จากข่าวตามสื่อต่าง ๆ จะกล่าวถึงปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกตํ่า เกษตรกรหลาย ๆ กลุ่มจึงออกมาเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน สองฉบับที่แล้วได้กล่าวถึงปัญหาของข้าวและยางพารา ขณะนี้สับปะรด มันสำปะหลังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และปาล์มนํ้ามันก็ออกมาเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือเรื่องเหล่านี้ก็เป็นปัญหามาตลอด
ปัญหาหลัก ๆ ของราคาสินค้าตกตํ่าของทุกพืชจนทำให้เกษตรกรต้องขายสินค้าตํ่ากว่าต้นทุน ก็คงไม่หนีหลักของความสมดุลของอุปทานและอุปสงค์ ถ้าอุปทานของสินค้ามากกว่าอุปสงค์หรือความต้องการของตลาดน้อยกว่าปริมาณการผลิต สินค้าก็จะมีราคาตก แต่ปีใดเกิดวิกฤตการณ์ผลิตทำให้อุปทานน้อยกว่าอุปสงค์ราคาสินค้าก็จะสูง รัฐก็ปลอดภัยมามีม็อบเดินขบวนเรียกร้องให้ช่วยเหลือเรื่องการปรับหรือจัดสมดุลของอุปทานและอุปสงค์ให้ดีฟังดูง่าย ๆ แต่จากคำสัมภาษณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่กล่าวกับนักข่าวถึงราคาสินค้าตกตํ่านั้น “อย่ามาถามผม ผมดูแลเรื่องยาง เรื่องข้าว มันสำปะหลังนั้น กระทรวงพาณิชย์ดูแลอยู่ ส่วนอ้อย กระทรวงอุตสาหกรรมดูแลอยู่” ฟังแล้วก็แปลกดี การที่รัฐบาลยุคหนึ่งมอบให้กระทรวงต่าง ๆ แยกกัน รับผิดชอบก็จริง แต่ภารกิจหลัก ๆ ตามหน้าที่และตามกฎหมาย ก็มีภารกิจต่างกัน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีหน้าที่ด้านการผลิตสินค้าเกษตรทุกชนิด กระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่ควบคุม กำกับดูแลด้านราคา และขบวนการจำหน่ายสินค้าทุกชนิด ทั้งเกษตรอุตสาหกรรม และน่าจะรวมด้านราคาของการบริการและการท่องเที่ยวส่วนกระทรวงอุตสาหกรรม ภารกิจหลักคือ ส่งเสริม สนับสนุนกำกับดูแลให้เกิดอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร ภารกิจที่ต่าง ๆ กันแต่จะมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นคล้ายกับบริษัทอุตสาหกรรมหนึ่ง ซึ่งจะต้องมีหน่วยงานด้านการผลิต (กระทรวงเกษตรฯ) โดยการผลิตก็ต้องรับข้อเสนอแนะ จากหน่วยงานด้านแปรรูปว่าจะต้องการวัตถุดิบแบบใดจำนวนเท่าใด (ก็คือกระทรวงอุตสาหกรรม) โดยทั้ง 2 หน่วยงานก็ต้องรับข้อเสนอแนะจากหน่วยงานด้านการตลาด (กระทรวงพาณิชย์) ว่าสินค้าที่เป็นวัตถุดิบและสินค้าแปรรูป ควรจะผลิตเท่าไร ราคาต้นทุนวัตถุดิบและสินค้าแปรรูป ควรเป็นเท่าใดจึงจะชนะคู่แข่งอื่น ๆ
แต่จากข้อมูลที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึง ภารกิจที่ผ่านมาจึงไม่ถูกต้องกับภารกิจหลักของกระทรวงฯเพื่อแบ่งเบาภาระของรัฐบาลที่จะต้องมาปวดหัวเรื่องราคาสินค้าดังนั้น 3 กระทรวงจะต้องหันหน้ามาหารือกรอบแนวทางการปรับสมดุล เรื่องอุปทานและอุปสงค์ เพื่อให้ทุกอย่างขับเคลื่อนได้ โดยทางสภาพัฒนาหรือคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธานและเลขานุการเรื่องปรับสมดุลถ้าสามารถทำได้จะเป็นการแก้ไขที่ยั่งยืนที่ได้เคยเขียนไว้หลายครั้งแล้ว จนถึงแผน 12 ก็ยังไม่มีกรอบการดำเนินการที่มีเป้าหมายเชิงปริมาณที่ชัดเจน ดังนั้นก็จะขอจบด้านสมดุลของอุปทานและอุปสงค์ของสินค้าเกษตรไว้ก่อน
