พช.ศรีสะเกษ จับมือ ประธานศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน ร่วมรายการ “ผู้ว่าฯ มาแล้ว” นำเสนอ การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ โคก หนอง นา โมเดลฯ ต้นแบบการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) จังหวัดศรีสะเกษ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดศรีสะเกษ (สวท.ศรีสะเกษ)
วันที่ 28 มกราคม 2565 เวลา 06.00 – 07.00 น. ณ ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” นางพรรณี ต้อไธสงค์ หมู่ที่ 10 บ้านเตาเหล็ก ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วย นางสาวชนมณัฐ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นางสาววริศรา โสภาค พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ นายศราวุธ ทรงโฉม นายอำเภอห้วยทับทัน นางพรรณี ต้อไธสง ประธานศูนย์จิตอาสาพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมรายการ “ผู้ว่าฯ มาแล้ว” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดศรีสะเกษ (สวท.ศรีสะเกษ) แบบ New Normal เพื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ ซึ่งออกอากาศทุกวันศุกร์ ระหว่างเวลา 06.00 – 07.00 น. ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดศรีสะเกษ คลื่นความถี่ Fm 100.25 mhz และ Facebook : สวท.ศรีสะเกษและถ่ายทอดไปยังหอกระจายข่าวทุกหมู่บ้าน/ชุมชน อำนวยการผลิตโดย นางสาวพรนภา ชาชุมพร ผู้อำนวยการ สวท.ศรีสะเกษ ดำเนินรายการโดย นางสาวมลฤดี ลูกอินทร์ โดยนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจในรอบสัปดาห์
โอกาสนี้ นางสาวชนมณัฐ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้นำเสนอประเด็นการขับเคลื่อนการดำเนินงาน โคก หนอง นา โมเดล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กรมการพัฒนาชุมชนได้จัดสรรงบประมาณในการดำเนินงาน “โคก หนอง นา โมเดล” ภายใต้โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 66 ครัวเรือน แยกเป็นพื้นที่ขนาด 1 ไร่ จำนวน 23 ครัวเรือน และขนาดพื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 43 ครัวเรือน ซึ่งตอนนี้ทั้ง 66 ครัวเรือนได้ผ่านการฝึกอบรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการขุดปรับแปลงที่ดินให้เป็นโคก หนอง นา โมเดล ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคม 2565
กอรปกับ กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) โดยเทียบเคียงโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล แต่ขยายขอบเขตกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขึ้น โดยเปิดโอกาสให้ส่วนราชการ สถาบันการศึกษา และองค์กรศาสนาเข้ามาร่วมโครงการได้ ซึ่งศูนย์เรียนรู้ต้นแบบฯ นางพรรณี ต้อไธสงค์ หมู่ที่ 10 บ้านเตาเหล็ก ตำบลเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ได้ถูกยกเป็นพื้นที่ต้นแบบในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) จังหวัดศรีสะเกษ โดยท่านปลัดกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ซึ่งได้มาเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ 2 ครั้งและร่วมปลูกกล้วยหอม ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้
ด้าน นางสาววริศรา โสภาค พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ ได้นำเสนองานพัฒนาชุมชนภารกิจสำคัญประจำสัปดาห์ ดังนี้
1.การขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จากข้อมูลระบบ TPMAP (แฟ้มบ้านพัฒนาคนไทย ของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) พบว่า จังหวัดศรีสะเกษ มีครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 18,028 ครัวเรือน 35,950 คน (แต่ด้วยฐานข้อมูลจากระบบฯ เป็นฐานข้อมูลระดับครัวเรือน การ Re X-ray จึงเป็นการดำเนินการตรวจสอบระดับครัวเรือน) และเป็นครัวเรือนเป้าหมายผ่านการตรวจสอบและรับรองระดับอำเภอ
– ครัวเรือนจาก TPMAP จำนวน 1,524 ครัวเรือน
– ครัวเรือน Exclusion Error จำนวน 718 ครัวเรือน (คนตกหล่นจากระบบTPMAP บุคคล/ครัวเรือนที่ข้อมูลตกหล่นไปจากข้อมูลประชากรในระบบ TPMAP (exclusion error) โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
(1)กรณีที่มีข้อมูลเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และอยู่ในระบบ TPMAP แต่ไม่เคยได้รับการสำรวจ และไม่มีข้อมูลคุณภาพชีวิตครัวเรือน
