วช. จัดหัวข้อประชุม “ท่องเที่ยวไทย : จาก Responsible Tourism (RT) สู่โมเดลเศรษฐกิจ BCG ในงานมหกรรมวิจัยแห่งชาติ 2566

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ จัดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 : Thailand Research Expo 2023” ภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนงานวิจัย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ สร้างไทยยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 7 – 11 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 22-23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

เมื่อวันที่ 10 ส.ค. วันที่สี่ของการจัดงาน ที่ห้อง Lotus 1-2 ชั้น 22 การประชุมขนาดกลาง เรื่องการประชุมวิชาการภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม คนไทย 4.0 โดยสัมมนาเรื่อง “ท่องเที่ยวไทย : จาก Responsible Tourism (RT) สู่โมเดลเศรษฐกิจ BCG” นำโดย ศ. ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด ประธานมูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ และ “ผลการจัดการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ และต้นแบบของภาคธุรกิจท่องเที่ยวภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG” โดย รศ. ดร.อัครพงศ์ อั้นทอง คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ. ดร.กันต์สินี กันทะวงศ์วาร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึง เส้นทางการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ ว่า RT เป็นข้อปฏิบัติที่มุ่งเน้นการดำเนินการของแต่ละบุคคล. หมายปลายทางเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (ST) ให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบเชิงลบและก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชนและจุดหมายปลายทางทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม โดยหลักคิดของโมเดลเศรษฐกิจ BCG การเติบโตที่เน้นการมีส่วนร่วม เศรษฐกิจที่เน้นการสร้างมูลค่า สังคมที่มีการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากร สำหรับในส่วนของภาคเศรษฐกิจการท่องเที่ยว แนวคิดเศรษฐกิจ BCG การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่ามากที่สุดบนพื้นฐานของการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรรวมถึงในเรื่องของ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณค่ามากที่สุด

พื้นฐานกรอบแนวคิด BCG’ s Tourism Economy การพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงบนพื้นฐานเศรษฐกิจชีวภาพและวัฒนธรรม ส่วนของ Bio – economy การใช้ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่นมาออกแบบกิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวการสนับสนุนการใช้Art & CRaft ท้องถิ่นเป็นต้น

การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าบนพื้นฐานการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากร (Circilar economy) การบริหารจัดการเพื่อให้เกิดขยะของเสียน้อยที่สุดเช่นการออกแบบระบบการบำบัดน้ำเสียเพื่อให้เกิดการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ การลด food waste และนำบางส่วนไปทำปุ๋ย

การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนภายใต้การพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนหรือเศรษฐกิจสีเขียว (Green economy) เช่นการใช้พลังงานโซลาร์ เซลล์การลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง (การควบคุมการใช้ไฟฟ้า) การจัดการพื้นที่สีเขียวและบริเวณสถานประกอบการหลีกเลี่ยงการใช้ถุงพลาสติก/ขวดพลาสติก เป็นต้น

สำหรับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไปสู่ความยั่งยืนก็คือเรื่องของ Responsible Tourism (RT) หรือการจัดการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ ผลของการจัดการอย่างรับผิดชอบต่อผู้ประกอบการกรณีศึกษา : บูติกโฮเทล ลดต้นทุน ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าจัดการและดูแลสิ่งแวดล้อม ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น การจัดการขยะการดูแลบ้านไม้เก่า กรณีศึกษา : ร้านอาหารอินทรีย์ ได้รับผลตอบแทนรวมต่อเดือน 72,700 จากการขายข้าวสารอินทรีย์ ร้านอาหารอินทรีย์ กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตร จากชุมชน ผลของการจัดการอย่างรับผิดชอบต่อชุมชนการก่อขยะ 0.60 กิโลกรัมต่อคน งบประมาณการจัดการขยะ 0.47 บาทต่อคน ผู้มาเยือน 1.1 2 ล้านคน มีขยะจากผู้มาเยือน 663.24 ตัน ต้องใช้งบประมาณ 0.49 ล้านบาท

การจัดการอย่างรับผิดชอบกับคนท้องถิ่นคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (วัดผ่านความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิต) การรับรู้ถึงการจัดการการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบในท้องถิ่นการสนับสนุนการจัดการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบในท้องถิ่นของตนเอง

