เมื่อช่วงเช้าที่โรงแรมเลอ แคสเซีย อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น วันที่ 23 สิงหาคม 2566 นายธเนตร สภานนท์ นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ รักษาการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมการจัดการศึกษาเอกชน เป็นประธานเปิดการอบรมโรงเรียนปลายทางเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน โดยใช้ DLTV เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน พร้อมด้วย นายวิรัช ลิ้มเจริญสุข ผู้อำนวยการกลุ่มงานโรงเรียนนโยบายพิเศษ คณะกรรมการดำเนินงานฯ และผู้เข้ารับการอบรมประกอบด้วนผู้บริหาร และครูของโรงเรียนเอกชนในระบบประเภทสามัญศึกษา (การกุศลของวัด) ที่ได้รับการสนับสนุนสื่อและอุปกรณ์สำหรับการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) รวมทั้งสิ้น จำนวน 90 คนเข้าร่วมในพิธี
นายธเนตร สภานนท์ กล่าวว่า ตามที่มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้สนับสนุนสื่อและอุปกรณ์สำหรับการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ให้กับโรงเรียนเอกชนในระบบประเภทสามัญศึกษา (การกุศลของวัด) จำนวน 21 โรงเรียน เพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในพื้นที่ห่างไกลและโรงเรียนที่มีความจำเป็นพิเศษ และปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการจัดการศึกษา คือ การขาดแคลนครู ครูผู้สอนไม่ตรงสาขาวิชาเอก ครูผู้สอนไม่ครบชั้นเรียน และคุณภาพของครูผู้สอนด้อยกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ทำให้ความรู้พื้นฐานของนักเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา (การกุศลของวัด) ในการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา หรือการเรียนในสายวิชาชีพที่ต้องใช้ความรู้พื้นฐานของวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หรือวิชาสามัญทั่วไป น้อยกว่านักเรียนในสังกัดอื่นๆ หรือภูมิภาคอื่น โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 – 25 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมเลอ แคสเซีย อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
“สำหรับการอบรมโรงเรียนปลายทางเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ DLTV เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเอกชนในระบบประเภทสามัญศึกษา (การกุศลของวัด) โดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และเพื่อให้ผู้บริหาร ครูผู้สอน และเจ้าหน้าที่ มีความรู้และเทคนิคในการใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) เป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับการจัดการเรียนการสอน และสามารถบริหารจัดการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้ที่เข้ารับการอบรมในวันนี้จะนำความรู้ เทคนิคและประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้จากการอบรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนต่อไป” นายธเนตร กล่าวทิ้งท้าย