กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้รับรายงานจากสำนักงานส่งเริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโซลซึ่งรายงานว่า เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 61 รัฐบาลเกาหลีใต้นำโดยปธน. Moon Jae-in ได้วางทิศทางนโยบายเศรษฐกิจของปี 2562 อีกครั้งซึ่งจะโฟกัสไปที่การฟื้นฟูเศรษฐกิจ และลดทอนบทบาทของนโยบายรายได้ ดึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ (income-led growth) ที่มีต้นทุนเป็นตำแหน่งงานจำนวนมหาศาล ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีโดยมี ปธน. Moon เข้าร่วมด้วยเป็นครั้งแรกนั้น ปธน. Moon เน้นย้ำว่าต้องการฟื้นฟูเศรษฐกิจของเกาหลีใต้
ปธน. Moon กล่าวว่า “เพื่อให้ประสบความสำเร็จด้านนวัตกรรมแบบครอบคลุมทั่วเกาหลีใต้ รัฐบาลเกาหลีจะต้องวางนโยบาย ที่จะทำให้เศรษฐกิจเกาหลีกระเตื้องขึ้น ผ่านการคิดค้นกฎระเบียบใหม่ๆและการกระตุ้นการลงทุน รวมถึงการยกระดับเศรษฐกิจภูมิภาคและการพัฒนาความสมดุลไปในเวลาเดียวกัน รัฐบาลจะเพิ่มงบประมาณทางอุตสาหกรรมอย่างมีนัยยะสำคัญ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้กระเตื้องขึ้น ในขณะที่กำลังขยายงบประมาณ (ทางเศรษฐกิจ) โดยรวมซึ่งช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการ”
เมื่อวันจันทร์ที่ 17 ธ.ค. 61 รมต.คลังเกาหลีใต้คนใหม่ นาย Hong Nam-ki สะท้อนทัศนคติไว้ดังนี้ “ทีมเศรษฐกิจกังวลเกี่ยวกับผลกระทบในปีหน้าสำหรับค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้น (10.9%) ปีหน้ารัฐบาลเกาหลีจะจัดกองทุนคุ้มครองเสถียรภาพการจ้างงานมูลค่า 2.8 ล้านล้านวอน (2.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) และได้ปรับเปลี่ยนมาตรฐานกองทุนที่รัฐจะให้และรัฐได้จัดสรรงบประมาณด้าน EITC (earned income tax credit) ไว้ 3 ส่วน รัฐบาลเกาหลีใต้จะออกมาตรการสำหรับช่วยเหลือเจ้าของธุรกิจขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้เป้าหมายของนโยบายปีนี้จะโฟกัสไปที่การฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กระเตื้องขึ้นเป็นหลัก”
รัฐบาลเกาหลีใต้พยากรณ์การเติบโตของปี 2562 ไว้ที่ระหว่าง 2.6 – 2.7% เหมือนกับปี 61 ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2555 ที่มีเศรษฐกิจเติบโต 2.3% การส่งออกของเกาหลีใต้ในปี 62 จะอยู่ที่ราวๆ 3.1% เมื่อเทียบกับ 6.1% ในปี 61 ผลที่ตามมา คือดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลจะลดลงจาก 7.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 61 เหลือเพียง 6.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 62 (ลดลง 13.5%)
จำนวนตำแหน่งงานใหม่ จะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 61 แต่ยังคงมีสัดส่วนเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของปี 60 ที่มีคนถูกจ้างงานเพิ่มจำนวน 320,000 คน สำหรับปีนี้รัฐบาลเกาหลีใต้ประมาณการไว้ที่ 100,000 ตำแหน่งและสำหรับปีหน้าอีก 150,000 ตำแหน่ง การมองในมุมนี้ค่อนข้างเป็นไปในเชิงบวกมากกว่าการคาดการณ์ของ Think Tanks เอกชน
เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 61 Hyundai Research Institute คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจเกาหลีใต้ไว้ที่ 2.5% ลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อเดือนต.ค. 61 ราว 0.1% จุด ตามรายงานระบุว่า ภาพรวมของปีหน้าถูกลดระดับลงเนื่องจากความไม่มั่นคงในตลาดการค้าโลก และตลาดภายในประเทศที่กำลังอ่อนแอลง
นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคว่าจะเติบโตขึ้น 2.4% ซึ่งต่ำกว่า 2.7% ในปี 61 เมื่ออ้างอิงกับตลาดแรงงานที่กำลังหดตัว ความรู้สึกของผู้บริโภคที่แย่ลง และการชำระหนี้ที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยที่ไต่ระดับสูงขึ้นของธนาคารกลางเกาหลีใต้ การส่งออกดูไม่สดใสนักเนื่องจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนมีท่าทีจะยืดเยื้อ อีกทั้งตลาดเซมิคอนดักเตอร์ก็ส่อแววชะลอตัว ต่อมาเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 61 Korea Economic Research Institute เปิดเผยภาพรวมที่น่าหดหู่ยิ่งกว่าด้วยคาดการณ์การเติบโตปี 62 ที่ 2.4%รมต.คลังเกาหลีใต้ นาย Hong Nam-ki ระบุว่าการที่รัฐบาลเกาหลีใต้จะกลับไปโฟกัสที่นโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจนั้นไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลจะล้มเลิกนโยบายรายได้ดึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ทั้ง 3 แนวคิด ได้แก่ รายได้ดึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ, การเติบโตด้านนวัตกรรม และความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ ล้วนเป็นวาระที่สำคัญ ในปี 2562 รัฐบาลเกาหลีใต้จะผลักดันโครงการรายได้ดึงการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แต่จะทำให้รูปแบบการส่งเสริมสนับสนุนตามทิศทางนโยบาย โดยรัฐบาลเกาหลีใต้จะเปิดไฟเขียวให้โครงการหลัก คือการอนุญาตให้บริษัทต่างๆผลักดันการลุงทุน ซึ่งทางรัฐบาลเกาหลีใต้ประมาณการไว้ที่ 6.4 ล้านล้านวอน (5.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) หรือมากกว่านั้น
