METI มอบทุนให้ กฟผ. และบริษัทชั้นนำญี่ปุ่น CYD – MOL – MCT เดินหน้า ‘ศึกษาและพัฒนาการผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจนและแอมโมเนียสะอาดฯ บนพื้นที่ศักยภาพ กฟผ.’ เพิ่มเสถียรภาพผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ร่วมขับเคลื่อนและยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน ลด CO2 ขับเคลื่อนสู่พลังงานสีเขียวเต็มรูปแบบ
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 นายนะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนั
นายนะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กล่าวว่า รัฐบาลญี่ปุ่นมองว่าตลาดไฮโดรเจนเป็นทั้งตลาดอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้และสร้างงานของโลก รวมถึงยังเป็นกุญแจสำคัญสู่การบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality ภายในปี 2050 ความร่วมมือนี้จึงสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของทั้งรัฐบาลญี่ปุ่นและไทยที่ต้องการเปลี่ยนแปลงไปสู่พลังงานสะอาด โดยตั้งเป้าหมายการลงทุนไว้กว่า 150 ล้านล้านเยนสำหรับการวิจัยและสำรวจศักยภาพเชิงพาณิชย์ของพลังงานไฮโดรเจน ด้วยความร่วมมือของทั้งสองประเทศจะเป็นตัวเร่งและเตรียมพร้อมในการสร้างห่วงโซ่คุณค่าไฮโดรเจนทั้งในภูมิภาคอาเซียนและระดับโลกต่อไปในทศวรรษหน้า
ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน ระบุว่า ประเทศไทยในฐานะสมาชิกของประชาคมโลกและเอเชียมีความมุ่งมั่นเดินหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งไทยโดยกระทรวงพลังงานพร้อมเดินหน้าส่งเสริมลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคพลังงานทุกวิถีทาง การศึกษาความเป็นไปได้ของห่วงโซ่คุณค่าไฮโดรเจนสะอาดของ กฟผ. ด้วยการสนับสนุนจาก METI ที่คาดว่าแล้วเสร็จภายในปี 2567 จะมีส่วนช่วยผลักดันแผนการพัฒนาไฮโดรเจน ซึ่งนอกจากจะทำให้เป้าหมายลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สำเร็จแล้ว ยังช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเกิดความยืดหยุ่นด้านพลังงานเป็นผลประโยชน์ร่วมกันในระยะยาว
ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการธุรกิจเกี่ยวเนื่อง รักษาการผู้ว่าการ กฟผ. เปิดเผยว่า กฟผ. ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยและเป็นแนวหน้าในการพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนของประเทศมาโดยตลอด ได้นำไฮโดรเจนเชื้อเพลิงพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยเร่งการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจนและแอมโมเนียสะอาด เปิดมิติใหม่ในการยกระดับมาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน เพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานสะอาด ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมาย EGAT Carbon Neutrality โดยทุนสนับสนุนนี้จะช่วยพัฒนาต่อยอดโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานบนพื้นที่ศักยภาพที่พร้อมรองรับการพัฒนาของ กฟผ. ด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยีของญี่ปุ่น เพื่อร่วมสร้างความแข็งแกร่งด้านพลังงานที่ยั่งยืนซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