4 สร้าง
1. สร้างความรู้สึกปลอดภัย (Safe) เช่น
– สร้างความมั่นใจในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19
– ส่งเสริมให้คนในชุมชนได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19
– ส่งเสริมให้คนในชุมชนดูแลตนเองและผู้อื่น
2. สร้างความตระหนัก ไม่ตระหนก (Calm) เช่น ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ เพื่อไม่ให้คนในชุมชนวิตกกังวล และตื่นตระหนก ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลจิตใจตนเองแก่คนในชุมชน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และแกนนำชุมชน
3. สร้างความหวัง (Hope) เช่น
– สนับสนุน/ช่วยเหลือให้คนในชุมชนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
– จัดสวัสดิการ/ออกมาตรการช่วยเหลือคนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบ
– สนับสนุนให้มีกิจกรรมสร้างขวัญและกำลังใจให้กับคนในชุมชน
4. สร้างความเข้าใจและให้โอกาส (Care) เช่น
– ดูแลจิตใจผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ผู้มีปัญหาสุขภาพจิต ผู้สูงอายุ และกลุ่มเปราะบางในชุมชน
– ให้โอกาสผู้ที่หายป่วยได้กลับมาดำเนินชีวิตตามปกติและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน
– สร้างความเข้าใจแก่คนในชุมชน ให้รู้สึกเห็นอกเห็นใจ ไม่รังเกียจผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยง
2 ใช้
1. ใช้ศักยภาพชุมชน โดยดึงทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์กับชุมชน
2. ใช้สายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นในชุมชน โดยดึงเอาจุดเด่นเรื่องความรัก ความสามัคคีและความผูกพันของคนในชุมชนมาใช้ในการขับเคลื่อนให้เกิดระบบดูแลช่วยเหลือกัน
“ถึงเวลาแล้วที่เราจะร่วมกันสร้างวัคซีนใจ❤ในชุมชนเพื่อให้ชุมชนของเราทุกคนก้าวผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปให้ได้”
นายแพทย์จุมภฏ พรมสีดา รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต
#วัคซีนใจในชุมชน
#กรมสุขภาพจิต