แพทย์หญิงปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้เยี่ยมสำรวจ (Surveyor Training Program : Surveyor Camp) รุ่นที่ 1 และสื่อสารทิศทาง นโยบาย การดำเนินงานของสถาบัน กับกระบวนการเยี่ยมสำรวจในอนาคต ที่จัดขึ้นในระหว่างวันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2565 – วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรม อมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ
สำหรับการประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มพูนองค์ความรู้ (knowledge) ทักษะ (skill) และการพัฒนาชิ้นงาน (task) ตาม training needs และ competency level และสอดคล้องกับเกณฑ์ Surveyor Training Program ของ IEEA และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเยี่ยมสำรวจ การประเมินตนเอง เพื่อการพัฒนาทักษะการเยี่ยมสำรวจและ calibration ผู้เยี่ยมในแบบสรพ. ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์และแรงบันดาลใจในการปฏิบัติหน้าที่ผู้เยี่ยมสำรวจอย่างมั่นใจและมีคุณค่า รวมถึงการประเมินการพัฒนาโปรแกรมโดยผู้เรียนและผู้ฝึก
พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการ สรพ. กล่าวว่า ปัจจุบัน สรพ.อยู่ระหว่างการปรับแผนและวิสัยทัศน์ โดยเน้นเพิ่มความเป็นสากล ให้ สรพ. เป็นกลไกการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยให้มีคุณภาพและความไว้วางในระดับสากล อย่างไรก็ดี วิสัยทัศน์นี้ไม่ใช่ของ สรพ. เพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นเป้าหมายร่วมกันกับผู้เยี่ยมสำรวจทุกคนเพราะผู้เยี่ยมสำรวจคือส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพระบบบริการของประเทศ เวลาที่ผู้เยี่ยมสำรวจไปเยี่ยมโรงพยาบาล เวลานำมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (HA) ไปสร้างการเรียนรู้กับโรงพยาบาล สิ่งนี้คือการส่งมอบคุณภาพ โรงพยาบาลจะรับรู้ว่ามาตรฐานเหล่านี้เป็นทิศทางที่สอดคล้องกับระดับสากลและส่งมอบคุณภาพและความไว้วางใจต่อให้กับสังคมได้
พญ.ปิยวรรณ กล่าวอีกว่า ความเป็นสากลที่ สรพ. พยายามผลักดัน คือ The International Society for Quality in Health Care External Evaluation Association (ISQua EEA) ซึ่งเป็น External Evaluation Organization ที่ผ่านการรับรองในส่วนของ Standard Organization ซึ่งทั่วโลกมีเพียง 13 องค์กร และ 1 เดียวในประเทศไทยก็คือ ISQua นั่นเอง โดย สรพ. ได้รับการรับรองจาก ISQua EEA เรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ ยังได้รับการรับรอง International Recognize Surveyor Trainning Program หรือ กระบวนการการพัฒนาผู้เยี่ยมสำรวจ ซึ่งขณะนี้ สรพ.ได้ต่ออายุการรับรองมา 2 ครั้งและกำลังจะต่ออายุครั้งที่ 3 ซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนมาตรฐานไกด์ไลน์สำหรับผู้เยี่ยมสำรวจฉบับใหม่เพื่อเพิ่มคุณภาพผู้เยี่ยมสำรวจมากขึ้นด้วย
“ถามว่าทำไมต้องดิ้นรนทำให้ได้ตามนี้ ก็เพราะเราอยากเป็นมาตรฐานสากล ความสากลในขณะนี้คือมาตรฐาน HA ผ่านการรับรองแล้ว ความเป็นสากลต่อมาคือเราต้องสำรวจให้ได้ว่าประเด็นไหนเป็นประเด็นสากลที่ทั่วโลกให้ความสนใจและประเด็นเหล่านี้ต้องอยู่ในกระบวนการเยี่ยมสำรวจ”พญ.ปิยวรรณ กล่าว