วันนี้พี่หนุ่ม-สุทนขอแนะนำให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปเที่ยวอยุธยา นั่งเล่นแบบชิวๆ บนรถไฟไทย ถึงก็ชั่ง ไม่ถึงก็ชั่ง ปู๊นๆ ฉึกฉักๆ เป็นคำพูดที่กล่าวถึงรถไฟไทยในอดีต แต่รถไฟไทยปัจจุบัน ทันสมัยขึ้นมากขอบอกนะ พอได้ฟังแล้วมีเสียงร้องโอ้โห้!!!ไม่ต้องร้องนะขอบอก ทันสมัยแล้วรถไฟไทย มีเลือกหลายขบวน 1.รถธรรมดาขบวนจะยาวมากไม่ต้องแย่งชิงกันขึ้นฮึๆ 2.รถด่วนขบวนสั้นลงหน่อยดูดีนะ วิ่งได้เร็วขึ้นฮ่าๆ ขอบอก 3.รถด่วนขบวนพิเศษสะดวกสบายแอร์เย็นดี นอนได้ นั่งได้(ขอยกตัวอย่างแค่นี้ก่อน รถไฟมีดีอีกหลายขบวน)
การเดินทางไปเที่ยวอยุธยากรุงเก่าราชธานี417ปี โดยเฉพาะนั่งเล่นบนรถไฟแบบสบายใจไม่ต้องคิตอะไรมาก ออกเดินทางประมาณ 7 โมงเช้าไปสถานีหัวลำโพง รถไฟใช้เวลาแล่นในทางรถไฟหยุดจอด ทุกสถานี จนกว่าจะถึงสถานีอยุธยาประมาณ3ชั่วโมง ปู๊นๆเข้าเทียบชานชาลา (ผู้โดยสารจะได้ยินเสียงชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง โปรดตรวจสอบสำภาระให้เรียบร้อยท่านอาดจะลืมสิ่งของไว้บนขบวนรถ เสียงประกาศจำได้แน่นยำสมัยใช้บริการรถไฟไม่ต้องขำ ฮ่าๆ) ขอแนะนำพอลงที่สถานีรถไฟอยุธยาแล้ว นักท่องเที่ยวไม่ต้องรีบร้อนใจเย็นๆ มองข้ามไปเห็นป้ายบอกวิหารหลวงพ่อคอหัก(ฟังดูน่ากลัว แต่องค์ท่านเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของชาวอยุธยา)
พี่หนุ่ม-สุทนขอเล่าเรื่องให้ฟัง ย้อนกลับไปในปี2475 ประมาณ87ปี ที่ผ่านมา มีเรื่องราวเล่าขานเกี่ยวกับนายสถานีรถไฟ ชื่อคุณพวง อุณจักร ย้ายมาจากสถานีรถไฟทุ่งสงนครศรีธรรมราช เพื่อมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าสถานีรถไฟอยุธยาและได้เดินสำรวจพื้นดินบริเวณนี้ ปรากฎว่าเห็นกองดินเป็นโคกสูงและเป็นที่เลี้ยงควายของชาวบ้าน ก็เลยเดินไปดูที่กองดินโคกสูงพบชิ้นส่วนพระพุทธรูปแตกหัก คุณพวงได้จัดเก็บชิ้นส่วนพระพุทธรูปไว้ แล้วได้ตัดหญ้าถางป่าให้เกิดความสะอาด คุณพวงได้บอกให้ชาวบ้านบริเวณนี้มาช่วยกันประกอบองค์พระพุทธรูปให้เต็มองค์สมบูรณ์แบบเหมือนเดิม แล้วเดินทางไปวัดพระญาติการาม นิมนต์หลวงพ่ออั้น(ท่านพระครูศิลกิตติคุณ)ท่านเป็นพระวิปัสสนากรรมฐานเป็นที่รักและเคารพของชาวอยุธยากรุงเก่าเพื่อเดินทางมาประกอบพิธีปลุกเสกต่อพระเศียรพระพุทธรูปองค์นี้ตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา จนแล้วเสร็จและชาวบ้านในชุมชนที่เดินทางมาร่วมงานพิธีปลุกเสกนี้ เรียกว่า(หลวงพ่อคอหัก)หลวงพ่อคอหักเป็นพระพุทธรูปสร้างด้วยศิลาแลงหินทรายปิดทององค์ท่านเหลืองอร่าม (พี่หนุ่ม-สุทน ขอสันนิษฐานส่วนตัว น่าจะเป็นสมัยลพบุรี เพราะว่าแต่เดิมบริเวณนี้ใกล้ๆ กับท่าเรือเมืองอโยธยาเมืองคู่แฝดกับเมืองลพบุรี)ต่อมาสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีและเมื่อไทยเราเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่2 ปี2309 หรือ ปี2310 องค์พระพุทธรูปอาดจะถูกทำลายหรือถูกทิ้งขว้างแล้วชำรุดตามกาลเวลาก็ได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ชาวสถานีรถไฟอยุธยา ได้โชคลาภกันหลายคน จึงมาช่วยกันจัดสร้างวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อคอหัก และต่อมาชาวบ้านประชุมหารือกัน(จะเรียกหลวงพ่อคอหักต่อไปมั้ย)และแล้วสิ่งมหัศจรรย์ก็เกิดขึ้น มีพระภิกษุสงฆ์เดินธุดงค์มาที่วิหารหลวงพ่อคอหัก(แล้วกล่าวว่าวิหารพระสุริยมุนี)แล้วเดินธุดงค์จากไป ดังนั้นหลวงพ่อคอหัก(มีชื่อเรียก หลวงพ่อพระสุริยมุนีตั้งแต่นั้นมา)
พี่หนุ่ม-สุทนเดินทางไปนมัสการขอพรมาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมชาวบ้านในชุมชน ส่วนใหญ่เป็นแม่ค้าขายของหน้าวิหารหลวงพ่อคอหักหรือหลวงพ่อพระสุริยมุนี เล่าเรื่องให้ฟังมีคนมาแก้บนท่านชอบลิเกหรือวงกลองยาวค้า แล้วพี่หนุ่ม-สุทนเดินทางต่อข้ามถนนหน้าสถานีรถไฟ มีถนนเล็กๆ ไปสุดแม่น้ำป่าสัก แต่เดิมนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาตินิยมเช่าจักรยานแล้วข้ามเรือไปขึ้นท่าตลาดเจ้าพรม ปัจจุบันเปลี่ยนไป?ตามยุค กลายร่างเป็นรถยนต์มอเตอร์ไซค์เกือบจะหมดแล้วฮ่าๆโอ้โห้!!!ด้วยความสะดวกสบายของรถเครื่อง ว้าวภาษาท้องถิ่น เค้าเรียกรถเครื่อง แต่ใช้จักรยานปั่นชมบ้านเรือนเก่าๆ เข้าชมโบราณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาหรืออยุธยากรุงเก่าเท่ากับได้ออกกำลังกายเพิ่มพลังงานร่างกายแข็งแรงด้วยนะ น่าสนใจมากๆ สำหรับปั่นจักรยานเที่ยวอยุธยาแวะวัดมหาธาตุ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง วัดพระศรีสรรเพชญและวิหารพระมงคลบพิตร พอเหนื่อยมานั่งพักร้านกาแฟสด ย”ยุดยา ตรงสี่แยกไฟแดง ดื่มกาแฟสดบวกเมล่อนหวานเย็นๆ ปลอดสารพิษของเกษตรชาวสวนอยุธยา และได้เวลาพอสมควรนำจักรยานมาคืนให้ร้านแล้วเดินทางกลับกรุงเทพมหานครโดยรถไฟไทยนะจ๊ะจะบอกให้ปู๊นๆ ฉึกฉักๆ ถึงก็ชั่ง ไม่ถึงก็ชั่ง แต่ถึงกรุงเทพฯแน่นอนครับ วันนี้พี่หนุ่ม-สุทนขอจบเรื่องราวอยุธยากรุงเก่าไว้แค่นี้ก่อน ตอนหน้าจะเล่าเรื่องให้ฟังอีกนะจ๊ะ