สิ่งที่จะกล่าวครั้งนี้ ต้องสมมุติว่ารัฐมีการจัดสมดุลการผลิตได้สอดคล้องกับอุปสงค์ได้แล้ว เช่น ข้าว ทั้งนาปี นาปรังจะผลิตข้าว 30 ล้านต้นข้าวเปลือก จะต้องใช้พื้นที่นาปี+นางปรังประมาณ 75 ล้านไร่ อ้อย 15 ล้านไร่ มันสำปะหลัง 8 ล้านไร่ ยาง18 ล้านไร่ (รัฐคงต้องไปหาทางลดพื้นที่ยางจากปัจจุบันมีประมาณ23 ล้านไร่ลง) ปาล์มนํ้ามัน 6 ล้านไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 6 ล้านไร่สับปะรด 1 ล้านไร่ รวมพื้นที่ทั้งหมด 129 ล้านไร่ ที่เหลือจากการปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้นอื่น ๆ อีกประมาณ 21 ล้านไร่ จะใช้ทำอะไร?ที่รัฐจะประกันราคาได้ ปัญหาการเรียกร้องด้านราคาก็จะลดลงเมื่อรัฐกำหนดพื้นที่การพัฒนาพืชต่าง ๆ ได้ ปัญหาต่อไปก็คือ จะพัฒนาสินค้าอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ รัฐโดยเฉพาะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติว่า เกษตรกรจะอยู่ได้จะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตจากวิธีเดิมไปเป็น “เกษตรก้าวหน้า” โดยเน้นกระบวนการที่เน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในขณะเดียวกันก็เน้นระบบเกษตรอินทรีย์ ที่ห้ามใช้สารเคมี และรวมถึงปุ๋ย”
แต่ในหลักวิชาการเกษตร “ปุ๋ย” เป็นแหล่งหรือวัสดุที่ให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยมีการจำแนกปุ๋ยเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย
- ปุ๋ยเคมี หรือ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ที่เกิดจากการสังเคราะห์ทางเคมีและแร่บางชนิด ซึ่งปุ๋ยนี้จะมีธาตุอาหารที่จำเป็นมากกว่าร้อยละ 20 ตาม พ.ร.บ. ปุ๋ยที่กำหนดไว้
- ปุ๋ยอินทรีย์ คือ อินทรีย์สารที่เกิดจาการบดหมักหรือเป็นพวกมูลสัตว์ โดยตาม พ.ร.บ. ปุ๋ยกำหนดไว้ว่าจะต้องมีไนโตรเจน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ฟอสฟอรัสไม่น้อยกว่า 0.5 และโพเทสเซียม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 สรุปปุ๋ยชนิดนี้มีธาตุอาหารประมาณร้อยละ 2 ซึ่งเป็นปริมาณน้อยมาก จนไม่น่าจะเรียกว่าปุ๋ย
- ปุ๋ยชีวภาพ คือ จุลินทรีย์ หรือสาหร่าย ที่สามารถปลดปล่อยหรือตรึงไนโตรเจนในอากาศได้ แต่ตาม พ.ร.บ.ปุ๋ย จะต้องมีจุลินทรีย์ แต่ละชนิดไม่ตํ่ากว่า x106
สำหรับเรื่องปุ๋ยที่จะกล่าวถึงในระบบเกษตรก้าวหน้านี้จะกล่าวถึงปุ๋ยเคมีเท่านั้น เพราะว่าปุ๋ยเคมี นับเป็นปัจจัยการผลิตที่มีผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพผลผลิต แต่เป็นเรื่องสับสนของคนทั่ว ๆ ไป และของรัฐ ทำให้กลับมีนโยบายที่จะลดการใช้ปุ๋ยเคมี ทั้ง ๆ ที่กล่าวว่าเกษตรก้าวหน้าจะต้องใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้น เกษตรกรเองก็คงสับสน?
จากสถิติการนำเข้าปุ๋ยเคมีย้อนหลัง 4 ปี เริ่มจากปี 2555 – 2558 เราคงต้องมาพิจารณาว่า เกษตรกรบ้านเรามีการปุ๋ยมากจริงหรือปริมาณปุ๋ยนำเข้าปี 2555 – 2558
จากข้อมูลมีการนำเข้าปุ๋ยเคมีหลากหลายชนิดทั้งประเภทแม่ปุ๋ยที่ในมาผสมขายในประเทศ และปุ๋ยผสมเสร็จพร้อมใช้ และปุ๋ยอื่น ๆ ที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาการผลิตพืชโดยจากข้อมูล 4 ปี ปรากฏว่ามีแนวโน้มการใช้ปุ๋ยจะเพิ่มขึ้นจาก5.3 ล้านต้น เป็น 5.5 ถึง 5.6 ล้านตันต่อปี แต่ในปี 2558 จากสภาพความแปรปรวนของดิน ฟ้า อากาศ พืชผลเสียหาย ปริมาณการใช้ปุ๋ยกลับลดลงเหลือ 4.6 ล้านตัน แต่โดยเฉลี่ย 4 ปี จะมีการใช้ปุ๋ยประมาณ 5.3 ล้านตัน …
การปลูกพืชของไทยมานานกว่า 50 ปี ผลผลิตกลับลดลงทั้งที่มีการใช้ปุ๋ยเพิ่มขึ้นนั้น เป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไปกับทุกชนิด…
กลับมาถึงนโยบายการลด ละ เลิก การใช้ปุ๋ยเคมีของทางราชการ เพราะตัวเลขปุ๋ยนำเข้ามากหรือ ก็คงจะไม่ใช่ แต่เป็นกระแสความกดดันจาก WGO หรือบุคคลที่ไม่หวังดีต่อการพั ฒนาเกษตรไทย เพราะประเทศไทย มีพื้นที่การเกษตร 150,000,000 ไร่ คำนวณพื้นที่เพราะปลูกกับปริมาณการใช้ปุ๋ยจะเห็นว่า ประเทศไทยใช้ปุ๋ยโดยรวมประมาณไร่ละ 35 กิโลกรัม ในขณะที่เกาหลี ญี่ปุ่นใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อการผลิตพืชไร่ละ 150 -200 กิโลกรัมจากการปลูกพืชและมีการดูแลด้านโภชนาการของพืชอย่างเหมาะสมสมดุล ผลผลิตทั้ง 2 ประเทศจึงมีคุณภาพดี ขายได้ราคาและไม่มีมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อม จึงเป็นเรื่องน่าแปลกที่ประเทศไทยใช้ปุ๋ยเพียง 35 กิโลกรัมต่อไร่ ถูกกล่าวหาว่าใช้มากจนทำลายสิ่งแวดล้อม ส่วนการปลูกพืชของไทยมานานกว่า 50 ปีผลผลิตกลับลดลงทั้งที่มีการใช้ปุ๋ยเพิ่มขึ้นนั้น เป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไปกับทุกชนิดในระบบการปลูกพืชในระบบใหม่ ที่เน้นการใช้พันธุ์ดี มีการไถพรวนถูกต้อง มีการดูแลเรื่องโรคแมลงอย่างถูกวิธี แต่ถ้าให้ลดหรือเลิกการใช้ปุ๋ยเคมี ก็เสมือนการเลี้ยงสัตว์ด้วยสายพันธุ์ดี แต่ให้กินอาหารพวกหญ้า พวกผัก โดยขาดโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตสัตว์ก็จะแคระแกรน ในทำนองเดียวกันการพัฒนาพืชในระบบเกษตรก้าวหน้า แต่ขาดการใช้ปุ๋ย หรือใช้ปุ๋ยไม่ถูกต้อง การพัฒนาพืชก็จะขาดประสิทธิภาพ คุณภาพไม่ดี ส่งผลต่อราคาผลผลิตลดลง
เรื่อง “ปุ๋ยเคมี” ในระบบเกษตรก้าวหน้าจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทางราชการน่าจะต้องกลับมาพิจารณา เพื่อจะไม่ให้เกิดความเสียหายจนไม่สามารถเยียวยาได้ ที่สำคัญการพัฒนาเกษตรกรให้มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ก็จะยังห่างไกลออกไปอีก