(2) กรณีบุคคลที่ไม่ได้รับการบันทึกข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ และไม่ได้อยู่ในระบบ TPMAP ซึ่งเป็นการพบบุคคลเหล่านี้จากการลงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหารวมเป็นครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 2,242 ครัวเรือน
จำแนกตามสภาพปัญหา 6 มิติ ได้ดังนี้
1) มิติสุขภาพ 374 ครัวเรือน
2) มิติความเป็นอยู่ 636 ครัวเรือน
3) มิติด้านการศึกษา 214 ครัวเรือน
4) มิติรายได้ 1,326 ครัวเรือน
5) มิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ 87 ครัวเรือน
6) มิติอื่นๆ (ไม่มีที่ดินทำกิน,ติดสุราเรื้อรัง,มีอาการจิตเวชฯ) 102 ครัวเรือน
เมื่อได้ข้อมูลครัวเรือนเป้าหมายทั้ง 6 มิติ จะเป็นการเข้าสู่กระบวนงานการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนฯ ระดับจังหวัดศรีสะเกษ ส่งมอบครัวเรือนเป้าหมาย ให้คณะทำงานฯ แต่ละมิติ ซึ่งได้ประชุมเลขาคณะทำงานฯ ทั้ง 6 มิติ และส่งมอบข้อมูลครัวเรือนเพื่อให้เพื่อให้คณะทำงานฯ แต่ละมิติ วางแผนจัดหาเจ้าภาพรับผิดชอบครัวเรือน ร่วมกับทีมพี่เลี้ยง ให้ทุกครัวเรือนได้รับการช่วยเหลือทุกครัวเรือนตามสภาพแต่ละมิติ ตามแผนปฏิบัติการฯ โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ รายงานผลการดำเนินงานในที่ประชุมกรมการจังหวัดทราบทุกเดือน
2. การจัดกิจกรรมจิตอาสาเอามื้อสามัคคี ณ วัดพานทา อ.เมืองศรีสะเกษ สนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบฯ โคก หนอง นา ใช้หลัก “พึ่งตน พึ่งธรรม” เป็นฐานของการพัฒนา มุ่งสร้างภูมิคุ้มกันให้ทุกครัวเรือน มีอาชีพ สร้างรายได้ ท่ามกลางวิกฤติ Covid-19 ณ แปลงพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” วัดพานทา หมู่ที่ 8 ตำบลโพธิ์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ตามหลัก “บวร” หรือบ้าน วัด โรงเรียน ราชการ เป็นแหล่งเรียนรู้แนวทางการทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืนต่อไป
ทั้งนี้ นางพรรณี ต้อไธสงค์ กล่าวว่า ตนในฐานะประธานศูนย์จิตอาสาพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ตั้งใจให้ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งได้จัดตั้งไปเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2564 ให้เป็นศูนย์ประสานงานภาคีเครือข่ายจิตอาสาพัฒนาชุมชน ระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ทั้ง 7 ภาคี โดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง เป็นสถานที่บ่มเพาะภาวะผู้นำ ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนและการบริหารจัดการชุมชน เพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนและเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนสื่อสารสังคมด้านการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานจิตอาสาพัฒนาชุมชน แผนงานที่จะดำเนินการต่อไป
1) การพัฒนาปรับปรุงอาคารห้องประชุม ให้สามารถรองรับจำนวนผู้เข้ารับผู้เข้าฝึกอบรมได้ตลอดปี เนื่องจากอาคารเดิมมีขนาดเล็ก กรณีเกิดฝนตกระหว่างการฝึกอบรมไม่สามารถป้องกันฝนเปียกได้คลอบคลุม
2) พัฒนาฐานเรียนรู้ให้เหมาะแก่การเรียนรู้ตามประเภทองค์ความรู้ พร้อมสื่อและวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้และฝึกสาธิต
3) จัดทำและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านอาชีพให้สามารถรองรับผู้เรียนทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ให้หลากหลายขึ้น
4) ขยายภาคีเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ ทั้งในอำเภอ ในจังหวัด และต่างจังหวัด เพื่อสนับสนุนกิจกรรมฝึกอบรม และกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาชุมชนให้กว้างขวางขึ้น
5) จัดทำศูนย์รวมและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชนและตำบล
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่อเนื่องเพื่อเป็นต้นแบบแก่ชุมชนอื่น ตนและเครือข่ายจิตอาสาพัฒนาชุมชนฯ จังหวัดศรีสะเกษ พร้อมและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานฯ จากนั้นได้พาคณะฯเดินเยี่ยมชมแปลงพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งได้ดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ การมีส่วนร่วม การพึ่งพาตนเอง เพื่อให้สามารถบริหารจัดการตนเองและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน