การประชุมใหญ่ “คณะทำงานสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ และคอนเน็กซ์-อีดี”

ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และ 12 องค์กรเอกชนชั้นนำ ร่วมประชุมหัวหน้าคณะทำงานสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ และโครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน หรือคอนเน็กซ์-อีดี” เพื่อร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการระยะที่ 2 ที่จะขยายไปยังโรงเรียนกว่า 4,600 โรงเรียนทั่วประเทศ ตอบโจทย์วิสัยทัศน์ในการพัฒนาคุณภาพคน ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

เมื่อวันอังคารที่ 24 เมษายน 2561 ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการกลาง CONNEXT ED ชั้น 31 อาคาร AIA Capital Center ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ ได้มีการประชุมหัวหน้าคณะทำงาน โครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E5) และโครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน (CONNEXT ED) โดยได้รับเกียรติจาก นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานภาครัฐ โครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ พร้อมด้วย ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับภาคประชาสังคม และ 12 ซีอีโอองค์กรเอกชนชั้นนำระดับประเทศ ผู้ก่อตั้งโครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน (CONNEXT ED) เข้าร่วมประชุมหารือ การเดินหน้าสานต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการปีแรก 3,351 โรงเรียน มุ่งสู่การดำเนินงานระยะที่ 2 เพิ่มอีก 1,246 โรงเรียน ทำให้ขยายเครือข่ายโรงเรียนประชารัฐในระยะที่สอง รวมเป็น 4,597 โรงเรียน ซึ่งจะตอบโจทย์วิสัยทัศน์ในการพัฒนาคุณภาพคน ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตาม 10 ยุทธศาสตร์ที่มีมาตรฐานและดัชนีชี้วัดระดับสากลรองรับชัดเจน

  • ความสำเร็จโครงการระยะที่ 1 ที่เกิดขึ้นกับ 3,351 โรงเรียน

ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของการยกระดับการศึกษา ตามโครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E5) และโครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน (CONNEXT ED) ที่เกิดขึ้น นำโดยรัฐบาลภายใต้แกนนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญในการผนึกกำลังจากทุกภาคส่วน (ภาครัฐ-ประชาสังคม-เอกชน) ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต ด้วยความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน จุดประกายสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมไทย ผ่านการสนับสนุนโรงเรียนประชารัฐในระยะที่ 1 จำนวน 3,351 โรงเรียน ใน 77 จังหวัด จาก 225 เขตพื้นที่การศึกษา ครอบคลุมนักเรียนจำนวน 749,349 คน

ในวันนี้ ทุกภาคส่วนได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐที่เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมพัฒนา การศึกษา และภาคประชาสังคม ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านวิชาการ รวมถึงภาคเอกชน 12 องค์กรผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ ผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน (CONNEXT ED) ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ กลุ่มเซ็นทรัล บมจ. ซีพี ออลล์ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร กลุ่มมิตรผลและบมจ.บ้านปู บมจ.ปตท. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) บมจ.ปูนซิเมนต์ ไทย บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ บมจ.ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป และ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ที่เป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยง 10 ยุทธศาสตร์พร้อมผลักดันแผนพัฒนาด้วยผู้นำรุ่นใหม่ School Partner ไปสู่โรงเรียนประชารัฐ จนเห็นผลสัมฤทธิ์สร้างเด็กดี-เด็กเก่งได้อย่างเป็นรูปธรรม

  • 10 ยุทธศาสตร์ที่นำไปสู่ความสำเร็จของโครงการระยะแรก

ความสำเร็จจากการขับเคลื่อนโครงการระยะแรก กว่า 2 ปีที่ผ่านมา มีผลมาจากการวางแผนและดำเนินการตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ และ 10 ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ดังนี้

  • ผลแห่งความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมชัดเจน

1) ตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐ (KPIs) และการแบ่งเกณฑ์โรงเรียน (School Grading)  การจัดทำตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐ (KPIs) เพื่อประเมินการพัฒนาของโรงเรียนอย่างเป็นระบบ และการจัดระดับคุณภาพ โรงเรียนเพื่อแบ่งเกณฑ์โรงเรียน (School Grading) ตามระดับการพัฒนาในขั้นต่าง ๆ เปิดเผยสู่สาธารณะอย่างโปร่งใส ผ่านเว็บไซต์ www.pracharathschool.go.th และ Pracharath Application สามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบข้อมูล โรงเรียนได้ทั้งระดับประเทศ ภาค จังหวัด และรายโรงเรียน เพื่อประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาโรงเรียนในระยะต่อไป

2) LEARNING CENTER  จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (LEARNING CENTER) ใน 5 ภูมิภาค เพื่อเชื่อมโยงการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการจัด การศึกษาและพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

