จากนโยบายรัฐและแผนปฏิรูปประเทศไทย ตามไทยแลนด์ 4.0 ในระยะ 20 จะพยามยามพัฒนาให้ประเทศพ้นกับดักความยากจน ไปสู่ประเทศที่พัฒนา มีรายได้สูง ในภาคการเกษตรที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้าเพราะ GDP ภาคการเกษตร ประเทศไทยจะได้เป็นเนื้อเป็นหนังส่วนนอกภาคการเกษตรแม้ GDP จะสูง แต่ผลประโยชน์อยู่ในประเทศน้อย เพราะต้องนำเข้าอุปกรณ์และเทคโนโลยีในมูลค่าสูงกว่าส่งออก สำหรับภาคการเกษตรจะรุ่งเรือง เกษตรกรมีรายได้ต่อครัวเรือนสูงตามเป้าหมายของการพัฒนาในระยะ 20 ปี นั้น ยังน่าเป็นห่วง
เนื่องจากเมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2560 ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ “ในการจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดอุตรดิตถ์” โดยการจัดทำผังเมืองรวม คือจัดทำกรอบการใช้ที่ดินให้เหมาะสม สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัด โดยกรอบการให้และไม่ให้ใช้ที่ดินในประเภทต่าง ๆ นั้น ทุกภาคส่วนต้องเห็นชอบ และประชาชนในจังหวัดจะต้องมีความผาสุกในการดำเนินชีวิตในการระดมความคดิ ภาคการเกษตร มีการให้ข้อคิดเห็นและนำเสนอปัญหาของเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้อง โดยปัญหาหลัก ๆ ที่มีผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพของเกษตรกร ประกอบด้วย
- ด้านการผลิต ในช่วงที่ไปประชุมเป็นฤดูที่ไม้ผล ทั้งทุเรียน ลองกอง ลางสาด และสับปะรดออกมาก เกษตรกรได้แจ้งปัญหาใหญ่ ๆ ได้แก่ ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง สาเหตุหลัก ๆ เกษตรกรยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตไม่ว่าการใช้ปุ๋ยยังไม่ถูกต้องทั้งชนิด ปริมาณ และวิธีใส่ปุ๋ย ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตการใช้ต่ำ การอารักขาพืชก็เช่นกัน จากแนวทางการปฏิบัติที่มีการพ่นสารเคมี ก็จะพ่นทั้งวัน ทั้ง ๆ ที่ช่วงเวลาอารักขาพืชที่เหมาะสม คือช่วงบ่ายถึงค่ำ สาเหตุสำคัญเพราะส่วนใหญ่เป็นการจ้างดำเนินการจึงจำเป็นต้องทำในช่วงเวลาทำงาน การทำตอนเย็นจะหาคนรับจ้างยากปัญหาด้านผลิตที่พบทุกแห่ง คือ ขาดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรการทำการเกษตร “น้ำ” เป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โดยเฉพาะไม้ผล “น้ำ” จะเป็นปัจจัยสำคัญมาก ขาดน้ำผลอ่อนร่วง ผลแก่ขาดคุณภาพ การพัฒนาแหล่งน้ำ ส่วนใหญ่ เป็นการพัฒนาในที่ลุ่ม หรือการทำนา การพัฒนาแหล่งน้ำสำหรับพืชไร่และไม้ผลมีน้อย เพราะจะต้องลงทุนมาก การพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร เน้นวิธีพัฒนาแหล่งน้ำที่มีต้นทุนต่ำและยั่งยืน ที่ต้องคำนึงถึง
- ปัญหาด้านการตลาด เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการ ตลาดกลางที่เป็นธรรมและสมเหตุสมผล ตลาดที่มีอยู่จะเป็นสถานรับซื้อสินค้าซึ่งผู้ซื้อจะซื้อตามราคาที่ขาดความชอบธรรม สินค้าหลายชนิดเกษตรกรต้องขายขาดทุน ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจปี 2559ชาวนามีต้นทุนการผลิตข้าวที่ตันละ 9,000 บาท แต่ขายข้าวได้ตันละ 8,000 บาท ขาดทุนตันละ 1,000 บาท เรื่องนี้หากยังไม่ได้รับ การแก้ไข ก็เชื่อได้ว่าอีก 20 ปี ชาวนาก็ยังไม่พ้นกับดักความยากจน ซ้ำร้ายที่นาก็จะถูกยึด ตลาดกลางที่เป็นธรรมกับเกษตรกรจะต้องมีการพัฒนาเร่งด่วนควบคู่กับการควบคุมราคาข้าวในประเทศ เช่นเดียวกับน้ำตาลทราย โอกาสรอดของชาวนาจึงจะเกิดจากการไปเยี่ยมชมตลาดผลไม้ที่ จ.