(29 พ.ย.64) เวลา 21.00 น. นายชาตรี วัฒนเขจร รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกิจกรรม Big Cleaning Day ล้างถนนลดฝุ่นละอองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมี คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่สำนักสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานเขตราชเทวี เขตพญาไท และเขตดินแดง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กองทัพภาคที่ 1 กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมควบคุมมลพิษ กรมการขนส่งทางบก องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ กรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จิตอาสาพระราชทาน ร่วมกิจกรรม ณ บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (เกาะพญาไท) เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร โดยสำนักสิ่งแวดล้อม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการทำความสะอาดบริเวณโดยรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศและลดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสภาพแวดล้อม แบ่งพื้นที่ดำเนินงาน ดังนี้ จุดที่ 1 ถนนราชวิถี ตั้งแต่เกาะราชวิถี–แยกตึกชัย จุดที่ 2 ถนนพญาไท (ขาออก) ตั้งแต่หน้าสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์-สะพานหัวช้าง ถนนพญาไท (ขาเข้า) ตั้งแต่สะพานหัวช้าง-อนุสาวรีย์สมรภูมิ จุดที่ 3 ถนนราชวิถี ฝั่งดินแดง (ขาออก) ตั้งแต่เกาะดินแดง-แยกวิภาวดี และ จุดที่ 4 พหลโยธิน ทั้ง 2 ฝั่ง (ฝั่งขาเข้า) ได้แก่
1.คลองบางซื่อ–แยกสะพานควาย
2.แยกสะพานควาย-ซอยพหลโยธิน 6
3.ซอยพหลโยธิน 6–อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ฝั่งขาออก)
4.อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ–ซอยพหลโยธิน 7
5.ซอยพหลโยธิน 7–แยกสะพานควาย
6.แยกสะพานควาย-คลองบางซื่อ โดยร่วมกันดำเนินการฉีดล้างและดูดฝุ่นถนน ภายใต้มาตรการป้องกัน COVID-19 ขณะปฏิบัติงาน
นอกจากนี้ สำนักสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการล้างทำความสะอาดทางเท้าและฉีดล้างใบไม้ในสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร ทั้ง 39 แห่ง รวมถึงล้างทำความสะอาดถนนและพื้นที่บริเวณโดยรอบสวนฯ ตลอดจนล้างทำความสะอาดถนนสายสำคัญ อาทิ ถนนราชดำเนิน ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถนนรัชดาภิเษก และถนนศรีนครินทร์ร่มเกล้า เป็นต้น ในส่วนของสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต พัฒนาล้างทำความสะอาดพื้นที่พร้อมกันทั่วกรุงเทพฯ ใน 6 กลุ่มเขต ดังนี้
1.กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ ได้แก่ ถนนพหลโยธิน จากสี่แยกเกษตร– คลองบางบัว ขาเข้าและขาออก เขตจตุจักร, ถนนประชาชื่น บริเวณตลาดมณีพิมาน เขตบางซื่อ, ถนนนาคนิวาส เขตลาดพร้าว, ถนนงามวงศ์วาน ทั้ง 2 ฝั่ง เขตหลักสี่, ถนนสรงประภา (ขาออก) ตั้งแต่แยกดอนเมือง-คลองประปา (สุดเขต) เขตดอนเมือง, ถนนสุขาภิบาล 5 หน้าสำนักงานเขตสายไหม-ถนนสุขาภิบาล 5 ซอย 42 เขตสายไหม, และถนนพหลโยธิน (ขาเข้า) ตั้งแต่หน้าสำนักงานเขตบางเขนถึงสะพานบางบัว เขตบางเขน
2.กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ได้แก่ ถนนราชดำเนินนอก ถนนราชดำเนินกลาง และถนนราชดำเนินใน ทั้ง 2 ฝั่ง เขตพระนคร, ถนนพิษณุโลก ตั้งแต่แยกพาณิชยการ-แยกยมราช (ฝั่งสนามม้านางเลิ้ง) เขตดุสิต, ถนนหลานหลวง ตั้งแต่แยกสะพานขาว-แยกหลานหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, ถนนเจริญกรุง ตั้งแต่แยก เอส เอ บี–แยกหมอมี ถนนตรีมิตร ตั้งแต่ถนนทรงวาด-ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา เขตสัมพันธวงศ์, ถนนรัชดาภิเษก ตั้งแต่แยกห้วยขวาง-เทียมร่วมมิตร เขตห้วยขวาง, ถนนลาดพร้าว ตั้งแต่หน้าห้างบิ๊กซีลาดพร้าว-หน้าโรงพยาบาลลาดพร้าว เขตวังทองหลาง
3.กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก ได้แก่ ถนนรามคำแหง ตั้งแต่หน้าบิ๊กซี รามคำแหง (ฝั่งตรงซอยรามคำแหง 24)-ปากซอยรามคำแหง39 เขตบางกะปิ, ถนนร่มเกล้า-ศรีนครินทร์ตัดใหม่ (เริ่มจากสะพานวังใหญ่-แยกตัดถนนกาญจนาภิเษก) เขตสะพานสูง, ถนนเสรีไทย ตั้งแต่คลองระหัส-คลองบางเตย/คลองบางเตย-แยกนิด้า/แยกนิด้า-คลองบางเตย ตั้งแต่คลองบางเตย-คลองระหัส เขตบึงกุ่ม, ถนนเสรีไทย ขาออก ตั้งแต่แยกสวนสยาม-แยกหน้าหมู่บ้านนวธานี และขาเข้าตั้งแต่หน้าหมู่บ้านนวธานี-แยกสวนสยาม เขตคันนายาว, ถนนร่มเกล้า-ศรีนครินทร์ตัดใหม่ ตั้งแต่ถนนร่มเกล้าถึงสุดเขตลาดกระบัง เขตลาดกระบัง, ถนนสีหบุรานุกิจ ตั้งแต่หน้าสถานีตำรวจนครบาลมีนบุรี-เชิงสะพานข้ามคลองสามวา เขตมีนบุรี, ถนนหน้าสำนักงานเขตหนองจอก เชื่อมสัมพันธ์และถนนเลียบวารี เขตหนองจอก, ถนนไมตรีจิต ขาเข้าตั้งแต่แยกถนนนิมิตใหม่ถึงซอยไมตรีจิต 5 เขตคลองสามวา, ถนนอ่อนนุช ตั้งแต่ซอยอ่อนนุช 86 ถึงสุดเขตประเวศติดต่อเขตลาดกระบัง เขตประเวศ
4.กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ได้แก่ ถนนพระราม 4 จากจุฬาซอย 9-แยกสามย่าน เขตปทุมวัน, ถนนพระรามที่ 4 ตั้งแต่หน้าวัดหัวลำโพง-ปากซอยจอมสมบูรณ์ เขตบางรัก, ถนนสาทรใต้ ตั้งแต่ถนนพระรามที่ 4–ใต้สะพานตากสิน เขตสาทร, ถนนพระรามที่ 3 ตั้งแต่ซอย 7–หน้าห้างศูนย์การค้าทรีออนทรี เขตบางคอแหลม, ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ตัดถนนพระรามที่ 3-ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ตัดถนนรัชดาภิเษก เขตยานนาวา, ถนนพระรามที่ 4 (ขาออก) ตั้งแต่หน้าห้างสรรพสินค้า Big C-แยกกล้วยน้ำไท เขตคลองเตย, ถนนสุขุมวิท เริ่มจากซอยสุขุมวิท 55-ซอยสุขุมวิท 81 เขตวัฒนา, ถนนสุขุมวิท ฝั่งขาเข้า ตั้งแต่ปากซอยสุขุมวิท 60/1-สุขุมวิท 54 เขตพระโขนง, ถนนพัฒนาการ จากปากซอยพัฒนาการ 26-ปากซอยพัฒนาการ 38 เขตสวนหลวง, ถนนสรรพาวุธ เขตบางนา
5.กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ได้แก่ ถนนอินทรพิทักษ์ ทั้ง 2 ฝั่ง ตั้งแต่เชิงสะพานเนาวจำเนียร-สะพานลอยคนข้าม (สะพานลอยที่ 3) เขตธนบุรี, ถนนสมเด็จเจ้าพระยา ทั้ง 2 ฝั่ง เขตคลองสาน, ถนนพระรามที่ 2 ทั้ง 2 ฝั่ง ขาออก-แยกบางปะแก้ว-ถ.พระรามที่ 2 ซอย 3 และขาเข้า-ถนนพระรามที่ 2 ซอย 3-แยกบางปะแก้ว เขตจอมทอง, ถนนเพชรเกษม ตั้งแต่แยกท่าพระ-เชิงสะพานบางไผ่ เขตบางกอกใหญ่, ถนนบางขุนนนท์ ตั้งแต่แยกบางขุนนนท์-หน้าสำนักงานเขตบางกอกน้อย เขตบางกอกน้อย, ถนนสิรินธร ฝั่งคี่ ตั้งแต่เชิงสะพานแยกบางพลัด-หน้าห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง เขตบางพลัด, ถนนฉิมพลี ตั้งแต่ถนนเลียบทางรถไฟสายใต้-ถนนบรมราชชนนี (ไป-กลับ) ตั้งแต่ทางเข้าวัดมณฑป-ถนนเลียบทางรถไฟ และตั้งแต่ทางเข้าวัดมณฑป-ถนนบรมราชนนี เขตตลิ่งชัน, ตั้งแต่หน้าตลาดธนบุรี-สุดเขตทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา และ 6.กลุ่มเขตกรุงธนใต้ ได้แก่ ถนนเพชรเกษม (ขาเข้า) จากมหาวิทยาลัยสยาม-สถานี BTS บางหว้า เขตภาษีเจริญ, ถนนเพชรเกษม ทั้ง 2 ฝั่ง ฝั่งคู่ จากคลองราชมนตรี-แยกตัดถนนกาญจนา และฝั่งคู่จากหน้าเดอะมอลล์บางแค-คลองราชมนตรี เขตบางแค, ถนนพุทธมณฑลสาย 3 ตั้งแต่ปากทางถนนพุทธมณฑลสาย 3-หน้าศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขม เขตหนองแขม, ถนนพระรามที่ 2 ฝั่งขาเข้า จากแยกถนนบางขุนเทียนถึงเขตติดต่อพื้นที่เขตจอมทอง เขตบางขุนเทียน, ถนนเอกชัย ทั้ง 2 ฝั่ง ตั้งแต่ตลาดบางบอน 5–โรงเรียนศึกษานารี เขตบางบอน, ถนนสุขสวัสดิ์ ทั้ง 2 ฝั่ง เขตราษฎร์บูรณะ, ถนนพุทธบูชา ตั้งแต่ซอยพุทธบูชา 48-ซอยพุทธบูชา 44 เขตทุ่งครุ
