พริกในโลกนี้มีหลากหลายชนิด ต้นกำเนินมาจากอเมริกากลางและอเมริกาใต้ จากหลักฐานทางโบราณคดีเชื่อว่าชาวอินเดียนในเม็กซิโกรู้จักกินพริกเป็นอาหารมากว่า 9,000 ปีแล้ว คุณลักษณะโดดเด่นของพริกคือ มีรสเผ็ด ความเผ็ดของพริกอยู่ที่เยื่อหุ้มเมล็ดและสารที่ทำให้เผ็ด คือ แคปไซซิน (capsaicin) ซึ่งมีคุณสมบัติทางยา ในพริกยังมีวิตามินเอ วิตามินซี และแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์อีกหลายชนิด กินพริกช่วยแก้หวัด ช่วยย่อย ขับลม ทำให้เจริญอาหาร ปัจจุบันได้ถูกพัฒนามาใช้เป็นยาทาภายนอกแก้ปวด
มีการศึกษาในสหรัฐพบว่า คนที่กินพริกมีอายุยืนกว่าคนที่ไม่กิน โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างการบริโภคพริก Hot Red Chili Pepper กับการเสียชีวิตในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 16,000 กว่าคนในระยะเวลา 4 ปี ปรากฏว่า กลุ่มผู้ที่ไม่กินพริกมีอัตราตายจากทุกสาเหตุ 33.6% ส่วนกลุ่มที่กินพริกมีอัตราตาย 21.6%1 ในขณะที่การวิจัยอีกชิ้นหนึ่งรวบรวมข้อมูลจากคนจำนวนกว่าห้าแสนคนใน 4 ประเทศ ได้แก่ จีน สหรัฐ อิตาลี และอิหร่าน พบว่า การกินพริก (เปรียบเทียบกับการไม่กินพริก) มีความสัมพันธ์กับการลดอัตราการตายจากทุกสาเหตุ 25% กับการลดอัตราการตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือด 26% และกับการลดอัตราการตายจากมะเร็ง 23% แต่อัตราการตายที่ลดลงนี้พบเฉพาะในผู้ไม่ดื่มแอลกอฮอล์เท่านั้น2
วิธีการใช้
พริกแทรกอยู่หลากหลายเมนูอาหาร แต่สำหรับคนที่ไม่ชอบกินพริก หากต้องการได้รับประโยชน์ทางยาจากพริก ควรกินพริกบ้าง (พริกสดดีกว่าพริกแปรรูป) อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรือพริกเผ็ดน้อยก็เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจเช่นกัน
พริก กับคุณประโยชน์ในการอยู่ร่วมกับโควิด-19
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidation) ในพริกมีสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย ที่ช่วยลดการเกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่น (oxidative stress) และมีงานวิจัย พบว่า การรับประทานพริก Capsicum annuum ซึ่งเป็นพริกกลุ่มที่มีความเผ็ดน้อย สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ในผู้ใหญ่ทั้งเพศชายและหญิง3
- ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (Anti-inflammation) สารแคโรทีนอยด์ และแคปไซซินอยด์ (capsaicinoid) ในพริกสามารถต้านการอักเสบได้ โดยยับยั้งการสร้างสารกระตุ้นการอักเสบ ในงานวิจัยยังพบอีกว่า พริกขี้หนูสีต่างกันมีผลในการต้านการอักเสบที่แตกต่างกัน พริกขี้หนูสีเขียวจะต้านการอักเสบได้ดีกว่าสีเหลืองและสีแดง3
- ฤทธิ์ต้านไวรัส (Anti-viral) จากการจำลองภาพสามมิติในคอมพิวเตอร์ พบว่า สารสำคัญในพริกมีฤทธิ์ในการแย่งจับกับตำแหน่ง main proteases (Mpro) ของไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งก่อให้เกิดโรคโควิด-19 จึงสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้4
