ปลัดสธ.กำชับทุกจังหวัดพีอาร์ 3มาตรการหลัก ควบคุมป้องกันแพร่ระบาดโควิด19 หลังจบเทศกาลสงกรานต์

วันที่​ 20 เมษายน​ ​2565​ เวลา7.30​ น. นายแพทย์ เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวง​สาธารณสุข​ เป็น​ประธาน​​ประชุม​ศูนย์​ปฏิบัติแการ​ฉุกเฉิน​ด้าน​การแพทย์แล​ะสาธารณสุข​กรณี​ โร​คติดเชื้อไ​วรัสโคโรนา​ 2019​ (COVID-19) ผ่านระบบทางไกล (VDO Conference) กับผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อประเมินและติดตามมาตรการควบคุมป้องกันโรคโควิด19ให้เกิดประสิทธิภาพ โดยเฉพาะภายหลังเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา

ปลัดกระทรว​งสาธารณสุข​ กล่าวว่า​สถานการณ์​โรคโค​วิด​19​ ประเทศ​ไทย​ เริ่ม​เห็น​แนวโน้ม​พบจำนวนผู้ติดเชื้อ​ยืนยัน​ลดลง ขณะที่​ผู้ป่วย​อาการ​หนัก​ที่กำลัง​รักษา​ และ​ ผู้ป่วยเสียชีวิต​ยัง​คงมีแนวโน้ม​เพิ่มขึ้น​ต่อเนื่อง​ ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง​กับ​การ​แพร่ระบาดโรคในวงกว้าง​และเข้าไปในกลุ่ม​เสี่ยง​ต่อ​การ​ป่วยหนัก​ คือกลุ่ม​607 ได้แก่ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวนมาก​ได้​

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวต่อว่า ได้ให้ทุกจังหวัดพิจารณา​ตรวจสอบ​ Cluster​ ในสถานที่​เสี่ยง​ในพื้นที่ ให้เน้น​การประชาสัมพันธ์ มาตรการ​ป้องกัน​ควบคุม​โรค​ทั้งในช่วง​เทศกาล​สงกรานต์​ ด้วย​มาตรการ​ Sefl​ Clean-up และ​ 2U:
ส่วนในช่วงเดินทาง​กลับหลังจากสงกรานต์​ เน้น​ 3 มาตรการ​ ประกอบด้วย

1.มาตรการ WFH​ คือทำงานที่บ้าน

2.มาตรการตรวจ​ ATK​ และมีผลเป็นลบ​ก่อนกลับ​เข้าทำงาน​ หรือก่อนเข้าร่วม​กิจกรรม​ที่มีการรวมกลุ่ม​คนจำนวนมาก

3. มาตรการ 2 u ได้แก่

– Univers​al​ Prevention​ ต้อง​สวมหน้ากาก​อนามัย ล้างมือฟอกสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ เว้นระยะ​ห่าง​ ขณะที่​ต้องใกล้​ชิดกลุ่ม​เสี่ยง​ ได้แก่​ ​ผู้สูงอายุ​ เด็กเล็ก​ ผู้​ที่​มี​โรค​เรื้อรัง​ประจำตัว รวมทั้ง​งดทานอาหาร​หรือเครื่อง​ดื่ม​ร่วมกับผู้​สูง​วัย​ หากจำเป็นขอให้ใช้เวลาน้อยที่สุด

– Univers​al​ Vaccination ให้เร่งฉีดวัคซีน​ทุกกลุ่ม​อายุ เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันโรคอย่างเพียงพอ ป้องกันอาการป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตหากติดเชื้อ โดยเฉพาะ​ผู้สูงวัย​ และกลุ่มโรค​เรื้อรัง​

ทั้งนี้ ได้แจ้งให้ทุกจังหวัด​ตรวจสอบ​อัตรา​ครองเตียง​ระดับ​ 2-3​ โดยเฉพาะ​จังหวัด​ที่พบ​ผู้​ป่วยอาการหนัก​ รวมทั้ง​ผู้​ป่วยโควิด​-19​ ที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ​ พร้อม​ทั้งปรับรายงานผู้ติดเชื้​อผ่านทางระบบ​ API เพื่อให้การรายงานผู้ป่วย​อาการหนัก​ และเสียชีวิต​ได้รับการตรวจ​สอบ​สาเหตุ​การป่วยและการเสีย​ชีวิต​อย่างชัดเจน​ โดยเฉพาะ​พื้นที่​จังหวัด​นำร่อง​ Endemic​ Approach​

#กรมสุขภาพจิต