การจัดการอย่างรับผิดชอบกับผู้มาเยือน การมีมุมมองที่ดีต่อ RT (การเคารพการของนักท่องเที่ยวกับคนท้องถิ่น) การรับรู้ถึงการจัดการการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบของจุดหมายปลายทาง ผู้เยี่ยมเยียนมีพฤติกรรมที่รับผิดชอบค่ะท่องเที่ยวและมีผลต่อการเลือกจุดหมายปลายทาง

สรุปผลการศึกษาที่สำคัญ (1) ผลตอบแทนสุทธิมีมูลค่าเล็กน้อย (2) ลงทุนสูงในระยะแรกแต่การสร้างผลประโยชน์ในระยะยาวโดยเฉพาะผลประโยชน์ที่เป็นคุณค่าที่สามารถนำมาสู่การเพิ่มมูลค่าได้ในอนาคต (3) อปท. มีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นเช่นการดูแลขยะความปลอดภัย (4) การสนับสนุนและการดำเนินโครงการของภาครัฐอาจทำให้ทุนชุมชน (social capital) มีความอ่อนแอ (5) การมีส่วนร่วมและรับรู้ถึงการดูแลแหล่งท่องเที่ยวกระตุ้นให้คนท้องถิ่นสนับสนุนการจัดการ RT (6) การให้ข้อมูลและความรู้กับผู้เยี่ยมเยียนกระตุ้นให้ผู้เยี่ยมเยียนมีกิจกรรมที่รับผิดชอบ

จากนั้นเปิดเวทีเสวนาด้วยหัวข้อ “การท่องเที่ยวไทยภายใต้กระแส RT และโมเดลเศรษฐกิจ BCG” ทั้งนี้ ดร.กีรติ ตระการศิริวานิช คณบดีคณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยนางสาวดารณี ลิขิตวรศักดิ์ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวถึงนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของภาครฐัตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG กล่าวถึงประเด็นสรุป การเขียน BCG ยังมีส่วนของความไม่ชัดเจน ทั้งนี้ เมื่อเขียนแผนขึ้นมาแล้ว จะต้องมีการติดตาม หลายๆ ครั้งในการทำแผน เขียนสวยหรู แต่ถ้าเราไม่สามารถกำกับติดตามก็ไม่สามารถบรรลุผล ได้จริงๆ ไม่ได้นำไปสู่การใช้ประโยชน์ และความร่วมมือในการทำงานเชิงบูรณาการ ให้งานทางวิทยาศาสตร์เข้ามาเสริมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ในมุมมองของภาควิชาการประเด็นนี้ เริ่มมีการทำงานข้ามสถาบันเเพิ่มมากขึ้น

คุณน้ำฝน ณยะวัฒน์​ รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย แผนและกลยุทธ์การตลาดของประเทศไทยในกระแส RT และ ST กล่าวว่า เน้นย้ำชัดเจน จากประสบการณ์ของ ททท. คีย์เวิร์ดก็คือ Gastronomy ในการใช้เป็นตัวขับเคลื่อน BCG ทั้งนี้อยู่ที่ว่าจะนำบริบทตรงไหน มาใช้ในการนำเสนอ แต่ท้ายที่สุดก็จะหนีไม่พ้นวัตถุดิบอินทรีย์ เราสามารถชนะประเทศอื่นได้อย่างขาดลอย หากพูดถึงในเรื่องของการเกษตร ถือว่าเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญ

คุณธเนศ วรศรัณย์ รองประธานฝ่ายยุทธศาสตร์ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวถึงแนวทางการดำเนินงานของภาคเอกชนตาม Happy Model กล่าวว่า รายได้ที่ได้ต้องสามารถเลี้ยงดูคนรอบข้างได้ด้วย อันนี้เป็นมิติหนึ่งของการแบ่งปัน ซึ่งมีความสำคัญมากๆ ถัดมาก็คือ Volume to Value ปริมาณก็จำเป็น แต่คุณภาพก็ต้องไม่ขาด เพราะเขามาด้วยกัน เรื่องของความเป็นอยู่ ทำอย่างไรให้เมืองน่าอยู่สำหรับชุมชน มองเงินให้เป็นความสุข

คุณอังคณา ธเนศวิเศษกุล กรรมการผู้จัดการ Peach Group Resort กล่าวถึงการปรับตัวของผู้ประกอบการท่องเที่ยวภายใต้กระแส ST กล่าวสะท้อนถึงพฤติกรรมนักท่องเที่ยวหลากหลายประเทศ ในส่วนเรื่องของการสื่อสารกับลูกค้า ภาคธุรกิจทำหลายเรื่อง การสื่อสาร การจัดการขยะ การจัดการน้ำ ซึ่งสามารถทำได้อย่างครบวงจร