ตามที่รัฐบาลมีความเป็นห่วงประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยจากพายุโนรูในหลายพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันได้ลดระดับเป็นพายุดีเปรสชัน พัดเข้าประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2565 กระทรวงคมนาคม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ ได้มอบหมายให้นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมเจ้าท่า ดำเนินการเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยในวันที่ 4 ตุลาคม 2565 กรมเจ้าท่า ได้เข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยตั้งศูนย์อำนวยการ 20 จุด จัดเจ้าหน้าที่ 170 นาย เรือพระราชทาน 20 ลำ เรือท้องแบน 7 ลำ เรือตรวจการณ์21 ลำ รถ 43 คัน บรรจุกระสอบทราย 7,100 ถุง แจกน้ำดื่ม 2,902 ขวด เนื่องจากยังคงมีฝน ตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ดังนี้
1. สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 1 ประกอบด้วย สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาเชียงใหม่ นครสวรรค์เชียงราย พิษณุโลก แพร่การปฏิบัติงานในวันนี้
– สาขาเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 7 ร่วมประชุมวางแผนการปฏิบัติงานและเข้าร่วมสนับสนุนกับหน่วยงานในพื้นที่ ให้การช่วยเหลือพี่น้องประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ นำทรายมาลงให้กับทางศูนย์ช่วยเหลือที่จังหวัด โดยนำเครื่องจักรรถยก 6 ล้อ เรือพระราชทานจำนวน 2 ลำ เพื่อเตรียมการตามภารกิจในการช่วยเหลือ ดำเนินการขนทรายบรรจุกระสอบสร้างแนวป้องกันให้กับพี่น้องประชาชน และได้เข้าไปในพื้นที่บริเวณหมู่บ้านเวียงทอง จังหวัดเชียงใหม่ สนับสนุนเรือ ช่วยแจกอาหาร น้ำดื่ม
– สาขาเชียงราย ลงพื้นที่จังหวัดพะเยา อ.ดอกคำใต้ และ อ.ภูกามยาว มอบกระสอบสำหรับบรรจุทราย จำนวน 1,500 ใบ น้ำดื่ม จำนวน 552 ขวด และลงพื้นที่ตำบลศรีดอนชัย อ.เชียงของ จังหวัดเชียงราย มอบกระสอบบรรจุทราย จำนวน 500 ใบ และน้ำดื่ม จำนวน 480 ขวด และได้แนะนำการแก้ไขปัญหาให้กับท้องถิ่น โดยการขุดลอกรักษาสภาพลำน้ำ เพื่อขยายร่องน้ำ เป็นการเพิ่มพื้นที่รับน้ำในอนาคตด้วย
– สาขานครสวรรค์ลงพื้นที่ ตำบลหาดทนง และ ตำบลเกาะเทโพ จังหวัดอุทัยธานี แจกจ่ายน้ำดื่มสะอาดให้แก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัย และเจ้าหน้าที่ทางหลวงชนบท จำนวน 120 ขวด
2. สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 2 ประกอบด้วย สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาอยุธยา สุพรรณบุรี ลพบุรี นนทบุรี
– สาขาอยุธยา รถยนต์ 3 คัน เรือจำนวน 4 ลำ ในการเดินทางให้กับประชาชนในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์เฝ้าระวัง จำนวน 16 นาย ปริมาณน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ไหลผ่าน C13 ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา 2,681 ลบ.ม./วินาทีเมื่อวาน 2,643 ลบ.ม./วินาทีปริมาณน้ำไหลผ่านเพิ่มขึ้น 38 ลบ.ม./วินาทีระดับน้ำที่ C35 บ้านป้อม พระนครศรีอยุธยา ระดับตลิ่ง 4.35 ม. ระดับน้ำ 5.53 ม. เมื่อวาน 5.46 ม. ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 7ซม. ระดับน้ำที่สถานี S.26 (เขื่อนพระรามหก) อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ระบาย 906ลบ.ม./วินาทีระดับตลิ่ง 8 ม. ระดับน้ำ 8.99 ม. เมื่อวาน 8.47 ม. ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 52 ซม. สถานี S.5 (สะพานปรีดี-ธำรง) อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับตลิ่ง 4.70 ม. ระดับน้ำ 4.62 ม. เมื่อวาน 4.44 ม. ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 18 ซม. สถานการณ์น้ำโดยรวม ระดับน้ำและปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
– สาขาสุพรรณบุรีรถยนต์ 3 คัน เรือ 1 ลำ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์เฝ้าระวัง 8 นาย ปริมาณน้ำไหลผ่านของเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ที่ 2,681 ลบ.ม./วินาทีปริมาณน้ำเหนือเขื่อน 17.30 ม. ปริมาณน้ำท้ายเขื่อน 16.32 ม. และปริมาณน้ำไหลผ่านที่ประตูระบายน้ำโพธิ์พระยา ระบายน้ำที่ 237.01 ลบ.ม./วินาทีเหนือประตูน้ำโพธิ์พระยา 6.31 ม. ท้ายประตูน้ำโพธิ์พระยา 5.80 ม. ทำให้ น้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำริมฝั่งแม่น้ำท่าจีนในบางพื้นที่ อำเภอเมือง อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีสถานการณ์น้ำโดยรวม ระดับน้ำและปริมาณน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
– สาขาลพบุรีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์เฝ้าระวัง 5 นาย รถ 3 คัน เรือ 1 ลำ สำหรับปริมาณน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาณน้ำไหลลงอ่าง 1,768 ลบ.ม./วินาที(152 ล้าน ลบ.ม./วัน) เพิ่มขึ้น 398 ลบ.ม./วินาทีระบายน้ำออก 600.64 ลบ.ม./วินาที(51.89 ล้าน ลบ.ม./วัน) – เท่าเดิม ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ 946 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มขึ้น 100 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 98.54 % ของความจุ (960 ล้าน ลบ.ม.)
3. สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 7 ประกอบด้วย สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาขอนแก่น หนองคาย อุบลราชธานี นครราชสีมา นครพนม โดยบูรณาการสำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 8 เข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
– สาขานครราชสีมา ได้จัดเจ้าหน้าที่พร้อมยานพาหนะ ลงพื้นที่ ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมชุมชนบ้านอ้อ ต.กำปัง อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา โดยรับส่งประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวน 25 คน 3 เที่ยวเรือ และขนย้ายสิ่งของ 3 ครัวเรือน และสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาหนองคาย ร่วมกับ มทบ.28 และ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดเลย จัดเตรียมเครื่องอุปโภค-บริโภค และกรอกถุงทรายเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเลย
– สาขาหนองคาย จัดเจ้าหน้าที่ 4 นาย พร้อมรถยนต์ 2 คัน เรือ 2 ลำ ร่วมกับ มทบ.28 และ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดเลย จัดเตรียมเครื่องอุปโภค-บริโภค และกรอกถุงทรายเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเลย
– สาขาขอนแก่น เข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยพื้นที่บ้านพรหมนิมิต ต.โคกสี อ.เมือง จ.ขอนแก่น จำนวน 10 คน เที่ยวเรือ 5 เที่ยว
– สาขาอุบลราชธานี บูรณาการกับจังหวัดอุบลราชธานี ปภ. และเทศบาลเมืองวารินชำราบ ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ อ.วารินชำราบ 3 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนท่าบ้งมั่ง ชุมชนดีงาม อ.วารินชำราบ และชุมชนบัวชมพูรีสอร์ท บ้านทุ่งบูรพา หมู่ที่ 10ต.แจระแม อ.เมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 10 เที่ยว รวม 55 คน 10 ครัวเรือน และแจกจ่ายน้ำดื่มจำนวน 50 แพ็ค และสาขานครพนม จัดเจ้าหน้าที่พร้อมยานพาหนะเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ทันทีที่ได้รับแจ้งเหตุ และจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ พยากรณ์อากาศ รับข่าวสาร
4. สำนักพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำ
สำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 1 (อยุธยา) ปฏิบัติงานร่วมกับสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาอยุธยา นำกำลังเจ้าหน้าที่และเครื่องจักรเข้าช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ ต.ชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จังหวัดชัยนาท เฝ้าระวังพนังกั้นน้ำ ที่ ต.ประศุก อ.อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี นำรถขุดตักดินป้องกันคันดินน้ำท่วมลำสนธิ ต.หนองรี อ.ลำสนธิ จังหวัดลพบุรี นำเรือท้องแบนช่วยเหลือชาวบ้านบริเวณวัดตะกู อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และสนับสนุนทีมกู้ภัยพุทธสวรรค์ เขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่บรรจุกระสอบทราย บริเวณอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 2 (นครสวรรค์) ปฏิบัติงานร่วมกับสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 1 และป้องกันภัยจังหวัด และมูลนิธิร่มไทร ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย และนครสวรรค์
สำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 5 (ตรัง) เตรียมความพร้อมเรือท้องแบนและเรือพระราชทานเฝ้าระวัง ในพื้นที่ อำเภอบ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี
สำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 7 (เชียงใหม่) รถบรรทุก 6 ล้อ ขนส่งวัสดุ เครื่องอุปโภค-บริโภค โดยปฏิบัติงานร่วมกับเทศบาลเมืองเชียงใหม่และป้องกันภัยจังหวัด สนับสนุนรถขุดในการรื้อถอนสิ่งกีดขวางทางน้ำ และซ่อมพนังดินกั้นน้ำ บริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง และองค์การบริหารส่วนตำบลดอนเปา อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
สำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 8 (ขอนแก่น) สนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกับสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 7เข้าช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย และขนย้ายสิ่งของบริเวณวงเวียนน้ำพุฝั่ง อ.เมือง และ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี จำนวน 3 เที่ยว จำนวน 30 คน
สำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 3, 4, 6 เตรียมพร้อมเรือพระราชทาน พร้อมรถบรรทุก เพื่อเข้าปฏิบัติงานร่วมกับ จภ.4 และ จภ.5 เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้
กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้เตรียมความพร้อมอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ และเตรียมพร้อมกำลังคน ยานพาหนะ บูรณาการร่วมกับจังหวัดในการให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ทันทีที่ได้รับแจ้งเหตุ และจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ พยากรณ์อากาศ รับข่าวสาร และสามารถโทรแจ้งได้ที่สายด่วนกรมเจ้าท่า 1199 ตลอด 24 ชั่วโมง