กระทรวงคมนาคม สรุปสถานการณ์อุทกภัยบนโครงข่ายของ คค. ณ วันที่ 2 พ.ย. 2565 เวลา 15.00 น. ดังนี้
1. มีโครงข่ายคมนาคมที่ได้รับผลกระทบ รวม 52 สายทาง 57 แห่ง ผ่านได้ 26 แห่ง ไม่สามารถผ่านได้ 31 แห่ง โดยสรุปแยกตามประเภทโครงข่าย ได้ดังนี้
1.1 ถนนทางหลวง ได้รับผลกระทบ 1 สายทาง 1 แห่ง ไม่สามารถผ่านได้ 1 แห่ง
1.2 ถนนทางหลวงชนบท ได้รับผลกระทบ 51 สายทาง 56 แห่ง ผ่านได้ 26 แห่ง ไม่สามารถผ่านได้ 30 แห่ง
2. จังหวัดที่ได้รับผลกระทบมีจำนวน 17 จังหวัด โดยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบสูงสุด 3 จังหวัดแรก ได้แก่ จ.นครปฐม ได้รับผลกระทบ 6 แห่ง รองลงมา จ.อุบลราชธานี และ จ.ศรีสะเกษ ได้รับผลกระทบจังหวัดละ 5 แห่ง
3. บขส. และ รฟท. เดินรถได้ตามปกติ
4. ท่าอากาศยาน ไม่มีการรายงานการได้รับผลกระทบ
5. ท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาได้รับผลกระทบจากระดับน้ำที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการให้บริการเดินเรือโดยสารของเรือด่วนเจ้าพระยา และเรือโดยสารไฟฟ้า MINE Smart Ferry มีการปรับตารางเวลาการให้บริการตามสถานการณ์ของระดับน้ำ
6. ทล. และ ทช. ติดตั้งป้ายเตือน/อำนวยความสะดวกและปลอดภัยแก่ประชาชนในเส้นทางที่ได้รับผลกระทบ
7. จท. ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย 1 จุด พร้อมเจ้าหน้าที่ 7 คน เรือ 1 ลำ และรถยนต์/รถบรรทุก 1 คัน ให้การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย
รวมทั้งเฝ้าระวังระดับน้ำ/ปริมาณน้ำไหลผ่านของแหล่งน้ำธรรมชาติ อ่างเก็บน้ำ และเขื่อนอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมรับมือและประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้กับประชาชนในพื้นที่ทราบ
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม ได้เตรียมความพร้อม บุคลากร เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ เพื่อซ่อมแซมเส้นทาง ติดตั้งป้ายเตือน และอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย และยังคงเฝ้าระวังสถานการณ์อุทกภัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ประชาชนทราบ อำนวยความสะดวกการเดินทาง และให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็ว
โดยสามารถสอบถามเส้นทาง ข้อมูลเพิ่มเติม หรือแจ้งเหตุอุทกภัย ได้ที่
– ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยคมนาคม โทร. 1356
– สายด่วนกรมทางหลวง โทร. 1586
– สายด่วนกรมทางหลวงชนบท โทร. 1146
– สายด่วนบริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 1490 เรียก บขส.
– สายด่วนการรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690
– สายด่วนกรมเจ้าท่า โทร. 1199