รองเลขาธิการ ส.ป.ก. และผู้ตรวจราชการกรม ร่วมงานประชุมวิชาการกรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2562 “ปฏิรูปภาคเกษตรไทย ด้วยงานวิจัยและพัฒนา” 

นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานการประชุมวิชาการกรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2562 “ปฏิรูปภาคเกษตรไทย ด้วยงานวิจัยและพัฒนา” ได้มอบนโยบายและมอบรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ของกรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2561 พร้อมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการ และผลงานวิจัยดีเด่น รวม 15 เรื่อง การจัดเสวนาทางวิชาการ โดยมี นางสาวเสริมสุข หลักเพ็ชร์  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวรายงาน และผู้บริหารและข้าราชการของกรมวิชาการเกษตรทั้งส่วนกลางและภูมิภาค รวม 900 ราย โอกาสนี้ พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย รองเลขาธิการ ส.ป.ก. พร้อมด้วยนางสาววรรณพร ดอกจำปา ผู้ตรวจราชการกรม ร่วมเป็นเกียรติในพิธี ณ ห้องคอนเวนชั่น ชั้น 4 อาคารคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562

สำหรับผลงานวิจัยดีเด่น ของกรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2562 รวม 15 เรื่อง ได้แก่

ประเภทงานวิจัยพื้นฐาน

  1. ชีววิทยา การเพาะเลี้ยงประสิทธิภาพการกินเหยื่อ และผลกระทบของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อมวนตัวห้ำ (ระดับดีเด่น)
  2. การสร้างคลังฟาจแอนติบอดี้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ เพื่อประยุกต์ใช้ทางการเกษตร (ระดับชมเชย)

ประเภทงานวิจัยประยุกต์

  1. การศึกษาปริมาณสารพิษตกค้างในสินค้าเกษตรส่งออกไปสาธารณรัฐเกาหลี (ระดับดี)
  2. ชีวภัณฑ์บีเอส ควบคุมโรคกุ้งแห้งพริกสู่การใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มผลผลิตพริก (ระดับดี)
  3. ศึกษาชนิดของเชื้อราที่ปนเปื้อนพริกขี้หนูระหว่างการเก็บรักษาและวิธีการควบคุม (ระดับชมเชย)

ประเภทงานพัฒนางานวิจัย

  1. การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนในจังหวัดตรัง (ระดับดี)
  2. จากผลงานวิจัยสู่ไร่นา พัฒนาสู่อุตสาหกรรมในชุมชน (ระดับชมเชย)

ประเภทงานวิจัยปรับปรุงพันธุ์

  1. ตากฟ้า 6: พันธุ์ฝ้ายเส้นใยสีน้ำตาล (ระดับดีเด่น)
  2. ลูกผสมสามทางมะพร้าวทางเลือกใหม่ยกระดับรายได้ชาวสวนยุค 4.0(ระดับดี)
  3. อ้อยพันธุ์อู่ทอง 15 (ระดับชมเชย)

ประเภทงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์คิดค้น

  1. วิจัยและพัฒนาชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินและชุดตรวจสอบคุณภาพน้ำทางการเกษตร (ระดับดี)
  2. การพัฒนาเครื่องดรัมดรายต้นแบบเพื่อผลิตแป้งพรีเจลในการทำผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหาร (ระดับดี)
  3. วิจัยและพัฒนาเครื่องขัดหนามผลสละ สำหรับการส่งออกประเภทงานด้านบริการวิชาการ (ระดับชมเชย)
  4. การพัฒนาห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์สู่มาตรฐานสากล (ระดับดี)
  5. การพัฒนาวิธีตรวจวิเคราะห์พืชและสินค้าพืชดัดแปลงพันธุกรรมตามมาตรฐาน ISO/IEC17025 เพื่อการบริการอย่างมีประสิทธิภาพ (ระดับชมเชย)