กะเพรา เป็นสมุนไพรเทพเจ้าของอินเดีย มีฤทธิ์อุ่นพอดีไม่เผ็ดร้อนเกินไป มีคุณสมบัติช่วยปรับสมดุล ทำให้ระบบต่างๆของร่างกายทนต่อสภาวะเครียดได้ ช่วงปรับระบบภูมิคุ้มกัน ระบบการเผาผลาญ ระบบการย่อยอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ให้ทำงานเป็นปกติได้ ในด้านจิตใจ กะเพราทำให้ผ่อนคลาย หลับสลาย เหมาะกับทุกวัย สามารถใช้ได้ในเด็กและมีความปลอดภัยสูง
คุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ในการอยู่ร่วมกับโควิด 19
ฤทธิ์ต้านไวรัส (Antiviral) ในการจำลองภาพสามมิติในคอมพิวเตอร์พบว่า กะเพรามีสารหลายชนิดที่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส SARS-CoV 2 ซึ่งก่อให้เกิดโรคโควิด-191
ฤทธิ์ทางระบบประสาท มีการศึกษาในหนูพบว่า กะเพราสามารถช่วยคลายความวิตกกังวลได้ โดยลดการหลั่งสารแคททีโคลามีน (Catecholamine) โมโนเอมีนออกซิเดส (Monoamine oxidase) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดความเครียด และเพิ่มการหลั่งโดพามีน (Dopamine) และเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดความสุข สงบผ่อนคลาย ในสมองของหนู2
ฤทธิ์ปรับระบบภูมิคุ้มกัน (Immunomodulator) ในการทดลองทางคลินิก พบว่า สารสกัดกะเพราช่วยเสริมการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด ทั้งตัวที่มาจับกินเชื้อโรคและตัวชี้ตำแหน่งของไวรัสเพื่อให้เซลล์ภูมิคุ้มกันมาจัดการ รวมทั้งเพิ่มปริมาณของสารน้ำ(แอนติบอดี้) และไซโตไคน์ชนิดที่ต้านการอักเสบ โดยเฉพาะชนิดที่เรียกว่า IFN- ซึ่งมีบทบาทในการจัดการพวกไวรัส และ IL-4 ซึ่งลดการกระตุ้นการอักเสบจากภูมิแพ้3
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidation) จากการศึกษาในหลอดทดลองพบว่า สารสกัดจากใบ ลำต้น และช่อดอกของกะเพรา มีสารจำพวก Phenolic เช่น Rosmarinic acid ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระ4
ฤทธิ์เกี่ยวกับโรคทางเมทาบอลิก (Metabolic syndrome) กะเพรามีประโยชน์ต่อการรักษาโรคอ้วนลงพุง เนื่องจากมีการศึกษาในคนพบว่า กะเพราช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยเพิ่มการหลั่งอินซูลินทำให้มีการนำกลูโคสไปใช้เพิ่มขึ้น และยังสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลรวมและไขมันชนิดไม่ดีได้อีกด้วย5
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (Anti-inflammation) มีการศึกษาในหนูพบว่า น้ำมันหอมระเหยและกรดลิโนเลนิกในกะเพราสามารถลดการหลั่งโพรสตาแกลนดิน (PGE2) ลิวโคไตรอีน (Leukotriene) และกรดอะราคิโดนิก (Arachidonic acid) ซึ่งเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบได้6
รูปแบบและวิธีการใช้
ทำชากะเพราโดยใช้กะเพราแห้ง 2 กรัมต่อน้ำ 1 แก้ว ชงดื่มก่อนนอน ช่วยให้หลับสบาย
คลายเครียด
ประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านอื่นๆ
กะเพราเป็นสมุนไพรสำหรับเด็ก ช่วยย่อยแก้ปวดท้อง ขับลม ทำให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันหวัด
ปรึกษาหมอ : https://lin.ee/47PRVjiFz
ข้อมูลอ้างอิง
- Shree, P., Mishra, P., Selvaraj, C., Singh, S. K., Chaube, R., Garg, N., & Tripathi, Y. B. (2020). Targeting COVID-19 (SARS-CoV-2) main protease through active phytochemicals of ayurvedic medicinal plants–Withania somnifera (Ashwagandha), Tinospora cordifolia (Giloy) and Ocimum sanctum (Tulsi)–a molecular docking study. Journal of Biomolecular Structure and Dynamics, 1-14.
- Saxena RC, Singh R, Kumar P, et al. Efficacy of an Extract of Ocimum tenuiflorum (OciBest) in the Management of General Stress: A Double-Blind, Placebo-Controlled Study. Evid Based Complementary Altern Med. 2012;894509.
- Mondal S., Varma S., Bamola V. D., Naik S. N., Mirdha B. R., Padhi M. M., et al (2011). Double-blinded randomized controlled trial for immunomodulatory effects of Tulsi (Ocimum sanctum Linn.) leaf extract on healthy volunteers. J Ethnopharmacol. 136(3), 452–56
- Hakkim, F. Lukmanul; Shankar, C. Gowri; Girija, S. (2007). Chemical Composition and Antioxidant Property of Holy Basil (Ocimum sanctum L.) Leaves, Stems, and Inflorescence and Their in vitro Callus Cultures. J Agric Food Chem. 55(22), 9109–17.
- Jamshidi Negar, Da Costa Cliff, Cohen Marc. Holybasil (tulsi) lowers fasting glucose and improves lipid profile in adults with metabolic disease: A meta-analysis of randomized clinical trials. J Funct Foods. 2018;45:47–57.
- Singh S. Comparative evaluation of anti-inflammatory potential of fixed oil of different species of Ocimum and its possible mechanism of action. Indian J Exp Biol. 1998;36(10):1028-31.