- ฤทธิ์เกี่ยวกับโรคทางเมทาบอลิก จากการศึกษาพบว่า สารแคปไซซินทำให้การเผาผลาญดีขึ้น ลดภาวะดื้อต่ออินซูลินและโรคอ้วน ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวานชนิดที่ 2 และโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ลดไขมันในร่างกาย และปรับปรุงการทำงานของหัวใจและตับ ช่วยละลายลิ่มเลือด ทำให้เลือดสูบฉีดได้ดีขึ้น ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ฤทธิ์ต่ออารมณ์และจิตใจ พริกทำ ให้อารมณ์ดีโดยไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟิน (endorphin) หรือสารแห่งความสุข และทำ ให้ร่างกายตื่นตัว
ข้อควรระวัง
- สำหรับคนที่เป็นแผลในกระเพาะ ,โรคกระเพาะ หรือกรดไหลย้อนควรระวังปริมาณการกิน เพราะอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น
- การรับประทานพริกในปริมาณมากเกินไปอาจทำ ให้สูญเสียการรับรส หรือทำให้ลิ้นรับรสชาติผิดเพี้ยนไป
- ระวังในคนที่มีอาการสำลักง่าย เช่น เด็ก คนแก่ ก็ควรหลีกเลี่ยงการทานพริกเช่นกัน เพราะอาจสำลักพริกเข้าไปในหลอดลม เป็นอันตรายได้
- คนกินเผ็ดมากๆ บางคนอาจเป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ บางคนอาจเป็นหนักจนส่งผลไปถึงกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการระคายเคืองจนมีอาการอักเสบรุนแรงได้ ดังนั้นจึงควรกินเผ็ดแต่พอดี และสังเกตอาการที่เกิดขึ้นหลังจากกินเผ็ด
ตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากพริก
สูตรซอสพริก (คุณสุรวุฒิ ศรีนาม. (2564). ผู้ประกอบการบริษัทเรียลฟาร์ม จำกัด.)
ส่วนประกอบ
1.พริกชี้ฟ้าสดสีแดง 2 กก.
- เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
- กระเทียม 100 ก.
- น้ำตาล 200 ก.
วิธีทำ : ล้างพริกให้สะอาด ตัดเป็นชิ้น ๆ เคล้าเกลือ ผึ่งแดดสัก 2-3 ชั่วโมง นำพริกมาหมักร่วมกับ กระเทียม น้ำตาลทรายแดงในโถ ปิดฝาไว้ประมาณ 4-7 วัน เมื่อครบเวลาแล้วให้ลองชิมดู ถ้ามีรสเปรี้ยว กลิ่นเปรี้ยวแล้ว ให้นำไปกรองเอาชิ้นพริกกับกระเทียมไปปั่นละเอียด กรองเอากากออก นำไปเคี่ยวให้ข้น เติมเกลือ น้ำตาลนิดหน่อย ชิมรสตามชอบ
ข้อมูล
- Chopan M, Littenberg B. The Association of Hot Red Chili Pepper Consumption and Mortality: A Large Population-Based Cohort Study. Plos one. 2017;12(1).
- สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์. “กินพริก อายุยืน” หมอชาวบ้าน. 42,502(2564) : 12-17.
- Batiha GE, Alqahtani A, Ojo OA, Shaheen HM, Wasef L, Elzeiny M, et al. Biological Properties, Bioactive Constituents, and Pharmacokinetics of Some Capsicum spp. and Capsaicinoids. Int J Mol Sci. 2020;21(15):5179.
- Khaerunnisa, S.; Kurniawan, H.; Awaluddin, R.; Suhartati, S.; Soetjipto, S. Potential Inhibitor of COVID-19 Main Protease (Mpro) From Several Medicinal Plant Compounds by Molecular Docking Study. Preprints 2020.
ปรึกษาหมอ : https://lin.ee/47PRVjiFz
ชมคลิปสอนทำซอสพริก : https://youtu.be/xshCKCoaUkY