สืบสานตำนานปี่จุม กับช่างซอเมืองแพร่ ซักวันอาจเลือนหาย จากผู้คนที่หมางเมิน

เพลงซอ เป็นสิ่งบันเทิงของชาวล้านนาในการแสดงและขับกล่อมสังคมผู้คนให้เกิดความคล้อยตามกันไปในห้วงทำนองที่น่าติดตาม เป็นการขับขานหรือการร้องร้อยกรองที่เป็นภาษาคำเมืองหรือภาษาถิ่นเหนือ มีลักษณ์เฉพาะตัวที่ถือเป็นอัตลักษณ์สำคัญ จัดเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของล้านนาที่เป็นภูมิปัญญาทางภาษา ที่ได้สร้างสรรค์ไว้อย่างงดงามและทรงคุณค่า แฝงด้วยคติธรรมคำสอนทั้งเรื่องพิธีกรรม  ความเชื่อ เลี้ยงผี ขึ้นบ้านใหม่  ไหว้ครู่ ไม่เว้นแม้กระทั่ง ความรักของหนุ่มสาว”  แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์กับมนุษย์  มนุษย์กับธรรมชาติ และมนุษย์กับสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติไว้อย่างชัดเจน สะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สำคัญ มีความสัมพันธ์กับวิถีความเป็นอยู่ของชาวล้านนาในด้านต่างๆ เช่น ความเชื่อ ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี สถาบันศาสนา สถาบันครอบครัว การประกอบอาชีพ อาหารและโภชนาการ การแต่งกาย การสาธารณะสุขมูลฐาน  ซื่อจึงไม่ใช่เรื่องบันเทิงเริงรมภ์เท่านั้น  แต่เพลงซอนั้นเป็นตัวชี้นำสังคมในยุคอดีตทีเดียว

การซอของแต่ละท้องถิ่นมีเครื่องดนตรีประกอบและท่วงทำนองที่แตกต่างกันไป เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการซอ  ปี่จุม ถือเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านตัวเอกที่ชาวเมืองแพร่ขับกล่อมเพลงซอชี้นำสังคมในยุคโบราณ  ซอโต้ตอบระหว่างช่างซอชายและช่างซอหญิง ภาษาถิ่นเรียกว่า ”คู่ถ้อง” มีทั้งการซอตามบทและปฏิภาณไหวพริบของช่างซอ โดยนำเอาข้อมูล เหตุการณ์ต่างๆ มาพรรณนาโวหารซึ่งแฝงด้วยคติธรรมและคติโลก   ตามลักษณะของฉันทะลักษณ์ของแต่ละทำนองซอซึ่งมีประมาณ ๑๐ ทำนอง ช่างซอที่มีความสามารถและประสบการณ์สูงจะสามารถร้อยเรียงคำร้อง (คำซอ) ได้อย่างสละสลวย มีความไพเราะด้วยปฏิภาณไหวพริบของตนเอง โดยไม่ต้องแต่งเนื้อร้องมาก่อนแต่ขอให้ทราบเนื้อหาในเรื่องนั้นช่างซอก็สามารถนำมาร้องบทซอในแต่ละทำนองได้ทันทีแล้วแต่นักดนตรี (ช่างปี่) จะให้ทำนองซอทำนองใด

การเป็นช่างซอนอกจากจะต้องมีความสามารถในการซอแล้วต้องมีจิตวิทยาในการกำกับซออีกด้วย นั่นคือ เวลาขึ้นแสดงบนเวที (ผามซอ) ต้องคอยสังเกตคนดูว่าชอบหรือนิยมซอแนวไหนบางทีช่างซอกำลังซอเรื่องนี้ ถ้าการซอไม่ถูกใจคนดูแล้ว คนดูหรือผู้ชมหรือผู้ฟังจะไม่ค่อยให้ความสนใจในการชมหรือฟัง อาจนั่งทำหน้าเฉย หรือไม่ก็จับเข่าคุยกัน หรือทยอยกันกลับทีละคนสองคน ถ้าช่างซอรู้จักสังเกตพฤติกรรมของคนดูแล้วพยายามซอให้ถูกใจผู้ชมนี้ก็จะให้ความสนใจกลับมาฟังซออย่างตั้งใจ สายตาทุกคู่ก็จะจ้องมาที่เวที ใบหน้ามีรอยยิ้มที่แสดงถึงความพึงพอใจ บางครั้งอาจมีเสียงเฮฮา หัวเราะ ปรบมือถูกใจมากๆ ก็จะโห่ร้องหรือให้รางวัล เป็นการให้กำลังใจช่างซอนั่นก็หมายความว่า คนดูเกิดความประทับใจในช่างซอเป็นอย่างมาก

ความหมาย ของคำว่า ซอ ” ในที่นี้เป็นภาษาคำเมือง ภาษาถิ่นเหนือ มีความหมายว่าขับ ขับร้อง   ร้องเพลง  หรือเพลงพื้นบ้านล้านนาชนิดหนึ่ง มีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่านด้วยกัน ( ทรงศักดิ์ ปรางวัฒนากุล ๒๕๒๓, สิงฆะ วรรณลัย ๒๕๒๔, มณี พนมยงค์ ๒๕๒๙ เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์  ๒๕๒๙, ยงยุทธ ธีรศิลป์และทวีศักดิ์ ปิ่นทอง ๒๕๓๕ ) สรุปได้ว่า ซอ หมายถึง การร้องเพลงพื้นบ้านของล้านนาหรือเมืองเหนือ ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซอพื้นเมือง เป็นการละเล่นพื้นเมืองล้านนาอย่างหนึ่งของชาวล้านนามีทั้งการซอโต้ตอบกันในลักษณะเพลงปฏิพากย์ระหว่าง หญิง หรือซอเดี่ยว เพื่อเล่าเรื่องพรรณนาเหตุการณ์ต่างๆ โดยมีเครื่องดนตรีพื้นเมือง เช่น ปี่จุม ซึง    สะล้อ ขลุ่ย บรรเลงประกอบ ได้รับความนิยมในเขต ๘ จังหวัด ภาคเหนือ และบางส่วนของจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์และตาก

เมื่อเห็นความสำคัญของ ช่วงซอ” แล้ว เรามาดูเครื่องดนตรีที่ใช้ในการประกอบการบรรเลงเพลงซอที่มีทั้งเครื่องกำหนดจังหวะและสร้างเสียงให้พลิ้วไปตามตัวโน๊ตอันไพเราะเสนาะหู  ปีจุมเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าของภาคเหนือ คำว่า “จุม” ในภาษาล้านนาคือการมาชุมนุมกัน หรือการประชุมกัน  ดังนั้นคำว่า “ปี่จุม” คือการนำปีหลายๆ เล่มมาเป่ารวมกันนั่นเอง  เครื่องดนตรีชนิดนี้ทำด้วยไม้รวกนำมาตัดให้มีขนาดสั้นยาว เรียงจากขนาดเล็ก(ปลายไม้)  ไปจนถึงใหญ่ (ส่วนโคนของลำไม้ไผ่)  จึงทำให้มีระดับเสียงที่แตกต่างกัน ขนาดเล็กมีเสียงสูง  ขนาดใหญ่มีเสียงต่ำ  โดยมีชื่อเรียกดังนี้   ปี่ก้อยเล็ก  ปี่เล็กหรือปี่ตัด    ปีก้อย   ปี่กลาง และปี่แม่  ในจังหวัดแพร่มีความนิยมนำมาใช้อยู่เหมือนกัน ทำนองปี่จุมที่นิยมคือ ทำนองจ๋อย   ทำนองเชียงแสน  จะปุ  ละม้าย  เงี้ยว   อือ  ล่องน่านก๋าย  และ พระลอเดินดง

การชุมนุมปี่ที่ใช้บรรเลงเพลงซอ  มีอยู่ 3 ประเภทคือ  ปี่จุม 3”  ประกอบด้วยปี่ตัด  ปี่ก้อย  และ ปี่กลาง  ปี่จุม4”ประกอบด้วยปีตัด ปี่ก้อย  ปี่กลาง และ ปี่แม่    ส่วน ปี่จุม5”   ประกอบด้วย  ปีก้อยเล็ก  ปี่ตัด  ปี่ก้อย  ปี่กลางและปี่แม่   หลักสำคัญของปี่จุมคือการต้องใช้ไม้ไผ่รวกชนิดหนึ่ง  ปี 1 จุม จะต้องมาจากไม้ไผ่ลำเดียวกันตัดตามขนาดที่ต้องการนำมาตากแดดจนแห้งดี นำไปทะลวงข้อด้วยเหล็กแหลมเผาไฟ  ทางปลายที่เรียวเล็กจะใช้เป็นหัวเล่น ซึ่งจะปาดเนื้อไม้ออกเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าไว้สำหรับใส่ลิ้นปี  ต่อดูการเจาะรู้ 7 รู ระยะห่างของรูจะไม่เท่ากันและแตกต่างจากเจาะรูขลุ่ย  กล่าวคือ การเจาะจะเป็นมุมเฉียงไปทางลิ้นปี ไม่เจาะตรงเหมือนขลุ่ย  วิธีการเป่าคือผู้เป่าต้องอม ปล่อยของปี่ไว้ในปาก โดยเฉพาะลิ้นปี่ ใช้กระพุ้งแก้มเป็นตัวขับลมเข้าลิ้นให้เกิดเสียงอย่าง  มุราลี” ของพระกฤษณะ

