ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจําลองกรุงเทพ) ร่วมกับ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย จัดนิทรรศการวิทยาศาสตร์ ในหัวข้อ “Universum. Mensch. Intelligenz – UMI” หรือ “Universe Human Intelligence (นิทรรศการ “จักรวาล มนุษย์และสติปัญญา”) จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยมี Ms. Likki-Lee Pitzen เลขานุการเอก ฝ่ายสื่อมวลชนและวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มาเป็นประธานเปิดนิทรรศการ และ Mr. Sascha Fabri รักษาการแทนผู้อํานวยการ และหัวหน้าแผนกภาษา สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย ร่วมกล่าวถึงการจัดนิทรรศการดังกล่าว
โอกาสนี้ นางรุ่งอรุณ ไสยโสภณ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมมาตรฐานการศึกษา ผู้แทนรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน และนายโยฑิน สมโนนนท์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) ให้การต้อนรับพร้อมนำชมนิทรรศการฯ ณ ห้องมหกรรม อาคารพิพิธภัณฑ์ 2 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ)
ทั้งนี้ การจัดนิทรรศการวิทยาศาสตร์ ในหัวข้อ “Universum. Mensch. Intelligenz – UMI” หรือ “Universe Human Intelligence หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า นิทรรศการ “จักรวาล มนุษย์และสติปัญญา” จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นนิทรรศการสัญจรที่นําเสนอผลงานวิจัยอันทันสมัย ในรูปแบบงาน นิทรรศการที่เข้าใจง่าย โดยสมาคมมักซ์พลังก์ (Max-Planck Society) ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันวิจัยด้าน วิทยาศาสตร์ทีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศเยอรมนี โดยใจความหลักของนิทรรศการ คือ การค้นหาคําตอบว่า มนุษย์เรามาจากไหน อนาคตของมวลมนุษยชาติจะเป็นไปอย่างไร และสติปัญญาจะช่วยมวลมนุษย์ได้อย่างไร โดยนิทรรศการ ดังกล่าว จัดแสดงเป็นภาษาเยอรมันพร้อมกับคําแปลภาษาไทย และนอกจากนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่ นําชมและอธิบาย เป็นภาษาไทย โดยกำหนดจัดแสดง ณ อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อาคาร 2 ) ชั้น 3 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจําลองกรุงเทพ) ตั้งแต่บัดนี้ – 30 พฤศจิกายน 2566
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ โดย ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจําลองกรุงเทพ) ขอเชิญชวนผูู้ที่สนใจจะศึกษาเรื่องราวของนิทรรศการ รวมถึงสนใจในภาษาและวัฒนธรรมของเยอรมัน สามารถร่วมศึกษา และ ค้นคว้าหาคำตอบจากนิทรรศการได้ที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจําลองกรุงเทพ) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2391-0544 หรือ https://sciplanet.org/