วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 13.30 น. นางทัศนีย์ เปาอินทร์ อธิบดีกรมบังคับคดี ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ พันตำรวจเอกหญิง ดร.กัญญ์ฐิตา ศรีภา และคณะผู้วิจัย บริษัท พีเอเอส คอนซัลแทนท์ แอนด์ รีเซิร์ช จำกัด แถลงผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการที่มีต่อกระบวนการบังคับคดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยผลจากการสำรวจพบว่า ค่าเฉลี่ย 9.20 คะแนน เชื่อมั่นต่อกระบวนการบังคับคดีในภาพรวม ซึ่งสูงกว่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่มีค่าเฉลี่ย 9.11 คะแนน
นางทัศนีย์ เปาอินทร์ อธิบดีกรมบังคับคดี แถลงว่า กรมบังคับคดีมีภารกิจด้านการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การชำระบัญชี การวางทรัพย์และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดีภายหลังคำพิพากษาเป็นกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง โดยดำเนินการตามขั้นตอนและตามกฎหมายให้ความเป็นธรรม โปร่งใส และอำนวยความสะดวกแก่คู่ความทุกฝ่ายในคดี รวมถึงประชาชนผู้รับบริการตามแผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) ของกรมบังคับคดี และกำหนดยุทธศาสตร์ การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยมีเป้าหมาย เพื่อการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวมตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส พร้อมปรับตัว ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ และกระบวนการยุติธรรมเป็นไป เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนและส่วนรวมของประเทศ นอกจากนี้ยังได้มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ โดยมุ่งเน้นถึง ความต้องการและประโยชน์สุขแก่ประชาชน ตลอดจนความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการเป็นหลักสำคัญ และเพื่อให้ เกิดการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปสู่การพัฒนาองค์การ โดยสานต่องานเดิมสร้างเสริมงานใหม่ ผ่านกลยุทธ์ที่สำคัญ ภายใต้ “Change Better to Be LED 5G+” ต่อยอด สร้างสรรค์เน้นคุณค่า อย่างยั่งยืน
ดังนั้น การนำความคิดเห็นจากผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้เสียนำมาพัฒนาปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลของงานราชการและการบริการประชาชน ตลอดจนการสนับสนุนการปรับปรุงการให้บริการดียิ่งขึ้น โดยเน้นประชาชนเป็นหลัก จึงได้มีการสำรวจการวิจัย “โครงการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการที่มีต่อกระบวนการบังคับคดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมอบหมายให้ บริษัท พีเอเอส คอนซัลแทนท์ แอนด์ รีเซิร์ช จำกัด เป็นผู้ดำเนินการตามโครงการนี้เพื่อให้การสำรวจมีความเป็นมาตรฐาน น่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับ ตลอดจนมีความเป็นกลาง ปราศจากอคติในการสำรวจ จึงมีผู้ประเมินอิสระจากภายนอกเป็นผู้ดำเนินการโครงการฯ
รองศาสตราจารย์ พันตำรวจเอกหญิง ดร.กัญญ์ฐิตา ศรีภา และคณะผู้วิจัย บริษัท พีเอเอส คอนซัลแทนท์ แอนด์ รีเซิร์ช จำกัด แถลงว่า การวิจัยสำรวจในครั้งนี้ เป็นการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความเชื่อมั่นและความพึงพอใจของกระบวนการบังคับคดีให้ครอบคลุมใน 6 กระบวนการ ได้แก่ (1) กระบวนการบังคับคดีแพ่ง (2) กระบวนการบังคับคดีล้มละลาย (3) กระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ (4) กระบวนการไกล่เกลี่ข้อพิพาทชั้นบังคับคดี (5) กระบวนการประมูล ซื้อทรัพย์/การขายทอดตลาด และ (6) กระบวนการวางทรัพย์ และสำรวจการรับรู้ การใช้และความพึงพอใจของเครื่องมือที่กรมบังคับคดีได้จัดทำขึ้น โดยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการที่มีต่อกระบวนการบังคับคดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จากกลุ่มประชากรเป้าหมายจำนวนทั้งสิ้น 3,680 รายทั่วประเทศ การสำรวจครั้งนี้ดำเนินการในวิธีการรวบรวมข้อมูล ๓ ลักษณะ คือ (1) การสำรวจด้วยแบบสอบถาม (2) การสัมภาษณ์เชิงลึก และ (3) การจัดสนทนากลุ่ม โดยผลการสำรวจชื่อมั่นและความพึงพอใจของประชาชนในภาพรวม มีค่าคะแนนดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา สรุปผลการสำรวจได้ ดังนี้
ความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการต่อกระบวนการบังคับคดี
ค่าเฉลี่ย 9.20 มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการบังคับคดีโดยภาพรวม
ค่าเฉลี่ย 9.20 มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการบังคับคดีแพ่ง
ค่าเฉลี่ย 9.18 มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการบังคับคดีล้มละลาย
ค่าเฉลี่ย 9.16 มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
ค่าเฉลี่ย 9.22 มีความความเชื่อมั่นต่อกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี
ค่าเฉลี่ย 9.20 มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการประมูลซื้อทรัพย์/การขายทอดตลาด
ค่าเฉลี่ย 9.24 มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการวางทรัพย์
ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการต่อกระบวนการบังคับคดี
ค่าเฉลี่ย 9.36 มีความพึงพอใจต่อกระบวนการบังคับคดีโดยภาพรวม
ค่าเฉลี่ย 8.98 มีความพึงพอใจต่อกระบวนการบังคับคดีแพ่ง
ค่าเฉลี่ย 8.96 มีความพึงพอใจต่อกระบวนการบังคับคดีล้มละลาย
ค่าเฉลี่ย 9.48 มีความพึงพอใจต่อกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
ค่าเฉลี่ย 9.56 มีความพึงพอใจต่อกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี
ค่าเฉลี่ย 9.58 มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการประมูลซื้อทรัพย์/การขายทอดตลาด
ค่าเฉลี่ย 9.54 มีความพึงพอใจต่อกระบวนการวางทรัพย์
การรับรู้บทบาทหน้าที่และการทำงานของกรมบังคับคดีที่ส่งผลดีหรือเป็นประโยชน์
ค่าเฉลี่ย 8.14 ได้ปฏิบัติตามตามคำพิพากษา (เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้และลูกหนี้ได้ชำระหนี้)
ค่าเฉลี่ย 8.20 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดีเปิดโอกาสให้เข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
ค่าเฉลี่ย 8.18 ช่วยเสริมสร้างสภาพคล่อง และการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยการผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดี เช่น การขายทอดตลาด
การดำเนินงานที่เป็นจุดเด่น
นโยบายชัดเจน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20ปี (พ.ศ. 2561 – 2580)
ยึดหลักกฎหมาย ซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส เป็นธรรม และจิตบริการ
เน้นคุณภาพการบริการ ไม่เลือกปฏิบัติ ผู้รับบริการเชื่อมั่นและพึงพอใจ
นำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนกระบวนงานตามภารกิจหลักและระบบ Back office
เน้นประชาสัมพันธ์หลากหลายช่องทาง และประชาสัมพันธ์เชิงรุกทั้งในเชิงป้องกันและแก้ไขปัญหา
มีกระบวนการบังคับคดีที่ช่วยเหลือและเป็นประโยชน์ต่อประชาชน
มีการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นและผู้มีส่วนได้เสีย