“โคก หนอง นา เปลี่ยนชีวิต” นครพนมทีม มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ยึดหลัก“การเกื้อกูลช่วยเหลือกัน” ขับเคลื่อนศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติ ด้วยกิจกรรมเอามื้อสามัคคี ผ่านองค์ความรู้ 10 ขั้นตอน

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08.00 น. ภายใต้การอำนวยการของนายชาธิป รุจนเสรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม มอบหมายให้ นายสุรพล แก้วอินธิ พัฒนาการจังหวัดนครพนม พร้อมด้วยนางวรนุช กรุงเกตุ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน นายหาญ ศรีหาวงษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน นางสาววิมล มุ่งกลาง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานและสนับสนุนการบริหารงานพัฒนาชุมชน และทีมงานสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครพนม ร่วมกับ นางรัชวรรณ์ ไวยากรณ์ พัฒนาการอำเภอนาหว้า และทีมงานสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาหว้า ลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรม “จิตอาสาพัฒนาชุมชนเอามื้อสามัคคี” ตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” เพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความเชี่ยวชาญจากบุคคลสู่บุคคล เป็นการสร้างความรัก ความสามัคคี การช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชน ณ ศูนย์จิตอาสาพัฒนาชุมชน นางเครือวัลย์ สุจริตตานันท์ หมู่ที่ 5 ตำบลนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม

จากนั้น นายสุรพล แก้วอินธิ พัฒนาการจังหวัดนครพนม ร่วมกับทีมงานสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาหว้า ได้ร่วมเอามื้อสามัคคีลงแขกเกี่ยวข้าวในแปลง “โคก หนอง นา” และตีข้าวแบบโบราณ ปลูกต้นไม้ เช่น ยางนา ขนุน มะเขือ ตะไคร้ ขิง ข่า มะละกอ พริกฯลฯ และปรับปรุงภูมิทัศน์ปลูกดอกไม้บริเวณทางเข้าแปลง โคก หนอง นา จากนั้น ได้แบ่งทีม แบ่งงาน แนะนำการสาธิตของฐานการเรียนรู้ต่างๆ ได้แก่ ฐานคนมีน้ำยา สาธิตการทำน้ำยาล้างจานด้วยสมุนไพร ฐานคนเอาถ่าน สาธิตการเผาถ่าน ฐานคนรักแม่ธรณี สาธิตการทำปุ๋ยแห้ง ฐานการลดรายจ่าย ทำกระชังเลี้ยงกบ และฐานการห่มดิน ทั้งนี้ หน่วยงานได้มอบพันธุ์ไม้ เช่น ประดู่ ยางนา ทองอุไร สมุนไพรฟ้าทะลายโจร มะเขือ พริก โหระภา ผักแพรว ขนุน แค ฯลฯให้กับครอบครัวพัฒนา เพื่อนำไปปลูกในแปลง เพื่อขยายพันธุ์ให้แก่คนในชุมชนโดยกิจกรรมในครั่งนี้ ประกอบด้วย 1) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “โคก หนอง นา เปลี่ยนชีวิต” 2) กิจกรรมเอามื้อสามัคคี ตาม 10 ขั้นตอน การลง/ตรวจแปลงตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ ฐานเรียนรู้ 5 ฐาน ปลูกป่า 5 ระดับ ห่มดิน 3) หิ้วปิ่นโตรับประทานอาหารร่วมกัน

กิจกรรมจิตอาสาเอามื้อสามัคคี นั้น เป็นกิจกรรมที่กระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือน ที่แสดงให้เห็นถึงการร่วมแรง ร่วมใจกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามวัฒนธรรมและวิถีชีวิตเดิมที่พบในทุกพื้นที่ การเกื้อกูลกัน เป็นกระบวนการทำงาน ด้วยการใช้กิจกรรมเอามื้อสามัคคีมาขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบในแปลง เป็นการรื้อฟื้นเอาวิถีชีวิตดั้งเดิมวัฒนธรรมอันดีของคนไทยย้อนกลับมาปฏิบัติให้เกิดการปฏิบัติตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ รวมทั้งสร้างความเป็นจิตอาสาพัฒนาชุมชน จนเกิดเครือข่ายที่มีพลังและความสามัคคี การเอามื้อสามัคคีนั้น ยังเป็นการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง โดยมีการแบ่งหน้าที่วางแผนการเอามื้อสามัคคี เริ่มจากการสร้างความรู้ เตรียมความพร้อมกิจกรรม จากนั้นแบ่งหน้าที่ แบ่งคน แบ่งงาน และการลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งกิจกรรมเอามื้อสามัคคี เป็นการเรียนรู้ 10 ขั้นตอนตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ

ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ได้รับเกียรติ จากนายทินกร ขันแก้ว นายอำเภอนาหว้า ร่วมเยี่ยมชมให้กำลังใจแปลงครัวเรือน โคก หนอง นา และร่วมกิจกรรมตีข้าวแบบโบราณ ร่วมกับทีมงานจิตอาสาพัฒนาชุมชน

