ผู้ตรวจราชการกรม ประชุมตรวจติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามแผนงาน ภารกิจตามนโยบายยุทธศาสตร์ของ ส.ป.ก. ประจำปีงบประมาณ 2562 รอบที่ 2 และให้แนวทางการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ และลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล จังหวัดอุทัยธานี
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2562 เวลา 09.30 น. นางสาววรรณพร ดอกจำปา ผู้ตรวจราชการกรม เป็นประธานการประชุมตรวจติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุทัยธานี(นโยบายรัฐบาล/กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม) โดยมี นายชลิต พงศ์ปลื้มปิติชัย นิติกรชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุทัยธานี นางศิริพร อภิเดช นักวิชาการปฏิรูปที่ดินชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และการปฏิรูปที่ดิน นางสาวเพ็ญวิภา เรืองนิคม นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มการเงินบัญชีและจัดเก็บผลประโยชน์ นางสาวพรพรรณ ภูวนธรรม นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มตรวจและประสานราชการ นายอดุลย์ อินทเขตการ นายช่างสำรวจอาวุโส ผู้อำนวยการกลุ่มงานช่างและแผนที่ นางนารีรัตน์ วิชนี นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป ร่วมประชุมและรายงานผลการดำเนินการ แนวทางการพัฒนางานตามภารกิจ และปัญหาอุปสรรคต่างๆ ณ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุทัยธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
ภายหลังการประชุมผู้ตรวจราชการกรมและคณะ ได้ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และให้แนวทางการปฏิบัติงาน จากนั้นได้ลงพื้นที่และตรวจเยี่ยมเกษตรกร ในโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล จังหวัดอุทัยธานี ภายใต้คณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัดอุทัยธานี(คทช.จังหวัดอุทัยธานี) คือ
– แปลงเกษตรกรรม ชุมชน 1 มีนายสมเดช เรียนพิศ เป็นผู้จัดการศูนย์การเรียนรู้ฯ ณ หมู่ 4 ตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
– แปลงเกษตรกรรม ชุมชน 7 มีนายอุดม ชาลีนิวัฒน์ เป็นเกษตรกรต้นแบบ ณ หมู่ 7 ตำบลลานสัก อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
– แปลงเกษตรกรรมชุมชน 6 นายประวิทย์ พิรมรัก และนางสาวสมพร พ่วงลำไย ณ บ้านอริโยทัย หมู่ 8 (เขาปีกไก่ดำ) ตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
ทั้งนี้ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุทัยธานี ได้ออกแบบวางผังพื้นที่โครงการ เป็น 8 ชุมชน ( 8 ช.) รองรับการจัดเกษตรกร รวม 486 รายโดยจัดให้ราษฎรผู้มีสิทธิได้รับการจัดที่ดินในโครงการ จำนวน 3 กลุ่ม (1. เกษตรกรผู้ไม่มีเอกสารสิทธิทำกินในพื้นที่วนอุทยานห้วยคต จำนวน 108 ราย 2.เกษตรกรผู้ไม่มีเอกสารสิทธิทำกินในพื้นที่ทุ่งแฝก จำนวน 18 ราย 3.เกษตรกรผู้ยากไร้ไม่มีที่ดินทำกินและหรือไม่มีที่อยู่อาศัย จำนวน 317 ราย ดำเนินการออกแบบวางผังพื้นที่ ดังนี้
1.แปลงที่อยู่อาศัย จำนวน 486 แปลงๆละ 1 งาน 50 ตารางวา รวมเนื้อที่ประมาณ 183 ไร่ 92 ตารางวา
2.แปลงเกษตรกรรม จำนวน 486 แปลงๆละ 4 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา รวมเนื้อที่ประมาณ 2,189 ไร่ 3 งาน 92 ตารางวา มีการจัดแปลงเกษตรกรรมและแปลงที่อยู่อาศัย 8 ชุมชน คือ
-ชุมชน 1 (ช.1) จำนวน 88 แปลง และพบว่ามีมีแปลงที่ดินที่ไม่เหมาะสมแก่การจัดให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์ จำนวน 11 แปลง
-ชุมชน 2 (ช.2) จำนวน 22 แปลง
-ชุมชน 3 (ช.3) จำนวน 48 แปลง
-ชุมชน 4 (ช.4) จำนวน 130 แปลง
-ชุมชน 5 (ช.5) จำนวน 42 แปลง
-ชุมชน 6 (ช.6) จำนวน 72 แปลง
-ชุมชน 7 (ช.7) จำนวน 63 แปลง
-ชุมชน 8 (ช.8) จำนวน 21 แปลง
ปัจจุบัน เกษตรกรที่ได้รับการจัดที่ดิน ได้รวมตัวจัดตั้งสหกรณ์ปฏิรูปที่ดินระบำ จำกัด และได้ขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินสำหรับสถาบันเกษตรกรจากส.ป.ก.(เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2558) เนื้อที่ 2,423 ไร่ 84 ตารางวา เพื่อบริหารจัดการที่ดินในรูปแบบสหกรณ์ โดยให้สมาชิกสหกรณ์เช่าพื้นที่รายแปลง และขอยกเว้นค่าเช่า เป็นระยะเวลา 3 ปีๆละ 298,385.93 บาท และ ส.ป.ก.อุทัยธานี ได้ดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค โดยปรับพื้นที่(ขุดตอต้นยูคาลิปตัส) และรังวัดแบ่งแปลง เนื้อที่ 2,668 ไร่ก่อสร้างถนนสายหล้ก 5 สาย ก่อสร้างภนนแปลงเกษตรกรรมและชุมชน 8 ชุมชน ก่อสร้างระบบประปาบาดาลและหอถังสูง 7 ชุมชน ขยายเขตไฟฟ้าระบบประปาบาดาล 7 ชุมชน มีอาคารเอนกประสงค์ 2 แห่ง อาคารเรียนรู้ 2 อาคารห้องน้ำสาธารณะ 2 แห่ง ขุดสระน้ำ(ส.ป.ก.ร่วมกับกรมพัฒนาที่ดิน) 14 แหง ขยายเขตไฟฟ้าเข้าชุมชน 8 ชุมชน (ขณะนี้มีชุมชน 2 และ ชุมชน 5 ยังไม่ได้ดำเนินการ) ก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน 5 ชุมชน ปรับปรุงซ่อมแซมโรงสูบน้ำพร้อมอุปกรณ์ 1 ชุมชน ก่อสร้างระบบกระจายน้ำและสูบน้ำส่งน้ำเข้าแปลงเกษตรกรรม 8 ชุมชน ก่อสร้างระบบสูบน้ำและแผงพลังงานโซล่าเซล 1 ชุมชนก่อสร้างสำนักงานสหกรณ์/ขยายเขตไฟฟ้าเข้าสำนักงาน/เครื่องมือดำเนินกิจการ 1 แห่ง ขุดสระเก็บน้ำและพัฒนาระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และส่งเสริมพัฒนาอาชีพ (ผลสัมฤทธิ์ของการส่งเสริมพัฒนาอาชีพในพื้นที่คทช.ยังไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากเกษตรกรมีฐานะยากจนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรับจ้าง ขาดความรู้ความชำนาญและความพร้อมในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม) เป็นต้น