“กกพ.” ไม่ปรับเพิ่มเอฟที

“กกพ.” มีมติไม่ปรับเพิ่มค่าเอฟที คงค่าไฟต่ออีก 4 เดือน “หวัง” หนุน อุปสงค์เศรษฐกิจในประเทศท่ามกลางความผันผวนสถานการณ์การค้าโลก

นางสาวนฤภัทร อมรโฆษิต เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ให้คงอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร  (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บเดือนกันยายน – ธันวาคม 2562 จำนวน -11.60 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.6396 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ไม่เปลี่ยนแปลงจากงวดก่อน

“กกพ. ให้คงค่าเอฟทีต่ออีก 4 เดือน โดยจะเน้นแนวทางการบริหารจัดการ โดยพยายามรักษาค่าเอฟทีในระดับเดิม เนื่องจากไม่ต้องการให้ปัจจัยค่าไฟฟ้ามากระทบต่ออุปสงค์ภายในประเทศ ซึ่งอาจจะเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ภาวะการส่งออกของประเทศชะลอตัวลงจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนของภาวะการค้าโลก” นางสาวนฤภัทร กล่าว

นางสาวนฤภัทร กล่าวว่า คาดว่าจะใช้เงินประมาณ 9,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินการบริหารจัดการค่าเอฟที โดยส่วนหนึ่งนำเงินมาจากการกำกับประสิทธิภาพการดำเนินงานของการไฟฟ้าในปี 2561 จำนวนประมาณ 3,000 ล้านบาท และในส่วนที่เหลือประมาณ 6,000 ล้านบาท จะเป็นความร่วมมือกันระหว่าง   การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย เพื่อช่วยรับต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ปรับสูงแทนประชาชนไปชั่วคราวก่อน

อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจไม่ปรับเพิ่มค่าเอฟทีในรอบนี้ (ก.ย.-ธ.ค. 2562) เป็นการบริหารจัดการภายใต้ปัจจัยหลักๆทางด้านต้นทุนขาขึ้น ที่ยังคงมีความผันผวน และกดดันต่อค่าเอฟที ภายใต้สมมติฐานที่ประกอบด้วย

  1. อัตราแลกเปลี่ยนคาดว่าเท่ากับ 31.80 บาทต่อเหรียญสหรัฐ หรืออ่อนค่าลงกว่าช่วงที่ประมาณการในงวดเดือน พ.ค.- ส.ค. 2562 ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 4 เดือนอยู่ที่ระดับ 31.00 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
  2. ความต้องการพลังงานไฟฟ้าในช่วงเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2562 เท่ากับ 64,416.20 ล้านหน่วย ปรับตัวลดลงจากช่วงเดือน พ.ค. – ส.ค. 2562 เท่ากับ 3,966.19 ล้านหน่วย คิดเป็นร้อยละ 5.80 ตามสภาพความต้องการไฟฟ้าที่ลดลงเนื่องจากเข้าสู่ฤดูหนาวในช่วงปลายปี
  3. สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าในช่วงเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2562 ยังคงใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก ร้อยละ 55.78 รองลงมาเป็นการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ ร้อยละ 18.91 ลิกไนต์ และถ่านหินนำเข้า อยู่ที่ร้อยละ 8.79 และ ร้อยละ 7.93 ตามลำดับ
  1. อัตราแลกเปลี่ยนคาดว่าเท่ากับ 31.80 บาทต่อเหรียญสหรัฐ หรืออ่อนค่าลงกว่าช่วงที่ประมาณการในงวดเดือน พ.ค.- ส.ค. 2562 ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 4 เดือนอยู่ที่ระดับ 31.00 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
  2. ความต้องการพลังงานไฟฟ้าในช่วงเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2562 เท่ากับ 64,416.20 ล้านหน่วย ปรับตัวลดลงจากช่วงเดือน พ.ค. – ส.ค. 2562 เท่ากับ 3,966.19 ล้านหน่วย คิดเป็นร้อยละ 5.80 ตามสภาพความต้องการไฟฟ้าที่ลดลงเนื่องจากเข้าสู่ฤดูหนาวในช่วงปลายปี
  3. สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าในช่วงเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2562 ยังคงใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก ร้อยละ 55.78 รองลงมาเป็นการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ ร้อยละ 18.91 ลิกไนต์ และถ่านหินนำเข้า อยู่ที่ร้อยละ 8.79 และ ร้อยละ 7.93 ตามลำดับ
  4. แนวโน้มราคาเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า คาดว่าราคาก๊าซธรรมชาติเท่ากับ 305.20 บาทต่อล้านบีทียู ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากงวดที่ผ่านมา 23.75 บาทต่อล้านบีทียู ราคาถ่านหินนำเข้าเฉลี่ยของโรงไฟฟ้าเอกชนอยู่ที่ 2,739.31 บาทต่อตัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 2,643.13 บาทต่อตัน เท่ากับ 96.18 บาทต่อตัน

 

ประเภทเชื้อเพลิง หน่วย พ.ค. – ส.ค. 62
(ประมาณการ
6 มี.ค. 62)

[1]

ก.ย.-ธ.ค. 62

(ประมาณการ)

[2]

เปลี่ยนแปลง

[2]-[1]

– ราคาก๊าซธรรมชาติ* บาท/ล้านบีทียู 281.45 305.20 23.75
– ราคาน้ำมันดีเซล (กฟผ.) บาท/กก. 25.77 25.13 -0.64
– ราคาลิกไนต์ (กฟผ.) บาท/ตัน 693.00 693.00 0.00
– ราคาถ่านหินนำเข้าเฉลี่ย (IPPs) บาท/ตัน 2,643.13 2,739.31 96.18

หมายเหตุ: *ราคาก๊าซฯ รวมค่าผ่านท่อและค่าดำเนินการของโรงไฟฟ้า กฟผ. และโรงไฟฟ้าเอกชน