3) Knowledge Based Learning   มอบสื่อ ICT ในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เพื่อใช้ในการเรียนการสอน พร้อมเผยแพร่บน www.pracharathschool.go.th และจัดทำ CONNEXT ED Studio บันทึกและถ่ายทอดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญสู่นักเรียนและครูทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่ทันสมัย ลดปัญหาการขาดแคลนครูไม่ครบวิชา

4) High Speed Internet / การมอบอุปกรณ์ ICT เพื่อการศึกษา  ติดตั้งระบบเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (High Speed Internet) 1,294 โรงเรียน เพื่อเชื่อมต่อแหล่งการเรียนรู้จากทั่วทุกมุมโลกมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน และติดตั้งอุปกรณ์ ICT เพื่อการศึกษาในทุกห้องเรียน จำนวน 39,829 ห้องเรียน

5) SCHOOL PARTNER จัดอบรมหลักสูตรพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ การพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ (School Partner)  ซึ่งเป็นตัวแทนจาก 12 บริษัทเอกชน ภายใต้โครงการ CONNEXT ED เพื่อเสริมทักษะในด้านต่าง ๆ ในการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ร่วมวางแผนพัฒนาโรงเรียนกับผู้บริหารโรงเรียน โดยในระยะที่ 1 มี School Partner จำนวน 714 คน ได้ลงพื้นที่ดูแลโรงเรียนประชารัฐจำนวน 2,025 โรงเรียน (1,326 โรงเรียน อยู่ภายใต้การสนับสนุนของภาครัฐ)

6) โครงการผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ICT TALENT)  คัดเลือกเหล่าผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากทั่วประเทศ ปฏิบัติงานในโรงเรียนประชารัฐ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพครู นักเรียน และชุมชน ผ่านการใช้สื่อและความรู้ ICT โดยมี ICT Talent จำนวน 100 คน ในปี 2560 และจะขยายผลเพิ่มอีก 100 คน ในปี 2561

7) การสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาโรงเรียน  การสนับสนุนโรงเรียนประชารัฐของ 12 องค์กรเอกชน ผ่านการจัดทำแผนพัฒนาโรงเรียนตามยุทธศาสตร์ของโครงการใน ด้านต่าง ๆ อาทิ การสนับสนุนหลักสูตรวิชาการ วิชาชีพ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เกิดเป็นโครงการต้นแบบที่ช่วยยกระดับการศึกษาของโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมงบประมาณสนับสนุนกว่า 322 ล้านบาท

8) Partnership Program  จุดมุ่งหมายสำคัญของการจัดการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญยิ่ง คือ “การสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อ ยกระดับการศึกษาไทย” ทางโครงการจึงได้จัดทำรูปแบบการสนับสนุนการจัดการศึกษา เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการสร้าง “เด็กดี เด็กเก่ง” โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมทั้งนิติบุคคล ในรูปแบบบริษัทหรือสถาบันต่าง ๆ และบุคคลธรรมดา โดยสามารถสนับสนุนได้ทั้งด้านผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาหลักสูตรการสอน การจัดอบรมต่าง ๆ หรือด้านงบประมาณ

  • แผนปฏิบัติการเร่งรัด (Quick Win 2018)

สำหรับการประชุมครั้งนี้ เป็นการรายงานผลการดำเนินโครงการระยะที่ 1 (2559-2560) และเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการศึกษา 3 ภาคส่วน รวมทั้งวางเป้าหมายแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการเร่งรัด ระยะที่ (ปี 2561-2562) โดยมีแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้

• Job Demand Platform  การสร้างฐานข้อมูลด้านตลาดงานทุกภาคอุตสาหกรรมในอดีตและแนวโน้มในอนาคต เปิดเผยสู่สาธารณะ โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ กระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลัง กรมสรรพากร ในการรวบรวมและเปิดเผยข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการเตรียมกำลังคนและพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่ตรงกับความต้องการของตลาดงานในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างแท้จริง

• โรงเรียนประชารัฐ ระยะที่ 2  ขยายการสนับสนุนโรงเรียนประชารัฐเพิ่มอีก 1,246 โรงเรียน ในปี 2561 มุ่งสู่เป้าหมาย 10-15% ของโรงเรียนทั่วประเทศ โดยมีการขับเคลื่อน 10 ยุทธศาสตร์ และขยายผลความร่วมมือสู่ภาคีในภาคส่วนต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

• Capability Center  ภาคเอกชนเข้าร่วมพัฒนา Capability Center ในสถาบันอาชีวศึกษา ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณของภาครัฐ เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ ฝึกทักษะอาชีพ ที่สามารถเชื่อมโยงการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยมีเป้าหมายในการจัดตั้งศูนย์มากกว่า 10% ของสถาบันอาชีวศึกษา (ประมาณ 80 ศูนย์)

• Partnership School  การต่อยอดโรงเรียนประชารัฐสู่โครงการ “โรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) ที่เปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียน ให้ความเป็นอิสระและคล่องตัวในการบริหารการศึกษา ทั้งในด้านการบริหารบุคคล งบประมาณ การจัดการเรียนการสอน โดยมีเป้าหมายในการขยายผลสู่ 77 โรงเรียนทั่วประเทศ

• Media & Digital Media
– เพิ่ม 1 นาทีในทุกชั่วโมง ช่วง Prime Time เพื่อสื่อสารคอนเทนต์ด้านการศึกษา
– ผลักดัน Media & Digital Media เข้ามาส่งเสริมการรับรู้เพื่อสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมด้านการศึกษาของทุกภาคส่วน (Shaping Cultures)

ทั้งนี้ โครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E5) และโครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน (CONNEXT ED) จะยังเดินหน้าขยายบทบาทความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพิ่มเติม ทั้งองค์กรเอกชนอื่น ๆ และเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เปิดมิติใหม่ด้านความสำเร็จทางการศึกษา เสริมสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคม สู่ความก้าวหน้าก้าวไกลทางระบบการจัดการศึกษาได้อย่างทัดเทียม

ส่วนหนึ่งของความคิดเห็น
จากตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชน และ
ภาคประชาสังคม

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน  “นโยบายประชารัฐเป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนช่วยคิดช่วยทำ ในส่วนของโรงเรียนประชารัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมก็ได้เข้าไปร่วมดำเนินการในหลากหลายรูปแบบ โดยภาครัฐก็เปิดกว้างด้วยสปิริตในการร่วมกันสร้างและปฏิรูปการศึกษาให้เกิดขึ้นจริง หลายแห่งมีรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกัน ต้องแชร์ Practice ด้วยกันเพื่อนำไปสู่การพัฒนา ดังนั้นการดำเนินโครงการโรงเรียนประชารัฐระยะต่อไปไม่ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลวก็ถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกภาคส่วน จึงขอขอบคุณ CEO ของทุกหน่วยงานที่มีส่วนร่วมและมีความตั้งใจที่เข้ามาแบ่งปันและช่วยกันปฏิรูปการศึกษาจริง ๆ”

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลโครงการสานพลังประชารัฐของรัฐบาล  “แนวทางการดำเนินงานของโรงเรียนประชารัฐเป็นสิ่งสำคัญที่ตอบโจทย์การเตรียมความพร้อมและพัฒนาคนให้สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 New S-Curve และระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) โดยมุ่งเน้นการประสานงานและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ซึ่งมีส่วนช่วยการปฏิรูปการศึกษาในขณะนี้อย่างมาก เพราะกล้าคิดนอกกรอบ และกล้าเปลี่ยนแปลง

สำหรับการดำเนินงานในระยะที่สอง ขอฝากประเด็นสำคัญ 5 ด้าน คือ 1) การจัดทำฐานข้อมูลที่มีความชัดเจนเกี่ยวกับอัตราเงินเดือน อัตราการได้งาน และอัตราการว่างงานของแต่ละอาชีพ เพื่อเป็นข้อมูลให้นักเรียนและผู้ปกครองในการวางแผนศึกษา 2) การขับเคลื่อนการปฏิรูป โดยเฉพาะการจัดทำแผนแม่บทซึ่งสามารถนำเนื้อหา รายละเอียด และข้อคิดเห็นของโรงเรียนประชารัฐใส่ไว้ในแผนแม่บทได้ 3) กลยุทธ์ด้านสื่อและดิจิทัล อาทิ การที่กระทรวงศึกษาธิการมีเว็บไซต์ tuifree.com ซึ่งถือเป็นสื่อที่สำคัญที่ทำให้เด็กเข้าถึงสื่อการศึกษาในยุคดิจิทัล 4) การสร้างบัณฑิตและอาชีวะพันธุ์ใหม่ ซึ่งจะตอบโจทย์การพัฒนาและความต้องการกำลังคนของประเทศ 5) มุ่งเน้นการลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา”

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหัวหน้าทีมภาครัฐ  “หากเปรียบว่าการศึกษาไทยเป็นคนไข้ ก็ถือว่าอยู่ในช่วงวิกฤตหนัก แต่ขณะนี้ได้เข้ามารักษาในโรงพยาบาลที่มีคุณภาพตามโครงการโรงเรียนประชารัฐ ซึ่งเน้นความร่วมมือจากภาคประชาสังคม และภาคเอกชนที่ประสบความสำเร็จมาช่วยกันทำให้ฟื้นขึ้น วันนี้จึงถือเป็นประจักษ์พยานที่เป็นรูปธรรมชัดเจนของการปฏิรูปการศึกษา แต่ผลของการปฏิรูปการศึกษาในวันนี้ หลายเรื่องต้องใช้เวลาจึงจะสามารถเห็นผลได้ในหลายสิบปีข้างหน้า

การทำงานร่วมกัน มีหลายเรื่องที่รัฐได้เรียนรู้จากภาคเอกชน หลายเรื่องเป็นมุมมองในการพัฒนาโรงเรียนของภาคเอกชน ที่แม้จะมีมุมมองที่แตกต่างกัน แต่ก็มีปลายทางเดียวกัน วันนี้จึงเป็นเรื่องน่าดีใจที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ต่างได้เรียนรู้แนวทางการทำงานร่วมกันในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เพื่อกำหนดทิศทาง กลยุทธ์ การวัดและประเมินผลการปฏิรูปให้ชัดเจน จึงเชื่อว่าการระดมความเห็นและความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จะสามารถผลักดันการปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จได้”

ศาสตราจารย์คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  “ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการกำลังดำเนินโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา หรือ Partnership School ซึ่งมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับโรงเรียนประชารัฐ โดยถือเป็นอีกโครงการหนึ่งที่ขยายผลมาจากการดำเนินงานของโรงเรียนประชารัฐตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ โรงเรียนร่วมพัฒนาเป็นโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐเช่นเดิม ในขณะเดียวกันก็จะมีภาคเอกชน ชุมชน และผู้ปกครองในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียนด้วย ขณะนี้มีโรงเรียนในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา จำนวน 40 แห่ง ที่พร้อมเปิดทำการเรียนการสอนภายในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ซึ่งคาดหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาของคนในพื้นที่ได้”

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานกรรมการคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา  “ปัญหาคุณภาพการศึกษาไทยอยู่ในขั้นวิกฤติและรุนแรงมาก สภาพของสถาบันอุดมศึกษาจำนวนมากไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ การบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ แสดงให้เห็นว่าการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาเมื่อปี 2542 ยังไม่สำเร็จ ดังนั้นเราต้องมองไปข้างหน้า หากครั้งนี้เราปฏิรูปการศึกษาไม่สำเร็จ อนาคตของประเทศจะเป็นอย่างไร การเข้ามามีส่วนร่วมของ 12 ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ทำให้ผู้บริหารของหน่วยงานที่เข้ามาช่วยได้พบเห็นปัญหาต่าง ๆ และช่วยคิดหาวิธีการแก้ไข แม้แต่หลักสูตรและการเรียนการสอนก็เป็นสมรรถนะที่ต้องสร้างขึ้นใหม่ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มีทิศทางที่ถูกต้องในการปฏิรูปการศึกษา ในส่วนของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ก็จะนำข้อมูลส่วนนี้ไปดำเนินการต่อ เพื่อร่วมพัฒนาการศึกษาของไทยต่อไป”

ผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้
ประกอบด้วย

ภาครัฐ 
– นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
– ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
– ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานกรรมการคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
– ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
– ม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
– ดร.วีรสิทธิ์ สิทธิไตรย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
– ดร.ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานกรรมการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
– รศ.ดร.เอกชัย กี่สุข
พันธ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการบริหารการศึกษา) คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และประธานคณะอนุกรรมการ ด้านการบริหารจัดการโรงเรียนประชารัฐฯ
– ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ฯลฯ

ภาคประชาสังคม
– ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้บริหารสูงสุดโรงเรียนสัตยาไสย
– ดร.วิทิต รัชชตาตะนันท์ ผู้อำนวยการโรงเรียนปัญญาประทีป

ภาคเอกชน
นำโดย นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ / ประธานคณะกรรมการ บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานภาคเอกชน โครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ CONNEXT ED ได้แก่
– บมจ. ธนาคารกรุงเทพ โดย นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่และกรรมการบริหาร
– บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ โดย นางสาวอานุสรา จิตต์มิตรภาพ ที่ปรึกษา
– กลุ่มเซ็นทรัล โดย ดร.ชาติชาย นรเศรษฐาภรณ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส
– บมจ. ซีพี ออลล์ โดย นายธานินทร์ บูรณมานิต กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
– บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร โดย นายเอนก บุญหนุน ประธานคณะบริหารโครงการ
– กลุ่มมิตรผล โดย นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ บมจ.บ้านปู
– บมจ. ปตท. โดย นายกฤษณ์ อิ่มแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารองค์กรและความยั่งยืน
– บมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์ โดย นายอาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
– บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย โดย นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่
– บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ โดย นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่
– บมจ. ไทย ยูเนี่ยนกรุ๊ป โดย นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

ขอบคุณภาพและข้อมูล จาก www.thaigov.go.th