วันที่ 13 กันยายน 2566 เวลา 08.30 น. กรมโยธาธิการและผังเมืองร่วมกับจังหวัดชลบุรี ได้จัดโครงการ “ก่อสร้างฝายชะลอน้ำ รักษ์ป่า รักษ์น้ำ ตามแนวพระราชดำริ” หมู่ที่ 1 ตำบลหนองไผ่แก้ว อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ภายใต้แผนงานการพัฒนา ตามผังภูมิสังคมเพื่อการบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (Geo – social Map) นำโดย นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นางสาวฐิติลักษณ์ คำพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี นางสาวสุภัทรา ชัยเทวารัณย์ ผู้ตรวจราชการกรมโยธาธิการและผังเมือง หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ พร้อมด้วยจิตอาสาพระราชทาน อาสาสมัครผู้นำชุมชน ร่วมโครงการ “ก่อสร้างฝายชะลอน้ำ รักษ์ป่า รักษ์น้ำ ตามแนวพระราชดำริ” พื้นที่ พัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องประชาชน เกิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ ผู้นำชุมชน องค์กรภาคเอกชน
ส่วนราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งที่ดี Change for Good ในพื้นที่ นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า กรมฯ ได้จัดทำผังภูมิสังคมเพื่อการบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (Geo – Social Map) ซึ่งเป็นการน้อมนำศาสตร์พระราชา มาปรับใช้ในการขับเคลื่อนการจัดทำผังภูมิสังคมฯ ทั่วประเทศ 76 จังหวัด เพื่อให้แต่ละหน่วยงานนำข้อมูลไปใช้ในการกำหนดโครงการและกิจกรรม เพื่อให้เกิดการพัฒนาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งให้กับประชาชน พัฒนาเครือข่ายการทำงานแบบบูรณาการของผู้แทนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับผู้นำชุมชน ประชาชน และภาคีเครือข่ายผังภูมิสังคม เป็นผังที่แสดงสภาพความเป็นจริงของพื้นที่ในเชิงกายภาพและสังคมวิทยา จัดทำขึ้นด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ การพัฒนาโดยยึดหลักภูมิสังคมนี้ คือหลักสำคัญยิ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นกระบวนการที่หน่วยงานภาครัฐเข้าไปแนะนำ อธิบายให้คนในพื้นที่เข้าใจสภาพความเป็นจริงในพื้นที่ ให้คนในพื้นที่ช่วยกันคิดว่าต้องการอะไรจริงๆ และเขียนบันทึกลงในผังภูมิสังคม เพื่อเป็นข้อมูลให้หน่วยงานภาครัฐนำไปใช้วางแผนงานโครงการและกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยอาศัยกลไกความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชนในลักษณะภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนา และเกิดการรักษาให้ยั่งยืน เนี่องจากเป็นโครงการและกิจกรรมที่ตนมีส่วนร่วม และได้ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
นางสาวฐิติลักษณ์ คำพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ได้กล่าวถึง การจัดทำผังภูมิสังคมเพื่อการบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (Geo-social Map) จังหวัดชลบุรีได้จัดทำผังภูมิสังคมเพื่อการบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (Geo – social Map) อำเภอบ้านบึงเป็น 1 ใน 11 อำเภอของจังหวัดชลบุรี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัดชลบุรี มีระยะห่างจากอำเภอเมืองชลบุรี ประมาณ 18 กิโลเมตร ประกอบด้วยท้องที่ตำบล 8 ตำบล 52 หมู่บ้าน และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง มีพื้นที่ประมาณ 617.36 ตารางกิโลเมตร มีประชากรปัจจุบัน พ.ศ. 2566 และได้จัดทำโครงการที่ภาคประชาชนในพื้นที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน โดยไม่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ พร้อมทั้งมีภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้การสนับสนุนเครื่องจักรกลในการดำเนินงาน ซึ่งได้นำแผนงาน/โครงการที่ได้จากการประชุมคณะทำงานจัดทำผังภูมิสังคมฯ ดังกล่าว และมีการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ 7 ภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการตามผังภูมิสังคมฯเพื่อการบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน แบบบูรณาการ อย่างยั่งยืน (Geo – social Map) ซึ่งจะเป็นโครงการนำร่อง พร้อมกับเป็นต้นแบบและตัวอย่างที่ดีให้แก่พื้นที่อื่นๆ ที่จะนำไปพัฒนาพื้นที่ของตนเอง
นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ร่วมกิจกรรมโครงการ “ก่อสร้างฝายชะลอน้ำ รักษ์ป่า รักษ์น้ำ ตามแนวพระราชดำริ” ขับเคลื่อนการพัฒนาตามผังภูมิสังคมเพื่อการบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (Geo – social Map) โดยร่วมกิจกรรม บริเวณลำห้วยเขาหินดาด หมู่ 1 ตำบลหนองไผ่แก้ว อำเภอบ้านบึง ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาหินดาด และป่าเขาไผ่ ขนาดความกว้าง 4 เมตร ยาว 446 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองไผ่แก้ว อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เพื่อชะลอการไหลของน้ำ ทำให้น้ำซึมลงสู่ดินได้มากขึ้น เพิ่มความชุ่มชื้น ส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศป่าต้นน้ำลำธาร เพื่อลดความรุนแรงของการเกิดการชะล้างพังทลายของดิน กักเก็บตะกอน ซึ่งจะช่วยยืดอายุของแหล่งน้ำตอนล่างให้ตื้นเขินช้าลง และทำให้มีปริมาณและคุณภาพของ น้ำที่ดีขึ้น สามารถกักเก็บน้ำไว้เป็นแหล่งน้ำสำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภคของประชาชนและสัตว์ป่า ฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ให้มีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และเป็นไปตามแผนในการบริหารจัดการน้ำตามแนวทางจัดทำผังภูมิสังคม เพื่อบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (Geo-social Map) ซึ่งจะช่วยนำไปสู่เป้าหมายการปฏิบัติภารกิจเพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กับพี่น้องประชาชน การดำเนินกิจกรรมโครงการในครั้งนี้โดยการอาศัยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาคราชการ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหา จริงในพื้นที่อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี หลังจากดำเนินการแล้วเสร็จเพื่อลดการชะล้างพังทลายของดิน และลดความรุนแรงของกระน้ำในลำธาร ทำให้ระยะเวลาการไหลของน้ำเพิ่มมากขึ้น เพิ่มความชุ่มชื่น และกระจายความชุมชื้นออกไปเป็นวงกว้าง ในพื้นที่สองฝั่งของลำห้วย นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มปริมาณน้ำใต้ดินบางส่วน