โครงการดังกล่าวรวมถึง Global Business Center ของ Hyundai Group ในย่าน Samseong-dong เขต Gangnam ทางตอนใต้ของกรุงโซล กลุ่มบริษัท Hyundai ถูกคาดหวังว่าจะลงทุน 3.7 ล้านล้านวอนในการก่อสร้างตึกระฟ้าสูง 105 ชั้น ซึ่งจะรวบรวมศูนย์จัดงานแสดงสินค้า, ศูนย์ประชุมและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการท่องเที่ยวเอาไว้ภายในอาคาร
นอกจากนี้รัฐบาลเกาหลีใต้จะให้ความช่วยเหลือด้านการก่อสร้าง Semiconductor cluster ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มการลงทุนมูลค่า 1.6 ล้านล้านวอน ควบคู่ไปกับ K-Pop concert hall ที่ใช้เงินลงทุน 5 แสนล้านวอน รวมถึง track สำหรับทดลองการขับเคลื่อนรถยนต์ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ด้วยเงินลงทุนราว 2 แสนล้านวอน โดยที่ track ดังกล่าวจะถูกสร้างให้สอดคล้องกับเกณฑ์การปล่อยไอเสียที่เข้มงวดของ EU
มาตรการอื่นๆ เช่น การสนับสนุน start-ups, การยกเว้นภาษีมรดกสำหรับผู้ปกครอง ที่บริจาคเงินจำนวน 5 ร้อยล้านวอนให้แก่ลูกๆที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจ, การยกเว้นภาษีรายได้ และภาษีบริษัทเป็นระยะเวลา 3 ปี และการลดหย่อนภาษีอีก 50% เป็นระยะเวลา 2 ปีสำหรับผู้ริเริ่มทำธุรกิจในพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา
รัฐบาลเกาหลีใต้จะขยายระยะเวลาเพิ่มอีก 6 เดือนจนถึงเดือนมิ.ย. 62 สำหรับการจัดเก็บภาษีการบริโภคส่วนบุคคลจาก 5% เหลือเพียง 3.5% สำหรับผู้ที่ซื้อรถยนต์เพื่อเป็นการกระตุ้นการบริโภค ส่วนการฟื้นฟูการท่องเที่ยวท้องถิ่นจะมีการพิจารณาเพื่ออนุญาต ให้เปิดร้านค้าปลอดภาษีในเมือง และอนุญาตให้ทำวีซ่าแบบหมู่คณะสำหรับชาวอินเดีย นอกจากนี้ เพื่อกระตุ้นความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกนั้น ทางรัฐบาลเกาหลีใต้จะจัดเงินช่วยเหลือจำนวน 6 ล้านล้านวอนเพื่อสร้าง global plants และ smart cities
นางสาววิลาสินี โนนศรีชัย ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโซล (สคต.ณ กรุงโซล) มีความเห็นว่า การปรับนโยบายของเกาหลีใต้ในปี 2562 คงต้องมุ่งเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เป็นหลัก ได้แก่ เสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการ กระตุ้นการท่องเที่ยว และกระตุ้นการส่งออก โดยเน้นนโยบาย”New South – New North” ซึ่งเน้นทำการค้ากับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งไทยมากขึ้น ตลอดจนเอเชียตะวันออก จีนและญี่ปุ่น นอกจากนี้ เน้นการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม พัฒนาทางด้านนวัตกรรมใหม่ๆ ตลอดจนเตรียมพร้อมสำหรับเศรษฐกิจในระยะกลางและระยะยาว เช่น สังคมผู้สูงอายุ R&D และการทำการค้ากับเกาหลีเหนือ เป็นต้น
สำหรับการค้าระหว่างประเทศไทยและเกาหลีในปี 2562 อาจจะมีการชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจของเกาหลี ซึ่งคาดว่าจะมีเป้าหมายการส่งออกเพิ่มขึ้นเพียง ร้อยละ 6 – 7 แต่อย่างไรก็ตาม สคต.ณ กรุงโซล ขอแนะนำให้ผู้ประกอบการ ที่สนใจเจาะตลาดเกาหลี ควรเพิ่มช่องทางในการทำตลาดในส่วนของออนไลน์มากขึ้นเนื่องจากตลาดออนไลน์ในเกาหลีมีการเจริญเติบโตขึ้นทุกปี นอกเหนือจากการทำตลาดออฟไลน์ ที่เคยขายผ่านห้างสรรพสินค้า และซุปเปอร์มาร์เกตแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งมีการเติบโตที่ลดลง ดังนั้น สำนักงานฯจึงได้ทำความร่วมมือกับ E-Commerce ที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีในการสร้าง Platform ประเทศไทย บน E-Commerce “Coupang” เพื่อขยายตลาดสินค้าไทยให้มากขึ้น ในขณะนี้ มีสินค้าไทย ขายผ่านออนไลน์ Coupangในเกาหลี มากกว่า 1,000 sku หากท่านใดสนใจส่งออกสินค้ามายังเกาหลี เพื่อมาขยายตลาดในออนไลน์ Coupang สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สคต.ณ กรุงโซล : info@thaitrade.kr หรือโทร.1169 กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
*********************************
ที่มา : http://koreajoongangdaily.joins.com/news/article/article.aspx?aid=3057051
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโซล