กรมโยธาธิการและผังเมือง เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ บริเวณคลองแขวงกลั่น-คลองหลวงพินิจ ตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ บริเวณคลองแขวงกลั่น-คลองหลวงพินิจ ตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยผังภูมิสังคมเพื่อการบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน(Geo-social Map)

วันที่ 21กันยายน 2566 เวลา 10.00 น. กรมโยธาธิการและผังเมืองร่วมกับจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้จัดโครงการขุดลอกคลอง กำจัดวัชพืช เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ บริเวณคลองแขวงกลั่น-คลองหลวงพินิจ ตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ภายใต้แผนงานการพัฒนา ตามผังภูมิสังคมเพื่อการบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (Geo – social Map) นำโดย นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นประธาน นายสุนทร โภคา นายอำเภอบ้านโพธิ์ นางสาวสุภัทรา ชัยเทวารัณย์ ผู้ตรวจราชการกรมโยธาธิการและผังเมือง นายวินัย ภูมิพิทักษ์กุล โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา หัวหน้าส่วนราชการ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเทพราช ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จิตอาสา ผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่าย ร่วมโครงการฯ เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องประชาชน เกิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ ผู้นำชุมชน องค์กรภาคเอกชน ส่วนราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งที่ดี Change for Good ในพื้นที่

นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า กรมฯ ได้จัดทำผังภูมิสังคมเพื่อการบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (Geo – Social Map) ซึ่งเป็นการน้อมนำศาสตร์พระราชา มาปรับใช้ในการขับเคลื่อนการจัดทำผังภูมิสังคมฯ ทั่วประเทศ 76 จังหวัด เพื่อให้แต่ละหน่วยงานนำข้อมูลไปใช้ในการกำหนดโครงการและกิจกรรม เพื่อให้เกิดการพัฒนาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งให้กับประชาชน พัฒนาเครือข่ายการทำงานแบบบูรณาการของผู้แทนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับผู้นำชุมชน ประชาชน และภาคีเครือข่ายผังภูมิสังคมเป็นผังที่แสดงสภาพความเป็นจริงของพื้นที่ในเชิงกายภาพและสังคมวิทยา จัดทำขึ้นด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ การพัฒนาโดยยึดหลักภูมิสังคมนี้ คือหลักสำคัญยิ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นกระบวนการที่หน่วยงานภาครัฐเข้าไปแนะนำ อธิบายให้คนในพื้นที่เข้าใจสภาพความเป็นจริงในพื้นที่ ให้คนในพื้นที่ช่วยกันคิดว่าต้องการอะไรจริงๆ และเขียนบันทึกลงในผังภูมิสังคม เพื่อเป็นข้อมูลให้หน่วยงานภาครัฐนำไปใช้วางแผนงานโครงการและกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยอาศัยกลไกความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชนในลักษณะภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนา และเกิดการรักษาให้ยั่งยืน เนี่องจากเป็นโครงการและกิจกรรมที่ตนมีส่วนร่วม และได้ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม

นายสุนทร โภคา นายอำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้กล่าวถึงการจัดทำผังภูมิสังคมเพื่อการบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (Geo-social Map) จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอบ้านโพธิ์ เป็น ๑ ใน ๑๑ อำเภอของจังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอบ้านโพธิ์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น17 ตำบล 73 หมู่บ้าน ได้นำแผนงานโครงการจากการประชุมคณะทำงานจัดทำผังภูมิสังคมฯ ของอำเภอบ้านโพธิ์ไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ประชาชนในพื้นที่ และ7 ภาคีเครือข่าย โดยไม่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ในการนี้ภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ให้การสนับสนุนเครื่องจักรกลในการดำเนินงานด้วย ดำเนินโครงการตามผังภูมิสังคมฯเพื่อการบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (Geo – social Map) ซึ่งจะเป็นโครงการนำร่อง พร้อมกับเป็นต้นแบบและตัวอย่างที่ดีให้แก่พื้นที่อื่นๆ ที่จะนำไปพัฒนาพื้นที่ของตนเอง

นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ร่วมกิจกรรม “โครงการขุดลอกคลอง กำจัดวัชพืช เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ บริเวณคลองแขวงกลั่น-คลองหลวงพินิจ” ขับเคลื่อนการพัฒนาตามผังภูมิสังคมเพื่อการบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (Geo – social Map) เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกมิติให้กับประชาชน ในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมจัดทำขึ้นด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ โดยอาศัยกลไกความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชนในลักษณะภาคีเครือข่ายความร่วมมือการพัฒนา ซึ่งจะช่วยนำไปสู่เป้าหมายการปฏิบัติภารกิจเพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับพี่น้องประชาชนการดำเนินกิจกรรมโครงการในครั้งนี้โดยการอาศัยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาคราชการ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาจริงในพื้นที่อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา การพัฒนาตามผังภูมิสังคมฯ ในระดับอำเภอบ้านโพธิ์ จะส่งผลกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมที่มีความต่อเนื่องจากหน่วยงาน และองค์กรในระดับพื้นที่ตำบลและอำเภอในการพัฒนาพื้นที่โครงการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามผังภูมิสังคมอย่างมีระบบเกิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ ผู้นำชุมชน องค์กรภาคเอกชน ส่วนราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค