พัฒนาบนอัตลักษณ์วิถีมีความปลอดภัยในสังคมเกื้อกูล ยุทธศาสตร์หลักคือ กรชุมชนเป็นแกนหลักในการพัฒนา ประสานภาคีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ธุรกิจหนุนเสริม ภูเก็ตเกาะสวรรค์ มีทธศาสตร์ พัฒนาความเข้มแข็งองค์กรสร้างโอกาสความเสมอภาคทางสังคม การเสริมสร้างสุขภาวะทุกมิติ ระบบขนส่งมวลชนที่ทุกคนเข้าถึงได้ ประชาธิปไตยแบบเกื้อกูล เทคโนโลยีและนวัตกรรม ภูเก็ตสังคมสุจริต และธรรมาภิบาลองค์กรชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม ความมั่นคงในชีวิต าสนา วิถีพอเพียง มีพันธกิจในการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพองค์กรชุมชนและภาคประชาสังคมสู่ความเป็นพลเมือง ยกระดับประเด็นงานพัฒนา ปัญหา และความต้องการของประชาชนสู่นโยบายสาธารณะของท้องถิ่น ผลักดันแผนพัฒนาของภาคประชาชนสู่ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาจังหวัด เชื่อมโยงและประสานพลังภาคีพัฒนาทุกภาคส่วนสนับสนุนการพัฒนาบนพื้นฐานความต้องการชุมชนท้องถิ่น ส่งเสริมและยกระดับชุดความรู้ชุมชนขยายผลสู่งานพัฒนาด้านต่างๆ ส่งเสริมและสนับสนุนการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตทุกมิติ (สุขภาพ การศึกษา สังคม และ ประเพณีวัฒนธรรม)

“จังหวัดภูเก็ต 3 อำเภอ 18 ตำบล/เทศบาล “มีแผนพัฒนาภูเก็ตเกาะสวรรค์ (พ.ศ.2567-2571) ประกอบด้วย 1. การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 2. ความมั่นคงในชีวิตและการดำเนินชีวิตตามวิถีคนภูเก็ต ยึดหลักธรรมศาสนา และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. การเสริมสร้างสุขภาวะคนภูเก็ต ครอบคลุมทุกมิติ (สังคม วัฒนธรรมประเพณี เศรษฐกิจ สุขภาพ การศึกษา) รวมทั้งการเข้าถึงสิทธิของผู้บริโภค 4. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม 5. การส่งเสริม “ภูเก็ตสังคมสุจริต และธรรมาภิบาลองค์กรชุมชน” 6. การส่งเสริมองค์กรชุมชนให้เข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในการขับเคลื่อนในพื้นที่มีการเชื่อมโยงหนุนเสริมการทำงานและบูรณาการงบประมาณกับเครือข่ายภาคีในพื้นที่ทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องที่ ท้องถิ่น มีทิศทางการขับเคลื่อนงานพัฒนาภูเก็ตเกาะสวรรค์ ปี 2567 ในเรื่องของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก นักบริบาลชุมชน ปลูกผักปลอดภัย สิ่งแวดล้อม ระบบขนส่งสาธารณะ”

ในการนี้ในเวที มีการนำเสนอโครงการเพื่อรับการสนับสนุนจากภาคเอกชน ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมของ BOI จํานวน 6 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการก่อสร้างอาคารเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลนครภูเก็ต 3 (วัดเจริญสมณกิจ) โดยนางสาวภาราดา จันดี นักวิชาการศึกษาชํานาญการ (2) โครงการปรับปรุงซ่อมแซมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กศรีสุนทร โดย นายเฉลิมพล เกิดทรัพย์ นายกเทศมนตรีตําบลศรีสุนทร (3) โครงการส่งเสริมการสร้างนักบริบาลผสมผสานเทคโนโลยีใหม่ โดยนางสาวทิพวรรณ ระพือพล ผู้แทนโรงพยาบาลถลาง (4) โครงการยกระดับศักยภาพชุมชนเพื่อบริหารจัดการขยะสู่เมืองภูเก็ตขยะ เป็นศูนย์ ( Phuket Zero Waste ) โดย นายเจริญ ถิ่นเกาะแก้ว เลขานุการมูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมภูเก็ต (5) โครงการป่าชุมชน

โดยโครงการที่นำเสนอวันนี้ให้ทำรายละเอียดตามข้อคิดเห็นและของเสนอขอฝผู้แทนภาคเอกชน และบีโอไอ และหน่วยงานในจังหวัดภูเก็ต เสนอผ่าน พอช. ภายในเดือนมกราคม 2567 เพื่อนำมาพิจารณาในกระบวนการต่อไป