อุตรดิตถ์ ก็ไม่ต่างจากสถานรับซื้อผลไม้แถวภาคตะวันออก เกษตรกรไม่มีโอกาสต่อรองราคาเลย เพราะเกษตรกรจำนวนมากจะขนผลไม้มาด้วยรถจักรยานยนต์มารอผู้ซื้อ ผู้ซื้อจึงสามารถกำหนดราคาได้เอง เกษตรกรจำเป็นต้องขายเพราะขนหรือนำผลไม้มาแล้ว ดังนั้น นอกจากตลาดกลางแล้วการปรับโครงสร้างการผลิตให้เหลื่อมเวลา สามารถกำหนดหรือพัฒนาการขายหรือการกระจายสินค้าก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญต่อการตลาดหรือระบบตลาด
- ปัญหาด้านกรรมสิทธิ์ที่ดิน ในการประชุมครั้งนี้เกษตรกร ต้องการกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อาศัยและทำกิน เพราะกรรมสิทธิ์ในที่ดินนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเข้าถึงแหล่งทุน เพราะจากกรรมสิทธิ์ที่ได้จะสามารถจัดหาปัจจัยได้ง่ายและสะดวก ปัญหาที่เกษตรกรอยากให้รัฐช่วยเหลือในกรณีที่ครอบครองและทำมาหากินมาก่อนที่จะมีการตราพระราชบัญญัติป่าสงวน อีกประเด็นที่รัฐควรเร่งดูแลอย่างเร่งด่วน คือ เกษตรกรที่ถูกเคลื่อนย้ายจากพื้นที่ ๆ น้ำท่วม เพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำ หรือเขื่อนสิริกิติ์ และแจ้งว่าจะหาที่ให้ทำกิน แต่หลังจากสร้างเขื่อนมากว่า 10 ปี เกษตรกรก็ยังไม่ได้สิทธิ์หรือกรรมสิทธิ์ในที่ทำกิน เกษตรกรเหล่านี้กำลังกล่าวหาว่าทางราชการหลอกหลวง ทั้ง ๆที่เขาเหล่านั้นเป็นผู้เสียสละ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งรัดดำเนินการด่วน มิฉะนั้นในภายหน้าเกษตรกรจะไม่ให้ความร่วมมือกับภาคราชการในการดำเนินการอื่น ๆ อีก
จากปัญหาหลัก ๆ ทั้ง 3 ประการนี้เป็นเรื่องที่เกษตรกรร้องขอกับทางราชการมานาน แต่ก็ยังไม่ได้รับการเยียวยา เรื่องเหล่านี้นับวันเกิดมากขึ้น จากปัญหาเหล่านี้เห็นว่ามีองค์กรหรือคณะกรรมการที่มีภารกิจที่จะต้องช่วยเหลือ ประกอบด้วยสภาเกษตรกรแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ.2553โดยมีเจตนารมณ์ เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเกษตรกร ในการกำหนดนโยบายและการวางแผนการพัฒนาเกษตรกรอย่างเป็นระบบ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาและความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรเพิ่มศักยภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม การเมือง อย่างต่อเนื่องให้เป็นไปเพื่อเกษตรอย่างแท้จริง และมีกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐด้านปฏิบัติการตามนโยบายด้านการเกษตรกรรม อันจะนำสู่การพัฒนาภาคเกษตรกรรมและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต
จากเจตนารมณ์และการได้มาของกรรมการสภาเกษตรกรดูดี และน่าจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและระบบเกษตรกรรมของประเทศ เพราะมีอำนาจหน้าที่ค่อนข้างกว้างและครอบคลุมที่จะผลักดันการพัฒนาเกษตรกรรมได้ ได้แก่
- เสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดนโยบายส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็ง เกษตรกร สถาบันเกษตรกรองค์กรเกษตร ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อผลิต แปรรูป คุ้มครองพื้นที่เกษตรกร
- เสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดนโยบายและแนวทางส่งเสริมพัฒนาการเกษตรผสมผสาน ระบบวนเกษตรระบบเกษตรธรรมชาติ ระบบไร่นาสวนผสม เกษตรอินทรีย์และเกษตรกรรมรูปแบบอื่น ๆ
- ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี แก้ไขปัญหาของเกษตรกร พัฒนาเกษตรกรรม รวมทั้งการอนุรักษ์และการให้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- เสนอแผนแม่บทการพัฒนาต่อคณะรัฐมนตรี
- เสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดแนวทางส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านพันธุกรรมพืช สัตว์ท้องถิ่น ผลผลิตทางเกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์จากการแปรรูป ผลผลิตทางการเกษตร
- เสนอคณะรัฐมนตรี โดยกำหนดนโยบายประกันความเสี่ยงของราคาและผลผลิตทางเกษตรกรรมและกำหนดสวัสดิการให้แก่เกษตรกร
- เสริมสร้างความร่วมมือและประสานงานกับภาครัฐเอกชน ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ตลอดจนองค์กรระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม
- พัฒนาและสร้างความเข้มแข็ง เกษตรกร สถาบันเกษตรกร องค์กรเกษตรกร
- ให้ความเห็นต่อนโยบาย กฎหมาย หรือข้อตกลงที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบต่อเกษตรกร
- ให้คำปรึกษา แนะนำ เกษตรกร สถาบันเกษตรกรองค์กรเกษตรกร ตามที่สภาเกษตรกรรมจังหวัดเสนอ…สภาเกษตรกรแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติพ.ศ.2553 โดยมีเจตนารมณ์ เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเกษตรกร ในการกำหนดนโยบายและการวางแผนการพัฒนาเกษตรกรอย่างเป็นระบบ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาและความมั่นคงในอาชีพเกษตรกร เพิ่มศักยภาพและยกระดั บคุ ณภาพชี วิ ตของเกษตรกรให้ดีขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม การเมืองอย่างต่อเนื่องให้เป็นไปเพื่อเกษตรอย่างแท้จริง…
- แต่งตั้งคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน หรือที่ปรึกษาตามความจำเป็น12. ปฏิบัติอื่น ๆ ตามกฎหมายกำหนด
นอกจากนี้ การใดที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของเกษตรกรสถาบันเกษตรกร องค์กรเกษตรกร สภาเกษตรกร สามารถร้องขอเข้าไปมีส่วนร่วมได้ ในการเสนอแนวคิดเห็น เพื่อประกอบการพิจารณาของรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี ได้จากเจตนารมณ์และอำนาจหน้าที่ของสภาเกษตรกรแห่งชาติ น่าจะสามารถแก้ปัญหาที่เกษตรกรให้มาในการประชุมในจังหวัดอุตรดิตถ์และเกษตรกรทั่วไปได้