ทั้งนี้ กรุงเทพมหานคร โดยสำนักสิ่งแวดล้อม และสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ได้ดำเนินการล้างทำความสะอาดถนน พื้นที่สาธารณะ ฉีดล้างใบไม้อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการสะสมของฝุ่นละออง ดูแลความสะอาด ตามมาตรการป้องกันโควิด-19 และสร้างความปลอดภัย ความมั่นใจให้กับประชาชน โดยประชาชนสามารถเข้าไปดูข้อมูลคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานครแบบ Real Time ได้ที่เว็บไซต์ www.bangkokairquality.com แอปพลิเคชัน AirBKK และ Facebook : กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร ผ่านทางโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ทั้งนี้ หากพบแหล่งก่อมลพิษ หรือรถปล่อยควันดำสามารถแจ้งเบาะแสได้ที่ สายด่วน กทม. โทร.1555 หรือ โทร.1584 กรมการขนส่งทางบก
รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงที่มีการขยายตัว และพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง มีการใช้ระบบการคมนาคมขนส่งค่อนข้างสูง มีจำนวนยานพาหนะเพิ่มขึ้นทุกปี สภาพการจราจรติดขัด นอกจากนี้ยังมีการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนสาธารณะระบบราง อาทิ โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและรถไฟฟ้าเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครกับเมืองหรือจังหวัดโดยรอบ การก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยเพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง ส่งผลให้กรุงเทพมหานครประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมหลายด้าน ซึ่งปัญหามลพิษทางอากาศนับว่าเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 พบเป็นปัญหามีค่าเกินมาตรฐาน และมีแนวโน้มวิกฤตในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว มีปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาที่เอื้อต่อการสะสมตัวของฝุ่นละออง PM2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทาย และต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ จากการศึกษาหาแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองในกรุงเทพมหานคร พบว่าเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทน้ำมันดีเซล และสารมลพิษทุติยภูมิ ซึ่งอาจจะมาจากแหล่งกำเนิดอื่นได้อีก ดังนั้น กรุงเทพมหานคร จึงเตรียมรับมือในการแก้ไขปัญหาในฤดูหนาวที่จะถึงนี้ โดยดำเนินการล้างถนนเพื่อลดฝุ่นละออง เพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองลงได้ การดำเนินการกิจกรรม “Big Cleaning Day ล้างถนน ลดฝุ่นละออง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร” เกิดขึ้นและสำเร็จได้โดยความร่วมแรง ร่วมใจ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในโอกาสนี้ ขอบคุณผู้บริหารและกำลังพลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ได้ร่วมมือร่วมใจทำกิจกรรม “Big Cleaning Day ล้างถนน ลดฝุ่นละออง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร” ในวันนี้