นายสุรพล แก้วอินธิ พัฒนาการจังหวัดนครพนม กล่าวว่าการจัดกิจกรรม “จิตอาสาพัฒนาชุมชนเอามื้อสามัคคี” ในครั้งนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างความรัก ความสามัคคี การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และการน้อมนำหลักทฤษฎีใหม่สู่การปฎิบัติ การพัฒนาตนเอง การพัฒนากิจกรรมตามแนวทางบันได 9 ขั้น เพื่อมุ่งสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตตลอดคนรอบข้างได้เรียนรู้ร่วมกัน จะสังเกตุได้จากปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาของจังหวัดนครพนม 90% ไหลลงน้ำโขง ทำอย่างไรถึงจะเก็บกักน้ำไว้ได้ การทำโคก หนอง นา หลักคิด การพัฒนาที่ถูกต้องให้ประชาชนพึ่งตนเอง สร้างความยั่งยืน แปลงโคก หนอง นาในจังหวัดนครพนมจะพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้ให้ทุกคนมาศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน โดยการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบครบวงจร นอกจากนี้ ครัวเรือนควรมีการปลูกฝ้าย ต้นคราม ต้นหม่อน เพราะอยู่ในพื้นที่กลุ่มทอผ้าไหม ศูนย์วัดพระธาตุประสิทธิ์ เชื่อมโยงเครือข่ายกัน อยากเห็นการดำเนินงานโคก หนอง นา เป็นศูนย์จิตอาสา สู่ศูนย์เรียนรู้ที่มี นักเรียน ประชาชน มาร่วมเรียนรู้ และขอบคุณทุกอำเภอที่มาจิตอาสาพัฒนาร่วมกันในวันนี้

ศูนย์จิตอาสาพัฒนาชุมชน ครัวเรือนต้นแบบราย นางเครือวัลย์ สุจริตตานันท์ หมู่ที่ 5 ตำบลนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ได้รับงบประมาณโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ขนาดพื้นที่ 3 ไร่ โดยดำเนินการขุดปรับพื้นที่ตามแบบรายละเอียดงานปรับรูปแบบแปลงที่ดิน ตามแบบมาตรฐาน โคก หนอง นา โมเดล พื้นที่ครัวเรือนต้นแบบ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย โดยดำเนินการในพื้นที่ 3 ไร่ สัดส่วนพื้นที่ 1 : 2 ชนิดดินร่วนปนทราย ลักษณะภูมิสังคมที่สำคัญคือ พื้นที่แห้งแล้ง ไม่มีพื้นที่กักเก็บน้ำไว้ใช้ ไม่มีน้ำรดพืชผักสวน จึงได้การปรับงานขุดมุ่งการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในพื้นที่ การขุดสระ คลองไส้ไก่ หลุมขนมครกโดยหลังจากขุดปรับพื้นที่ได้ขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ฯโดยมี ทีมงานสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด/อำเภอ และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) เป็นผู้สนับสนุนการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงและการน้อมนำแนวคิดทฤษฎีใหม่มาประยุกต์สู่ โคก หนอง นา เช่น การห่มดิน การทำปุ๋ยหมัก (น้ำชาม แห้งชาม) ฐานการเรียนรู้ 5 ฐาน การปลูกไม้ 5 ระดับ (ไม้สูง) ได้แก่ พยูง ยางนา สัก ประดู่ (ไม้กลาง) ได้แก่ ไม้ใช้สอย ไม้ผล มะม่วง มะพร้าว ลำใย (ไม้เตี้ย) มะกรูด มะนาว ฝรั่ง พืชสวนต่าง ๆ (ไม้เรี่ยดิน) พืชสวนครัว พริกมะเขือ บวบ ถั่ว ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ จนเหลือแบ่งปัน

จากการจัดกิจกรรม “จิตอาสาพัฒนาชุมชนเอามื้อสามัคคี”ตามโครงการฯ โดยการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้ครัวเรือนรู้แนวทางการดำเนินงาน และเติมเต็มในส่วนที่ยังไม่ได้ดำเนินการ และทีมงานพัฒนาชุมชนจังหวัด/อำเภอ ช่วยสนับสนุนปลูกต้นไม้ และพืชผักสวนครัว และครัวเรือนได้ทำกิจกรรมลดรายจ่ายจากการปลูกผักพืชสวนครัว เช่น ผักกาด ชีหอม พริก มะเขือ ตะไคร้ เผือก มัน ทำให้มีรายได้เพิ่มวันละ 200 – 500 บาท ต่อวัน และมีการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนในชุมชน เกิดแหล่งเรียนรู้ด้านการสร้างความมั่นคงทางอาหาร เป็นศูนย์แบ่งปันชุมชน ที่สามารถแก้ไขปัญหาด้านการประกอบอาชีพ และเป็นพื้นที่ปลอดภัยในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID -19) ทั้งนี้ ได้ดำเนินการตามแนวทางและขยายผลเป็นแหล่งเรียนรู้ในระดับหมู่บ้าน/ตำบล ต่อไป

นางเครือวัลย์ สุจริตตานันท์ ครัวเรือนพื้นที่ต้นแบบ กล่าวว่า “ขอขอบคุณกรมการพัฒนาชุมชน ที่ให้โอกาสได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมโครงการฯ ทีมงานพัฒนาชุมชนจังหวัด/อำเภอ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจ เป็นพลังในการขับเคลื่อน ดิฉันรู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก ที่เป็นส่วนหนึ่งในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และจะพัฒนาต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา” ที่มีชีวิต สามารถเป็นพื้นที่เรียนรู้แก่ชุมชนตลอดไป”

การจัดกิจกรรมดังกล่าว ยึดหลัก D-M-H-T-T เพื่อป้องกันตนเอง เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ราชการกำหนดในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) จังหวัดนครพนม ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558

#WorldSoilDay
#GlobalSoilPartnership
#UNFAO
#กรมการพัฒนาชุมชน
#CDD
#SEPtoSDGs
#SDGforAll@Kmitl
นครพนม : เมืองแห่งความสุข
เศรษฐกิจฐานรากมั่นคงและชุมชนพึ่งตนเองได้ ภายในปี 2565
Change for Good