ข้อเท็จจริงสภาเกษตรกรได้มีการจัดตั้งมาประมาณ 7 ปี จนถึงปัจจุบัน แต่ยังมิได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ เพื่อแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางการพัฒนา หรือปฏิรูปให้เกษตรกร สถาบันเกษตรกรองค์กรเกษตรกร ทำให้เกษตรกร องค์กรเกษตรกร สถาบันเกษตรกรอย่างจริงจัง ปัจจุบันเกษตรกรยังไม่เข้มแข็งและมีสุขตามเป้าหมายอะไร? คือ ปัญหาของสภาเกษตรกร เราคงต้องย้อนกลับไปดูการได้มาของสภาเกษตรกร สภาเกษตรกร ประกอบด้วย ผู้แทนเกษตรกรจังหวัดที่ได้รับการคัดเลือกตามลำดับ จากผู้แทนหมู่บ้านเลือกผู้แทนตำบลผู้แทนตำบลเลือกผู้แทนอำเภอ และผู้แทนอำเภอเลือกกันเองจนได้ผู้แทนจังหวัด ที่จะเข้าไปเป็นกรรมการสภาเกษตรแห่งชาติและดำรงตำแหน่งประธานสภาเกษตรกรประจำจังหวัดอีกตำแหน่งหนึ่งโดยมีคณะกรรมการประจำจังหวัดรวม 16 คน จังหวัดที่มีจำนวนอำเภอมากกว่า 16 อำเภอ ก็จะมีกรรมการประจำอำเภอเพิ่มตามจำนวนอำเภอ เช่น ถ้ามี 25 อำเภอ กรรมการสภาเกษตรกรจังหวัดจะมีกรรมการ 25 คน และมีผู้ทรงคุณวุฒิประจำจังหวัดอีก 5 คนวิธีการได้มาของสภาเกษตรกรแห่งชาติ และสภาเกษตรกรจังหวัดดูจะเป็นประชาธิปไตยดี ปัญหาคือบุคคลที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามามีคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์มากพอที่จะมาทำแผนพัฒนาทางเกษตร สภาเกษตรกร และองคก์ รเกษตรในจังหวัดให้เข้มแข็ง สามารถกำหนดกลยุทธ์ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ยังเป็นข้อกังขา? เพราะจากการเข้าร่วมประชุมกับเกษตรกรมากกว่า 10 จังหวัด เกษตรกรที่ร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการที่ยังร้องขอความช่วยเหลือจากภาคราชการทั้งด้านประสิทธิภาพการผลิต การตลาด การสร้างมูลค่าของสินค้า และเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินเกือบทุกแห่งวันนี้จึงอยากเห็นผู้เกี่ยวข้องที่มีหน้าที่กำกับดูแล “สภาเกษตรกรแห่งชาติ” ได้ดำเนินการติดตามผลการดำเนินการและให้หน่วยงานอิสระ ไม่ได้หมายถึงสถานศึกษา เพราะสถานศึกษายังเกรงใจหน่วยงานที่ถูกตรวจสอบ แต่เป็นหน่วยงานอิสระในรูปกรรมการ ควรมี 2 ชุด ในการตรวจสอบประเมินภารกิจทั้งหมด แต่แยกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อคานอำนาจ จะทำให้สามารถแก้ไขได้อย่างถูกต้องเป็นธรรม ที่ต้องการประเมินเพราะหลักการตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม และสภาเกษตรกรแห่งชาติ มองถึงความชอบธรรมและประชาธิปไตย โดยหวังว่าผู้ที่จะมาสมัครมีจิตบริสุทธิ์ ที่จะเสียสละต่อเกษตรกร และสังคม
ข้อเท็จจริง กรรมการสภาที่ปรึกษาที่ได้รับการสรรหาขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดประสบการณ์ ที่จะเป็นที่ปรึกษาให้กับสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทำให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมขาดความน่าเชื่อถือจากบุคคลภายนอก ทำให้สภาที่ปรึกษาต้องพังลงในที่สุด จึงเป็นเรื่องเศร้ามากหาก “สภาเกษตรกรแห่งชาติ” จะมีอันเป็นไป ผู้ที่มีอำนาจ กำกับ ดูแล คงต้อง “ปฏิรูป” ให้สภาอันทรงเกียรตินี้ ให้มีประสิทธิภาพเหมือนสภาอุตสาหกรรม และสภาหอการค้า อย่าให้สภานี้เกิดมาเพื่อเป็นการต่อรองทางการเมืองเท่านั้นการปฏิรูป “สภาเกษตรกรแห่งชาติ” เป็นเรื่องสำคัญที่ทางราชการจะต้องหันมาดูแล เพราะหากสภาเกษตรกรแห่งชาติเข้มแข็ง การเกษตรก็จะไม่มีปัญหาด้านราคา ด้านการลดต้นทุนด้านประสิทธิภาพอีกต่อไป เกษตรกรในปี 2579 ก็จะรุ่งเรืองตามนโยบายของรัฐได้แน่นอน และผลักดันให้ประเทศไทยพ้นกับดักความยากจนในที่สุด