ลิ้นปีถือเป็นหัวใจสำคัญของปี่จุม ช่างสร้างเครื่องดนตรีชาวล้านนาจะใช้ โลหะทองแดง หรือ สำริด ตีให้เป็นแผ่นบางๆ ปัจจุบันใช้เหรียญสลึง หรือ เหรียญ 50 สตางค์ทำมาทุบให้แบน แล้วทำการเซาะร่องให้ทะลุเป็นรูปตัววี V  ปีจุมจะเป่าดี เป้าง่าย หรือเป่ายากขึ้นกับลิ้นปีนี้เลย  คนทำจึงต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ที่จะทำให้ปีเป่าง่ายเสียงดี  ปัจจุบันจึงหาปีจุมดีๆ ยากมาก เพราะช่างทำปีจุมนั้นหาคนมีทักษะยากมากอีกทั้งหาผู้สืบทอดได้ยากจริงๆ  มาถึงนักดนตรีที่จะบรรเลงด้วยปีจุมปัจจุบันก็หาผู้สืบทอดยาก ทำให้ปีหลักๆ ที่ใช้งานยาก เช่นปีแม่อาจหาคนบรรเลงยากขึ้น และนี่ก็คือที่มาของการลดจำนวนปี่ในวงเล่นลงไป เช่นปีแม่  แล้วนำซึงมาแทนเสียงทุ้ม  ส่วนปี่ก้อยถือว่าต้องมีลูกเล่นนำเพลงเปรียบได้ดังระนาดเอก ทำให้ช่างซอ (ผู้ขับร้อง) และช่างปีเล่มอื่นๆ จะต้องฟังเสียงปีก้อย  และช่างซอจะร้องเพลงซอทำนองอะไรปีก้อยต้องทราบเพื่อพาไปทำนองนั้นๆ

ที่โฮงซึงหลวง อ.ลอง จ.แพร่ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านดนตรีพื้นเมืองแห่งหนึ่งของจังหวัดแพร่ เป็นโรงงานผลิต สล้อ  ซอ ซึง พิณเปี๊ยะ และ ปีจุม  นายจีรศักดิ์ ธนูมาศ เจ้าของโฮงซิงหลวง กล่าวถึงปี่จุมว่า ปีจุมมีความไพเราะ และพาให้ผู้ฟังเพลงซอ IN ไปกับเนื้อหาที่ช่างซอขับกล่อม  พาให้สนุนชวนฟังและสนใจที่จะติดตาม โดยเฉพาะอากับกริยาของนักดนตรีที่หันหน้าเข้าหากันพากันบรรเลงด้วยใจ มันมีความสนุกอยู่ในตัว  แต่ปัจจุบันมีข้อจำกัดหลายด้าน ความทั้งกระแสของวัฒนธรรมอื่นเข้ามาแทรกทำให้เพลงซอลดบทบาทไปมาก  สังคมเริ่มไม่ให้ความสำคัญของปีจุม  กลับไปเสพดนตรีสมัยใหม่  แต่ที่โฮงซึงหลวง พยายามที่จะฝึกช่างไม้ให้สามารถทำเครื่องดนตรีปีจุมได้ และถ่ายทอดให้เยาวชนคนรุ่นใหม่แม้แต่การตีเหรียญสลึงให้เป็นแผ่นเพื่อทำลิ้นปี  เป็นเวทีแสดง  ซ้อมการแสดง เพื่อสืบสานให้ปี่จุมได้ต่อลมหายใจข้ามผ่านไปในยุคสมัยเรา  ส่วนอนาคต ปี่จุมจะโลดเล่นในสามัญชนคนล้านนาได้อีกหรือไม่เยาวชนคนรุ่นใหม่เท่านั้นที่จะให้คำตอบ  ส่วนเราคนยุคปัจจุบัน ทำอย่างไรให้ปีจุมเดินข้ามผ่านเวลาที่วัฒนธรรมอื่นถาถมอย่างรุนแรงให้ได้  เพราะอดีตปีจุมนำพาสังคมให้ก้าวหน้าทางความคิด  รวบรวมผู้คน สร้างเวทีความรู้ มามากนับว่า ปี่จุมมีพระคุณต่อมนุษย์ไม่น้อยเลย

ปีจุม  บันเทิงของคนยุคก่อนที่มีคุณค่าต่อสังคมอย่างมาก  สร้างเวทีเรียนรู้ทั้งวัฒนธรรม  ความเป็นอยู่ ครอบครัว ความรัก ศาสนา  คติธรรม รวมไปถึงการขับขานวิวัฒนาการทางสังคม  แต่วันนี้ปี่จุมได้พักผ่อน เพราะสังคมหันไปใช้เครื่องมือบันเทิงด้านอื่น  แต่ไม่รู้ว่า วัฒนธรรมภายนอกจะทรงคุณค่าเท่ากับการรับใช้สังคมของปี่จุมหรือไม่  ถ้าไม่มีผู้สืบทอดปีจุมอาจไม่ได้แค่พักผ่อน แต่อาจเข้าสู่อิทธิพลของไตรลักษณ์  ที่ทุกสรรพสิ่งทั้งปวงไม่อาจหนีกฎธรรมชาติไปได้ คือ อนิจจัง  ทุกขัง และอนัตตา  กฎของไตรลักษณ์คือ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ด้วยกระแสนิยม และ ต้องดับไปด้วยกาลเวลากับการพัฒนาของยุคสมัย  สิ่งที่ทำได้นั้น  ทำอย่างไรเราจะเก็บเรื่องราวดีๆ ในอดีตของ ปี่จุมเมืองแพร่ และในภาคเหนือ ไว้ในความทรง ////

ภาพ/ข่าว

ราเชนทร์ โชติถนอมกิจ