สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 27 ต.ค.65 65 เวลา 7.00 น.

ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น และภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง

ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.สตูล (136) จ.ปทุมธานี (59) และ จ.จันทบุรี (56)

ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 68,47 ล้าน ลบ.ม. (83%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 60,252 ล้าน ลบ.ม. (84%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง

บริเวณภาคเหนือ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 21 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วลม กิ่วคอหมา แม่มอก แควน้อย ทับเสลา กระเสียว ป่าสัก ห้วยหลวง อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแชะ ลำนางรอง ขุนด่าน บางพระ หนองปลาไหล นฤบดินทรจินดา และบึงบระเพ็ด

สถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา 26 ต.ค. 65 ที่สถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,316 ลบ.ม./วินาที ปริมาณน้ำในพื้นที่ตอนบนแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาลดลงเช่นกัน โดยมีปริมาณน้ำไหลผ่าน ในอัตราประมาณ 2,228 ลบ.ม./วินาที ด้านสถานีวัดน้ำ C.29A อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำไหลผ่านเฉลี่ย 2,824 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มลดลง

เฝ้าระวังระดับน้ำในมาน้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น ช่วงวันที่ 2 6 ต.ค.- 9 พ.ย. 65 เนื่องจากน้ำทะเลหนุนสูงประกอบกับมรสุมมรสุมตะวันออก เฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ โดยมีกำลังแรงเป็นระยะ ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนกลางในบางช่วง รวมทั้งมีการระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ ประมาณ 1.70-2.20 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง

ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมใน 29 จังหวัด ได้แก่ จ.พิษณุโลก พิจิตร อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม ชัยนาท นนทบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี สระบุรี หนองบัวลำภู ชัยภูมิ มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ ยโสธร นครราชสีมา สุรินทร์ นครนายก ปราจีนบุรี และสุราษฎร์ธานี

กอนช. ติดตามสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา
สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันปริมาณน้ำทางตอนบน รวมถึงปริมาณฝนในพื้นที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการปรับลดการระบายน้ำผ่านเขื่อนลง และในหลายพื้นที่สถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลายตามไปด้วย รวมถึงสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำชี-มูล ปริมาณน้ำจากทางตอนบนเริ่มลดลงเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำสายหลักและสายรองบางแห่งลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม กรมชลประทาน จะพิจารณาการระบายน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ควบคู่ไปกับการเก็บกักน้ำไว้ให้มากที่สุด เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ส่วนในพื้นที่ภาคใต้ ยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านภาคใต้ตอนกลางและตอนล่างตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง จึงได้กำชับให้โครงการชลประทานในพื้นที่ เตรียมพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือและเจ้าหน้าที่ ปฏิบัติตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 65 ที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติกำหนดอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม ให้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางแผนล่วงหน้าเพื่อให้สามารถรับมือได้ทันที ลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุด

นอกจากนี้ ได้สร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง พร้อมวางแผนช่วยเหลือฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ด้วยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง รวมไปถึงการตรวจสอบความมั่นคงของอาคารชลประทานและระบบส่งน้ำ ให้สามารถใช้งานได้ในสภาพที่สมบูรณ์